บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อรวบรวมคำอธิบายกฎหมาย บทความทางกฎหมาย ข้อมูลข่าวสารต่างๆ และสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายไว้ใช้สำหรับการศึกษาวิชาทางกฎหมาย เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้ศึกษาวิชากฎหมาย และบุคคลทั่วไป

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุปกฎหมายมหาชน

สรุปกฎหมายมหาชน


รัฐฐาธิปัตย์ หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในรัฐนั้นๆ (คำว่า “ไทย” หมายถึง ประชาชน )
กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐฐาธิปัตย์ของรัฐนั้นๆ ได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของประชาชนในรัฐนั้นๆ ให้ปฏิบัติตามหรืองดเว้นปฏิบัติ ถ้าหากว่าใครฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามก็จะถูกลงโทษ
โทษสภาพบังคับ
1) โทษทางอาญา ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริมทรัพย์สิน เป็นต้น
2) โทษทางแพ่ง ได้แก่ จ่ายค่าสินไหมทดแทน
1. กฎหมายมี 2ระบบใหญ่ๆคือ
1) ระบบ Common Laws (ระบบจารีตประเพณี)
2) ระบบ Civil Laws(ระบบลายลักษณ์อักษร)
2. จำแนกประเภทตามเนื้อหามี 2 ประเภทคือ
1) สารบัญญัติ ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2) วิธีสบัญญัติ ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
3. ผลบังคับของกฎหมายในการทำนิติกรรมดูได้จาก
1) การกระทำที่มีผลกระทบกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คือ ประมวลกฏหมายอาญา
2) การกระทำที่ไม่มีผลกระทบกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คือ กฎหมายจราจร
4. ความมุ่งหมายของกฎหมาย
1) ตามเนื้อความ
2) ตามแบบพิธี
5. ดูจากลักษณะของนิติสัมพันธ์
1) กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน หรือ ระหว่างรัฐด้วยกันในฐานะที่รัฐมีอำนาจเหนือกว่าเอกชนโดยที่รัฐเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
2) กฎหมายเอกชน คือ กฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่าง เอกชนกับเอกชนในฐานะที่เอกชนมีความเท่าเทียมกันและต่างเป็นผู้อยู่ภายใต้อำนาจปกครองของรัฐ
* ทั้งกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนไม่สามารถแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด 100 %
นิติสัมพันธ์ คือ ความสัมพันธ์ในแง่ของกฎหมายซึ่งมี 2 อย่างคือ
1. นิติกรรม มี 2 อย่าง คือ
1) นิติกรรมฝ่ายเดียว เช่น พินัยกรรม
2) นิติกรรม 2 ฝ่ายและหลายฝ่าย เช่น สัญญาต่างๆ
2. นิติเหตุมี 3ประเภท คือ ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้
นิติสัมพันธ์ มี 2 ประเภท คือ
1. นิติสัมพันธ์ทางกฎหมายมหาชน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ หรือ รัฐกับประชาชน เช่น นิติกรรมทางปกครอง สัญญาทางปกครอง
