บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อรวบรวมคำอธิบายกฎหมาย บทความทางกฎหมาย ข้อมูลข่าวสารต่างๆ และสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายไว้ใช้สำหรับการศึกษาวิชาทางกฎหมาย เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้ศึกษาวิชากฎหมาย และบุคคลทั่วไป

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปกฎหมายหนี้


สรุปกฎหมายหนี้



หนี้ (194-353)
1. ลูกหนี้ผิดนัด (204-206)
- ผิดนัดเพราะเจ้าหนี้เตือนแล้ว 204 ว.1 (หนี้ถึงกำหนด + เจ้าหนี้ทวงถามแล้ว ) ผิดนัดตั้งแต่วันทวงถาม
- กรณีกำหนดไว้แน่นอน ตามปฏิทินและลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผิดนัดตั้งแต่วันถึงกำหนด (ไม่ต้องทวงถาม)
2. เจ้าหนี้ผิดนัด (207-212) : ลูกหนี้ขอปฏิบัติชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่รับชำระ โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ต่อมา หากเจ้าหนี้ใช้สิทธิฟ้องร้อง ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
3. การชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย
- กรณีลูกหนี้ต้องรับผิด 218
- กรณีลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด 219
ประเด็นสำคัญ
1. กรณีลูกหนี้ผิดนัด(ไม่ได้กำหนดวันไว้) (204ว.1) : เป็นการทวงถามให้ชำระหนี้ เมื่อไม่ชำระหนี้ก็ถือว่า ผิดนัดนับแต่วันทวงถาม หากไม่มีการทวงถาม การฟ้องถือเป็นการทวงถามไปในตัว ถือว่าผิดนัดนับแต่วันฟ้อง
2. หนี้ที่กำหนดไว้ตามวันแห่งปฏิทิน (204ว.2) : ต้องกำหนดชัดเจนแน่นอน รู้ว่าจะชำระหนี้ได้เมื่อใด ซึ่งจะเกี่ยวพันกับการบอกเลิกสัญญาตามมาตรา 387 , 388
3. กรณีลูกหนี้ผิดนัดต้องเป็นความผิดของลูกหนี้ด้วย : กรณีวันกำหนดชำระหนี้ตรงกับวันหยุดราชการ ไม่ถือว่าผิดสัญญา
4. กรณีพฤติการณ์ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด (205)
- ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด เพราะมีพฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด แตกต่างจากการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย (219) อันจะโทษลูกหนี้ไม่ได้ เพราะตามมาตรา 205 เป็นกรณีที่ลูกหนี้ยังอยู่วิสัยที่จะชำระได้อยู่ แต่ไม่ชำระ (เช่นไม่ชำระเพราะรู้ว่าผู้รับชำระหนี้ไม่ใช่เจ้าหนี้ที่แท้จริง) แต่กรณี219 การชำระหนี้ในอนาคตไม่สามารถทำได้เลย
- ** เทียบ ลูกหนี้ไม่มีเจตนาบิดพลิ้ว ที่ยังไม่ถือว่าผิดนัด
- พฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด(ปัจจัยภายนอก)
- ไม่ชำระหนี้เพราะรู้ว่า เจ้าหนี้ยังอยู่ในฐานะที่ไม่สามารถจะชำระหนี้ได้
- พฤติการณ์ เพราะปัจจัยภายนอกที่ลูกหนี้ไม่ได้จงใจให้เกิด (แต่ภายหน้ายังจะชำระหนี้ได้อยู่ )
5. กรณีเจ้าหนี้ผิดนัด (207-212)
- ลูกหนี้ต้องมีการขอปฏิบัติการชำระหนี้ต่อเจ้าหนี้โดยตรง
- ขณะเวลาที่ลูกหนี้ของปฏิบัติการชำระหนี้นั้นลูกหนี้ต้องอยู่ในฐานะที่จะสามารถชำระหนี้ได้
- เจ้าหนี้ผิดนัด ลูกหนี้มีสิทธิเพียงไม่ชำระค่าเสียหาย หรือดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่จำเลยของปฏิบัติชำระหนี้เท่านั้น (แต่ไม่มีสิทธิคิดค่าเสียหาย หรือดอกเบี้ยเอากับเจ้าหนี้)