2. นิติสัมพันธ์ทางกฎหมายเอกชน คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง เอกชนกับเอกชนด้วยกัน
เกณฑ์แยกแยะความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนมี 4 เกณฑ์ใหญ่ๆ ดังนี้
1. เกณฑ์คู่กรณีของนิติสัมพันธ์
- กฎหมายมหาชน คู่กรณีในนิติสัมพันธ์ของกฎหมายมหาชน มี 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายรัฐกับรัฐ(100%)
ฝ่ายรัฐกับเอกชน(บางครั้งก็ไม่ 100 %)
- กฎหมายเอกชน คู่กรณีในนิติสัมพันธ์ของกฎหมายเอกชน มี 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายเอกชนกับเอกชน
ซึ่งดูจากคู่กรณีก่อน เช่น การพาณิชยกรรม และงานอุตสาหกรรมต่างๆ จะมีรัฐ
เข้าไปแทรกแซงในบางเรื่องดังนั้น รัฐจะต้องลดฐานะ(อำนาจ)ให้เท่าเทียมกับ
เอกชนแล้วมีความผูกพันธ์กับเอกชน
2. เกณฑ์วัตถุประสงค์ของนิติสัมพันธ์
- กฎหมายมหาชน รัฐนั้นจะต้องดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะให้
มากที่สุด เพื่อเป็นการบริการสาธารณะที่รัฐจะต้องดำเนินการ เช่น การออกกฎหมาย
เจ้าหน้าที่ของรัฐ การคมนาคม การประปา การไฟฟ้า โรงเรียน(ของรัฐ)
โรงพยาบาล(ของรัฐ) มหาวิทยาลัย(ของรัฐ) และ อื่นๆที่เป็นองค์กรของรัฐที่จัดตั้ง
ขึ้นเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทนไม่ว่าจะเป็นทางผล
กำไรต่างๆ แต่รัฐจะสามารถเรียกเก็บค่าบริการจากประชาชนได้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้
รัฐนั้นยังดำเนินกิจการต่อไปได้
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมี 2 เงื่อนไข(ประเทศฝรั่งเศส) คือ
1) รัฐไม่สามารถจัดการบริการสาธารณะนั้นอย่างมีประสิทธิภาพได้เท่ากับเอกชน
2) รัฐนั้นเกิดมีงบประมาณแผ่นดินของรัฐลดน้อยถอยลง
- กฎหมายเอกชน ดำเนินกิจการเองโดยที่มุ่งหาผลประโยชน์และผลกำไร ไม่ว่าจะเป็นในด้านของ เงิน
ทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือ สิ่งตอบแทนอื่นๆ เช่น มูลนิธิ สมาคม บริษัท เป็นต้น
เพื่อเป็นการลดหย่อนภาษีอากรได้อีกทั้งก็ยังได้เกียรติยศชื่อเสียงอีกด้วย
3. เกณฑ์วิธีการที่ใช้ในนิติสัมพันธ์
- กฎหมายมหาชน อำนาจมหาชน คือ อำนาจที่ยิ่งใหญ่และน่ากลัวมากอำนาจรัฐนั้นทำได้เมื่อมีกฎหมาย
รองรับและอยู่ในขอบเขตของกฎหมายเท่านั้น เช่น กฎหมายเวนคืนที่ดินก็ถือว่าเป็น
การใช้อำนาจมหาชนอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่า “วิธีการฝ่ายเดียว” ซึ่งรัฐมีอำนาจบังคับใช้
ให้เอกชนดำเนินกิจการนั้นได้โดยไม่จำเป็นที่เอกชนต้องสมัครใจแต่เอกชนต้องทำ
ตามอำนาจนี้อย่างไม่มีข้อแม้ เช่น การจะสร้างตึกแถวริมถนนสาธารณะ ซึ่งต้อง
ได้รับอนุญาตจากเทศบาลเมืองนั้นก่อน(รัฐต้องเข้ามากำกับดูแล)
ตัวอย่าง สร้างอาคาร(ตึกไม่มีคุณภาพตามแบบที่วางไว้) เมื่อเอกชนรอบข้างเดือดร้อนรัฐจะต้องเข้ามาตรวจสอบ
*ตึกไม่มีคุณภาพจริง รัฐ(เทศบาล)มีอำนาจสั่งให้รื้อถอน ผู้สร้างต้องรื้อถอนทันทีซึ่ง
ปฏิเสธไม่ได้เพราะเป็นข้อบังคับตามกฎหมายซึ่เรียกว่า “วิธีการฝ่ายเดียว”
ตัวอย่าง สร้างอาคาร(อาคารตามแบบ)แต่ถุกกลั่นแกล้งให้รัฐมีคำสั่งรื้อถอนอาคารนั้น(ซึ่งไม่เป็นธรรม)
สามารถยื่นอุทรณ์คำสั่งซึ่งไม่เป็นธรรมนั้นต่อหน่วยงานที่ออกคำสั่งเพื่อให้ไปตรวจสอบอีกครั้งได้
เมื่อหน่วยงานนั้นไปตรวจสอบแล้วก็ยังยืนยันคำสั่งให้รื้อถอนอยู่ ยื่นฟ้องศาลปกครอง(ข้อพิพาท
ของรัฐ(ผู้ถูกฟ้อง)กับเอกชน(ผู้ฟ้อง))ให้ถือว่าคำสั่งศาลปกครองเป็นที่สุด
(1) สั่งให้รื้อถอนต้องรื้อทันที
(2) สั่งไม่ให้รื้อ (รัฐจะต้องเสียค่าดำเนินการให้กับเอกชน)
สรุป วิธีการฝ่ายเดียวของกฎหมายมหาชน จะต้องยึดหลัก 4 ประการ ดังนี้
(1) กฎหมายจะต้องรับรองและให้อำนาจไว้
(2) ต้องกระทำอยู่ในของเขตของกฎหมาย
(3) ต้องกระทำไปเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
(4) ประชาชน(เอกชน)ถ้าได้รับผลกระทบมีสิทธิในการยื่นอุทรณ์คำสั่งได้
- กฎหมายเอกชน ยึดหลักความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ไม่มีใครมีอำนาจเหนือกว่ากัน ทุกคนมีอำนาจใน
การต่อลองเหมือนกัน ซึ่งต้องอาศัยความสมัครใจกันทั้ง 2 ฝ่าย จะบังคับโดยพลการ
แต่ฝ่ายเดียวไม่ได้
ตัวอย่าง นิติกรรมสัญญา ซึ่งจะต้องความสมัครใจของคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย คือ
1) ฝ่ายเสนอ
2) ฝ่ายสนอง
* ถ้าหากว่ากรำการอันผิดสัญญาจะต้องอาศัยศาลยุติธรรมตัดสิน เราเรียกหลักนี้ว่า “Freedom of contract” แปลว่า “หลักเสรีภาพในการทำสัญญา”

4. เกณฑ์เนื้อหาของนิติสัมพันธ์
- กฎหมายมหาชน จัดว่าเป็นกฎหมายามภาวะวิสัย ซึ่งมีลักษณะเป็นการบังคับทั่วไปในตัวของมัน
(กฎหมาย)เอง บังคับใช้อย่างอิสระและกว้างขวาง ไม่สามารถตกลงหรือยกเว้นไว้
เป็นอย่างอื่นได้ ไม่แยกแยะตัวบุคคล ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป เช่น ประมวลกฎหมาย
อาญา (บังคับใช้ในเชิงภาวะวิสัยทั่วไป)
- กฎหมายเอกชน จัดว่าเป็นกฎหมายอัตตะวิสัยซึ่งมีลักษณะเป็นข้อตกลงหรือยกเว้นได้ในตัวของมัน
(กฎหมาย)เอง เป็นกฎหมายเสริมไม่ได้เคร่งครัดหรือบังคับมากเท่ากับกฎหมายมหาชน
ซึ่งบางเรื่องเอกชนสามารถตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้(ต้องดูว่าเรื่องนั้นๆขัดต่อกฎหมาย
อื่นที่มีศักดิ์สูงกว่าหรือว่าขัดต่อความมั่นคงสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชนหรือไม่)เช่น ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
ตัวอย่าง 1 หลักนิติกรรมสัญญาห้ามบุคคล 3 ประเภทดังต่อไปนี้ทำสัญญาเอง คือ
1) ผุ้เยาว์
2) บุคคลซึ่งไร้ความสามารถ
3) บุคคลซึ่งเสมือนไร้ความสามารถ