6. การชำระหนี้พ้นวิสัย (218-219) : ต้องเป็นกรณีไม่สามารถชำระหนี้ได้อย่างเด็ดขาดและถาวร (ไม่มีทางชำระหนี้ได้)
** ดูเรื่องสัญญาต่างตอบแทน 372 เพิ่มเติมด้วย
ค่าเสียหาย
1. ค่าเสียหายตามปกติที่เกิดจากการไม่ชำระหนี้ (ผลธรรมดาโดยตรง)
2. ค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษ: ต้องคาดเห็นล่วงหน้าได้
3. กรณีผู้เสียหาย มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย : ต้องดูพฤติการณ์ว่าฝ่ายใดผิดกว่ากัน
ประเด็นสำคัญ
1. ค่าเสียหายตามปกติ (222ว.1)
- ราคาทรัพย์เพิ่มขึ้นตามท้องตลาด เป็นค่าเสียหายตามปกติ
- เงินที่ต้องจ่ายเพิ่ม เนื่องจากไปซื้อทรัพย์รายอื่น / ไปจ้างผู้อื่นต่อ
- ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ เป็นค่าเสียหายโดยตรง
2. ค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษ (ต้องคาด / ควรรู้ (222ว.2)
- กำไรที่เจ้าหนี้คาดว่าจะได้ ถือว่าเป็นค่าเสียหายกรณีนี้ (จะนำไปขายต่อ) ต้องนำสืบให้เห็นว่า ลูกหนี้รู้หรือควรจะรู้
*** แตกต่างกรณี กำไรที่จะได้จากลูกหนี้โดยตรง กรณีนี้เป็นค่าเสียหายปกติ (เพราะได้จากคู่สัญญาโดยตรง)
- ค่าปรับที่เจ้าหนี้ จะถูกบุคคลอื่นปรับเป็นค่าเสียหายกรณีนี้
- เจ้าหนี้จะถูกบุคคลภายนอกริบมัดจำ เป็นค่าเสียหายกรณีนี้
*** คดีฟ้องขับไล่ ดอกเบี้ยและค่าปรับที่ไม่ยอมออกไปเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ
3. กรณีผู้เสียหายมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย(273) : ดูพฤติการณ์ว่าฝ่ายใดมีความผิดมากกว่ากัน (แต่แนวฎีกา ดูว่าเจ้าหนี้ได้ขวนขวาย บำบัดป้องกัน ความเสียหาย ภายหลังที่ผิดสัญญาแล้วหรือไม่
รับช่วงสิทธิ (226-232,880,693)
รับช่วงทรัพย์
1. รับช่วงสิทธิ (226,227,229,230)
- บุคคลผู้มีส่วนได้เสียเข้าชำระหนี้แทน
- +ผล+: ชอบที่จะใช้สิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ตามมูลหนี้ และสัญญาค้ำประกันในนามตนเอง โดยฟ้องไล่เบี้ยแก่ผู้ที่ตนชำระแทนโดยตรง
2. รับช่วงทรัพย์ (226ว.2,228,231-232)
- เอาทรัพย์สินเข้าไปแทนที่ ในฐานะนิตินัยเดียวกัน +ผล+ ถือเป็นทรัพย์เดิมนั้น
- มีทรัพย์สิน หรือสิทธิอื่นเข้าไปแทนที่ทรัพย์ที่สูญหายไป (228) +ผล+ เจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้ได้ (กรณีชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยแล้วมีของแทนที่)
- ทรัพย์สินที่จำนองมีประกันภัย (231) เจ้าหนี้ผู้รับจำนองมีสิทธิใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยได้ (คุ้มครองเจ้าหนี้ผู้รับอำนาจ (กรณีทรัพย์จำนองบุบสลาย)
ประเด็นสำคัญ
1. รับช่วงสิทธิ
- เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย มีอยู่จำกัดเฉพาะที่กฎหมายบัญญัติไว้
- ผู้ที่จะรับช่วงสิทธิได้ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลหนี้เท่านั้น
- การรับช่วงโดยเข้าไปใช้หนี้แทนและรับช่วงมา เพื่อฟ้องไล่เบี้ยแก่ลูกหนี้ที่ได้ชำระหนี้แทนไป ดังนั้น ต้องมีการใช้หนี้แทนไปก่อนจึงจะเกิดสิทธิ