* ซึ่งบางเรื่องกฎหมายก็จะบังคับไว้โดยเคร่งครัดเหมือนกัน
ถ้าหากบุคคลต่อไปนี้ทำสัญญากฎหมายถือว่าเป็นโมฆียกรรม
โมฆียกรรม à ยังมีผลสมบูรณ์อยู่นอกจากจะบอกล้าง(ไม่สมบูรณ์ตลอดไป = โมฆะ) หรือ ถ้าให้สัตยาบัน(มีผลสมบูรณ์ตลอดไป)
ตัวอย่าง 2 สิ่งที่กฎหมายบังคับซึ่งต้องให้ทำตามแบบสัญญาซื้อขายคือ การซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์
- จะต้องมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบ
- จะต้องมีการจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่

การดำเนินการของรัฐ
1. การดำเนินการของฝ่ายปกครอง เป็นการดำเนินงานของรํฐภายใต้หลักของกฎหมายมหาชน เช่น การออกคำสั่ง เป็นต้น
2. รัฐวิสาหกิจ (รัฐ+วิสาหกิจ) วิสาหกิจ ได้แก่ การพาณิชยกรรม การอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งเอกชนจะต้องเข้าไปดำเนินการเอง รัฐจะเข้าไปดำเนินการทั้งหมดไม่ได้ แต่รัฐสามารถเข้าไปแทรกแซงกิจการบางอย่างได้เพื่อผลกำไรของรัฐซึ่งจะได้นำเงินที่ได้มาเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินคงคลังต่อไป และเพื่อไม่ให้เอกชนเอารัดเอาเปรียบกันมากเกินไปด้วย รัฐวิสาหกิจส่วนมากจะมีส่วนเกี่ยวข้องกันกับประโยชน์สาธารณะ
3. องค์การมหาชน (หน่วยงานของรัฐ) ซึ่งมีการบริหารจัดการเหมือนเอกชน แต่มีขนาดเล็กกระทัดรัดกว่า รวดเร็ว โปร่งใส่ตรวจสอบได้ ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก จึงทำให้ระบบการบริการสาธารณะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น โรงพยาบาลบ้านแพร้ว(รัฐ) เป็นต้น

ข้อจำกัดของการแยกประเภทกำหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน
1. ข้อจำกัดในความเป็นจริง
- รัฐ เมื่อเข้าไปดำเนินการในเชิงพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม รัฐจะต้องยอมลดตัวลงไปเท่ากับเอกชนและจะต้องดำเนินการอยู่ภายใต้กฎหมายเอกชนด้วย ดังนั้นรัฐจะต้องอาศัยความสมัครใจของอีกฝ่ายหนึ่งด้วยซึ่งรัฐไม่สามารถบังคับได้ กฎหมายจะต้องบัญญัติไว้
ตัวอย่าง 1 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(หน่วยงานของรัฐ) เป็นรัฐวิสาหกิจ
สร้างทางด่วนพิเศษ 1) รัฐให้สัมปทานเอกชนให้เข้ามาสร้าง
2) เอกชนให้เอกชนอีกฝ่ายหนึ่งเข้ามาสร้าง
*ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องดำเนินอยู่ภายใต้กฎหมายเอกชน
ตัวอย่าง 2 ประเทศฝรั่งเศส รัฐบาลจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินงานรถรางสาธารณะ(ใช้ถ่านหิน) พอเกิดสงครามราคาถ่านหินเพิ่มขึ้น เอกชนจึงอยากขึ้นราคาค่าบริการบ้างแต่ไม่สามารถขึ้นราคาได้ทันที ซึ่งจะต้องอาศัยความสมัครใจจากรัฐบาล(เทศบาลที่ว่าจ้าง)ก่อน และเมื่อรัฐต้องการให้เอกชนลดราคาค่าบริการลงรัฐจะกระทำมิได้ เพราะจะต้องอาศัยความสมัครใจของเอกชนเช่นกัน ดังนั้น การที่รัฐหรือเอกชนจะดำเนินการใดๆจะต้องอาศัยความสมัครใจของฝ่ายแต่ละฝ่ายก่อนจึงจะดำเนินการในเรื่องนั้นๆได้
สรุป การดำเนินงานของรัฐไม่ได้อยู่ภายใต้หลักของกฎหมายมหาชนเพียงอย่างเดียว แต่มีกิจกรรมบางประเภทที่รัฐเป็นผู้เข้าไปดำเนินการ โดยที่รัฐนั้นยอมลดบทบาทและฐานะลงมาเท่าเทียมกับเอกชน และรัฐยอมอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายเอกชน ดังนั้น กฎหมายมหาชนจึงมีความเป็นกฎหมายเอกชนมากยิ่งขึ้น
- เอกชน เอกชนจะดำเนินกิจการร่วมกันกับรัฐบาลเพื่อดำเนินการสาธารณะประโยชน์ให้แก่ประชาชน เช่น มูลนิธิ สมาคม เป็นต้น
ตัวอย่าง 1 องค์กรวิชาชีพ(องค์กรเอกชน) ได้แก่ สภาทนายความ สภาสถาปณิก
สภาทนายความ มีอำนาจหน้าที่เริ่มตั้งแต่การสอบเพื่อขอใบอนุญาตว่าความทั่วราชอาณาจักร ที่เรียกว่า “ตั๋วทนาย” ตรวจสอบสมาชิกสภาทนายความ รัฐจึงมอบอำนาจมหาชนส่วนนี้ให้กับสภาทนายความซึ่งมีฐานะเป็นเอกชน เพราะรัฐเห็นว่าการดำเนินกิจการต่างๆของสภาทนายความหรือทนายความดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชน(ลูกความ)ผู้มาใช้บริการทั้งสิ้น
ตัวอย่าง 2 สัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งบัญญัติอยู่ในกฎหมายแพ่ง มีขึ้นเพื่อป้องกันการเอารัดเอาเปรียบระหว่างนายจ้าง(ได้เปรียบ)กับลูกจ้าง(เสียเปรียบ)มากเกินไป รัฐจึงเข้าไปแทรกแซง ควบคุมดูแลเพื่อคุ้มครองลูกจ้าง จึงเกิด กฎหมายคุ้มครองแรงงานขึ้นซึ้งได้กำหนดโทษทางอาญาไว้
* กฎหมายเอกชนนั้นจะมีกฎหมายมหาชนแฝงอยู่ด้วย
สรุป มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ โดยที่รัฐได้มอบอำนาจมหาชนให้แก่องค์กรภาคเอกชน หรือรัฐจะเข้าไปแทรกแซงกิจกรรมของเอกชนในบางลักษณะเพื่อคุ้มครองสิทธิของเอกชน ทำให้การดำเนินงานของเอกชนอยู่ภายใต้กฎหมายมหาชน ดังนั้น กฎหมายเอกชนจึงมีความเป็นกฎหมายมหาชนมากยิ่งขึ้น
2. ข้อวิจารณ์ทางทฤษฏีเกี่ยวกับการแบ่งแยกกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
นักกฎหมายที่มีความคิดเห็นในทฤษฏีเกี่ยวกับการแบ่งแยกกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนออกจากกัน มี 3 แนวความคิด ได้แก่
1) ข้อวิจารณ์ของนักกฎหมายเปรียบเทียบ ไม่มีความจำเป็นที่จะแยกกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนออกจากกัน เพราะระบบกฎหมายในโลกนี้มี 2 ระบบ ด้วยกันคือ ระบบ Common Laws(จารีตประเพณี) และระบบ Civil Laws(ลายลักษณ์อักษร) ซึ่งไม่สามารถแยกได้ในระบบสกุลกฎหมาย Augol Saxon ในสกุลของกฎหมาย Romano Geramanic
สกุลกฎหมายหลักของโลก แบ่งออกเป็น 2 สกุลใหญ่ๆ คือ สกุลโรมาโน-เยอรมันนิคและสกุลเองโก-เซกซอน
1.1 สกุลโรมาโน-เยอรมันนิค ประเทสที่ใช้ระบบสกุลนี้ ได้แก่ ประเทศโรมัน ประเทศเยอรมัน (ระบบ Civil Laws ) ซึ่งโรมันมีกฎหมายจัสติเนียนใช้ กฎหมายเอกชนของโรมัน ผู้เขียนกฎหมายนึกถึงการค้า การรบสงครามในจักรวรรดิ (ซึ่งทหารอาชีพเกิดขึ้นในยุคโรมันโดยการไปจ้างนักรบที่เป็นชายฉกรรย์มารบเพื่อล่าอาณานิคม) เมื่อโรมันเป็นพ่อค้าจึงมีการติดต่อชื้อขายกับชนชั้นต่างๆ จนเริ่มจะมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นและเริ่มมีข้อขัดแย้ง พิพาทกันระหว่างบรรดาพ่อค้าด้วยกันเอง จึงเป็นสาเหตุทำให้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์คลอดออกมา
Civil คือกำหมายพลเมือง (ใช้กับพลเมืองโรมัน) กฎหมายโรมันที่ใช้อยู่มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ
(1) Jus Civil เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเฉพาะพลเมืองโรมันเท่านั้น
(2) Jus Contium เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับชนชาติอื่นๆ
(3) Jus Naturale เป็นกฎหมายธรรมชาติ
ดังนั้น คำว่า “ Civil” ไม่ใช่แปลว่า ลายลักษณ์อักษร แต่การที่เราใช้ คำว่า “ Civil Laws” ก็เพราะเป็นการให้เกียรติกับชาวโรมันที่เป็นแม่แบบของระบบกฎหมายนี้ โดยเรียกว่า “จัสติเนียนโค๊ต”
1.2 สกุลเองโก-เซกซอน ประเทสที่ใช้ระบบสกุลนี้ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา (ระบบ Common Laws ) สำหรับประเทศที่ใช้ระบบ Common Laws จะไม่สามารถแยกกฎหมายมหาชนออกจากกฎหมายเอกชนได้เลย มีกฎหมายบางประเทศที่สำคัญๆเท่านั้นที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็ไม่ทั้งหมดที่เดียว ซึ่งมีการแบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ส่วน คือ
(1) Common Laws หรือหลักจารีตประเพณี
(2) Equity หรือหลักความยุติธรรม
เมื่อมีข้อพิพาทย์หรือคดีความเกิดขึ้นศาลจะเป็นผู้ค้นหาข้อเท็จจริงตามจารีตประเพณีก่อน หลักจากนั้นจะนำมาผนวกกับหลักความยุติธรรมแล้วให้เห็นผลเกิดเป็นคำวินิจฉัยสามารถตัดสินคดีได้อย่างถูกต้อง (คำพิพากษาของศาลเป็นที่มาของกฎหมายที่ศาลสร้างขึ้น เรียกว่า “Judge Made Laws”
ระบบ Common Laws ศาลที่พิจารณาคดีจะไปค้นหาเหตุการณ์ที่เหมือนกันในคำพิพากษาเก่าที่เคยตัดสินคดีมาแล้วมาอ่านเพื่อนำเอาเหตุการณ์ที่เหมือนกันนั้นมาตัดสินคดีความตามคดีเดิม ดังนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ระบบกฎหมายเพียงกำหมายเอกชนเท่านั้นและจะไม่มีการแบ่งแยกศาล ทุกๆคดีที่เกิดขึ้นจะต้องให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้ตัดสินเท่านั้น
บรรทัดฐาน คือ ศาลที่พิจารณาคดีอาจจะนำคำพิพากษาของคดีก่อนหน้านั้นที่เหมือนกันมาเป้นแนวทางในการตัดสินคดีความ
2) ข้อวิจารณ์ของนักกฎหมายกลุ่มสังคมนิยม (คอมมิวนิสย์) ก็ไม่สามรถแยกกฎหมายออกเป็นกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนได้เหมือนกัน เพราะว่ากิจการทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่มีรัฐเข้าไปดำเนินกิจการเองทั้งสิ้น ซึ่งจะอยู่ในกฎหมายมหาชนทั้งหมด (ประเทสจีนทุกอย่างรัฐาลจีนจะเป็นคู่ค้าเองทั้งสิ้นเพราะว่ารัฐไม่ผูกขาดสินค้า)
ทรรศนะของ เควเซ็น การแบ่งกฎหมายมหาชนออกจากกฎหมายเอกชนนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ไร้สาระสิ้นดี ซึ่งไม่สอดคล้องกับลักษณะและความเป็นจริงของหลักกฎหมาย ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีลักษณะเป็น “เอกภาพ” หรือ Unity กฎหมายเป็น Unity มีความเป็นเอกภาพ เพราะกฎหมายเป็นระบบของกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมและคุ้มครองสังคม
3) ข้อวิจารณ์ของนักกฎหมายกลุ่มสังคม สนับสนุนแนวคิดทรรศนะคติของเควเซ็น กฎหมายทุกประเภทเป็นระบบกฎเกณฑ์และมีวัตถุประสงค์เป็นอันหนึงอันเดียวกัน คือ “การมุ่งที่จะคุ้มครองสังคม”
เพิ่มเติม กฎหมายที่เข้มาจำกัดสิทธิเสรีภาพของเอกชน ได้แก่ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยแบบของการทำสัญญา กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
สรุป กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด แต่การแบ่งแยกนี้ก็ถือว่ายังมีความจำเป็น ความสำคัญและมีประโยชน์อยู่

ประโยชน์ของการแบ่งประเภทของกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
1. การนำคดีขึ้นสู่ศาล ก่อนปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยช้ระบบศาลเดี่ยวโดยมีศาลเพียงศาลเดียว คือ ศาลยุติธรรม พอหลังปี พ.ส. 2540 ประเทสไทศได้เปลี่ยนระบบศาลใหม่จากศาลเดี่ยวมาเป็นศาลคู่ นั้นก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญกับศาลแพ่ง
- ศาลสถิตยุติธรรม (ศาลยุติธรรม) มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) พิจารณาคดีระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน
2) พิจารณาคดีระหว่างรัฐที่ลดอำนาจเท่าเทียมเอกชนกับเอกชน
- ศาลชำนาญพิเศษ (ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ) มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) พิจารณาข้อพิพาทย์ระหว่างรัฐกับรัฐด้วยกัน
2) พิจารณาข้อพิพาทย์ระหว่างรัฐกับเอกชน
*เพื่ออำนวยความยุติธรรม
2. สารบัญญัติ (เนื้อหา)
ศาลสถิตยุติธรรม(ศาลยุติธรรม)และศาลชำนาญพิเศษ (ศาลปกครอง)จะต้องอาศัยสารบัญญัตินี้มาปรับใช้ในการดำเนินการพิจารณาได้ที่แตกต่างกัน สัญญาทางปกครองถือว่าโยชน์สาธารณะและบริการสาธารณะสำคัญเหนืออื่นใด เช่น สัญญาจ้างทำของ
นิติวิธี (Juristic Method)
- กฎหมายมหาชน เน้นนิติปรัชญาที่เป็นประโยชน์สาธารณะที่มีความมดุลกันกับความยุติธรรม เพื่อให้รัฐรับผิดชอบเพื่อส่วนรวมอย่างหนึ่ง
- กฎหมายเอกชน เน้นปรัชญาหรือแนวคิดที่ว่ารัฐเป็นเพียงกรรมการคนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งศาลคอยเป็นเหมือนกรรมการเพื่อตัดสินหรือให้ความยุติธรรมกับคู่กรณีเท่านั้นเอง (สิทธิและเสรีภาพ)
3. วิธีสบัญญัติ
นิติรัฐ คือ รัฐจะต้องอยู่ภยใต้กฎหมาย
ก่อนออกนิติกรรมทางปกครอง à หลังออกนิติกรรมทางปกครอง à ขึ้นศาลปกครอง
- กฎหมายมหาชน ศาลรัฐธรรมนูญ/ศาลปกครอง จะใช้ระบบแบบไต่สวน
เป็นระบบที่ใช้ในกระบวนการพิจารณาคดีแบบไต่สวน โดยศาลชำนาญการพิเศษ ศาลจะทำหน้าที่เกินกว่าการเป็นแค่กรรมการ ซึ่งศาลสามารถเข้าไปแทรกแซงหรือซักถามโจทก์และจำเลยได้ เพื่อเป็นการค้นหาข้อเท็จจริงภายในคดีด้วยตัวของศาลเองเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและความยุติธรรมให้แก่ฝ่ายเอกชนซึ่งมีข้อพิพาทย์กับหน่วยงานของรัฐ
- กฎหมายเอกชน ศาลแพ่ง จะใช้ระบบแบบกล่าวหา
เป็นระบบที่ใช้ในกระบวนการพิจารณาคดีแบบไต่สวน เพื่อนำพยานมาหลักฐานเข้ามาสืบในศาลเพื่อพิสูจน์คดีให้ศาลได้เห็น โดยที่ศาลคอยเป็นกรรมการคอยรักษามารยาทในศาลเท่านั้น(คดีแพ่ง)ให้ทนายของคู่ความต่อสู้ดีกันเอง ศาลจะไม่เข้าไปแทรกแซง

ลักษณะพื้อนฐานของกฎหมายมหาชน
ลักษณะพื้อนฐานของกฎหมายมหาชนแบ่งออเป็น 3 ประการ ดังนี้
1. กฎหมายมหาชนเพิ่งเกิดขึ้นใหม่เมื่อเทียบกับกฎหมายเอกชน โดยนักปรัชญาชาวโรมัน คือ อุลเปียล ได้แบ่งแยกกฎหมายมากว่า 2000 ปีแล้ว แต่กฎหมายหมาชนไม่ได้นำมาศึกษาเพราะว่ากฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่เป็นอันตรายใครได้ครองคนนั้นจะมีอำนาจจักรพรดิอย่างมหาศาล จนกระทั่งถึง ศตวรรษที่ 18 (208 ปี) จึงนำเอามาศึกษา แต่มีเหตุ 3 ประการ ดังนี้
1) ไม่สามารถจัดทำเป็นรูปแบบประมวลกฎหมายได้ เป็นได้แค่การออกกฎหมายเฉพาะเรื่องเท่านั้น เรียกว่า Code Laws ประมวลกฎหมายคือการจัดรวมกฎหมายเข้าไว้ด้วยกันเป็นหมวดหมู่
2) ให้ความสำคัญกับองค์กรและกระบวนการ การกระทำของฝ่ายปกครองไม่มีกระบวนการการแต่เป็นวิธีการใช้ดุลพินิจ
3) ความสำคัญของศาลปกครอง(ศาลชำนาญการพิเศษ) อันเนื่องมาจาก 2 ประการแรก
2. กฎหมายมหาชนมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมอำนาจรัฐและหน่วยงานรัฐ
หลักนิติรัฐ (1) กฎหมายจะต้องรับรองและให้อำนาจไว้
(2) กระทำอยู่ภายใต้กรอบหรือขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจ
(3) ต้องกระทำไปเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
เพื่อเป็นการความคุมอำนาจของผู้ปกครองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเอกชน รัฐจะกระทำตามอำเภอใจไม่ได้
3. กฎหมายมหาชนมีลักษณะบังคับ
โดยใช้บังคับใช้กับบุคคลทั่วไปซึ่งรัฐและเอกชนนั้นจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย

ที่มา : http://law_buu.igetweb.com/news/112188

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น