2. บุคคลที่มีสิทธิรับช่วงสิทธิ
- ลูกหนี้ เข้าชำระค่าสินไหมทดแทน แล้วเข้าสวมสิทธิของเจ้าหนี้ (227,880)
- เจ้าหนี้เข้าชำระหนี้แก่เจ้าหนี้อีกคน (มีเจ้าหนี้ 2 คน) แทนลูกหนี้ เพื่อจะได้เป็นเจ้าหนี้บุริมทรัพย์ (เจ้าหนี้ชั้นต้น ) (229(1) )
- ผู้ได้ที่ดินติดจำองมา แล้วใช้สิทธิไถ่ถอนที่หลัง ( 229(2) )
- บุคคลผู้มีความผูกพันร่วมกับผู้อื่น หรือมีส่วนได้เสียในการชำระหนี้เข้าชำระหนี้แทน (229(3)) เช่น หนี้ค้ำประกัน,หนี้ร่วม ผู้กระทำละเมิดร่วมกัน
- กรณียึดทรัพย์บังคับคดี : ผู้ต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในการยึดทรัพย์ (230) เข้าใช้แก่เจ้าหนี้จนเป็นที่พอใจ แล้วรับช่วงสิทธิไปบังคับแก่ลูกหนี้อื่น ๆ
*** หากบุคคลอื่นนอกจากนี้ เข้าชำระหนี้แทนย่อมไม่มีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิ์
3. รับช่วงสิทธิแบ่งออกเป็น 3 กรณี
- กรณีทั่วไป (226-232) : บุคคลตามมาตรา 227-230 เข้าชำระหนี้แทนลูกหนี้แล้วรับช่วงสิทธิไล่เบี้ย
- กรณีสัญญาประกันภัย(880) : บริษัทผู้รับประกันภัยเข้าชำระหนี้แทนผู้เอาประกันภัยโดยความเสียหายเกิดจากบุคคลภายนอก เมื่อชำระสินไหมให้แก่ผู้เอาประกัน ไปแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิตาม 880,227 มีสิทธิตาม 226 ไล่เบี้ยเอาจากผู้ทำละเมิด
- กรณีสัญญาค้ำประกัน (693) : ผู้ค้ำประกันเข้าชำระหนี้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมที่ผูกพันจะชำระหนี้ตาม 229(3) เมื่อเข้าชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ค้ำประกันแล้วย่อมมีสิทธิไล้เบี้ยได้ตาม 693 , 226
4. ผลของการรับช่วงสิทธิ (มีสิทธิเท่าเจ้าหนี้เดิม) : ชอบที่จะใช้สิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ตามมูลหนี้ (เข้าสวมสิทธิเจ้าหนี้เดิม) ดังนั้น มีสิทธิฟ้องร้องไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ตามมูลหนี้นั้น หรือผู้ที่ชำระหนี้แทนไป
* กรณีผู้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกร้องเงินคืนจากผู้ที่รับชำระหนี้ไปจึงไม่ใช่การรับช่วงสิทธิ แต่เป็นการฟ้องเรียกคืนฐานลาภมิควรได้
5. รับช่วงทรัพย์ : ผลของทรัพย์ที่เข้าแทนที่ต้องมีฐานะตามกฎหมายอย่างเดียวกันกับทรัพย์เดิม ดังนั้นหากทรัพย์หรือสิ่งของที่เข้ามาแทนที่ไม่ได้มีฐานะอย่างเดียวกันจึงมิใช่กรณีรับช่วงทรัพย์ ตามมาตรา 226 ว.2
6. กรณีรับช่วงทรัพย์ (228)
- เป็นกรณีการชำระหนี้ด้วยทรัพย์นั้นตกเป็นพ้นวิสัย (การโอนทรัพย์นั้นเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป)
- มีทรัพย์สินอื่นหรือสิทธิอื่นเข้ามาแทนที่ทรัพย์ที่เสียไป เช่น มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันเข้าแทนที่บ้านที่ถูกเผา
- +ผล+ เจ้าหนี้ตามมูลหนี้นั้น เรียกร้องต่อทรัพย์หรือสิทธิที่เข้าแทนที่ได้เอง
7. กรณีรับช่วงทรัพย์ (231,232)
- เป็นกรณีคุ้มครองเจ้าหนี้ผู้รับจำนอง (บุริมสิทธิ์) ดังนั้น ต้องเป็นเจ้าหนี้จำนองก่อน มิใช่ฐานะการเป็นเจ้าหนี้จำนองระงับไปแล้ว มิฉะนั้นไม่มีสิทธิเข้ารับช่วงทรัพย์ได้ (ต้องมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนอง)
- หากเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์ที่จำนอง แล้วมีสิ่งทดแทน เช่นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
- เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง มีสิทธิใช้สิทธินั้น (สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัย) ได้ด้วยตนเอง
*** แตกต่างจากกรณี 229(3) ที่ต้องเป็นผู้ที่ได้ที่ดินติดจำนองมาแล้วภายหลังจึงเข้าชำระหนี้หรือไถ่ถอนจำนอง จึงได้สิทธิตาม 226
การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ (233-236,237-240,303-313)
การเพิกถอนกรณีฉ้อฉล และการโอนสิทธิเรียกร้อง
1. การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ (233-236) : ใช้สิทธิในนามของตนเองแทนลูกหนี้ เพื่อป้องกันสิทธิตามมูลหนี้ของตน +ผล+ ลูกหนี้ตามสิทธิเรียกร้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้นั้นแต่ลูกหนี้มีสิทธิอย่างไรก็มีอย่างนั้น
2. การเพิกถอนการฉ้อฉล (237-240) : เจ้าหนี้ใช้สิทธิเพิกถอนนิติกรรมของลูกหนี้ที่กระทำลงไป เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ + ผล + เจ้าหนี้ใช้สิทธิฟ้องเพิกถอนนิติกรรมของลูกหนี้ได้ / ไม่กระทบสิทธิของบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตก่อนฟ้องคดี
3. การโอนสิทธิเรียกร้อง (313-313) : โอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดโดยเฉพาะเจาะจง โดยทำเป็นหนังสือและบอกกล่าวการโอนแก่ลูกหนี้ + ผล + สิทธิทั้งปวงที่เกี่ยวเนื่องกับสิทธิเรียกร้องนั้นตกแก่ผู้รับโอน(เจ้าหนี้เดิมหมดสิทธิ) // ลูกหนี้มีสิทธิยกขึ้นข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอน ขึ้นต่อสู้กับผู้รับโอน (แต่ต้องมีอยู่ก่อนเวลาได้รับคำบอกกล่าว) (ชี้แจ้งกลับทันที ถ้านิ่งถือว่ายอมรับ)
ประเด็นสำคัญ
1. กรณีใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ (233-236)
- เป็นมาตรการควบคุมกองทรัพย์สินของลูกหนี้ (ทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นหลักประกันการชำระหนี้) ใช้กรณี ลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินพอชำระหนี้ และลูกหนี้ไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้อง หรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธินั้น เป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
- +ผล+ ; ลูกหนี้เดิมมีข้อต่อสู้อย่างไร ก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ได้
2. กรณีเพิกถอนการฉ้อฉล (237-240)
- เป็นมาตรการควบคุมกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ใช้กับกรณีนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นสิทธิในทรัพย์สิน และใช้กับนิติกรรมที่มีการโอนทรัพย์สินเฉพาะสิ่งซึ่งเป็นวัตถุแห่งสัญญาที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องอยู่ แม้จะมีทรัพย์สินพอชำระหนี้ได้ (แต่ไม่อาจใช้ทรัพย์อื่นแทนได้ ) ก็เพิกถอนได้
- ลูกหนี้รู้อยู่แล้วว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ (ไม่มีทรัพย์สินอันที่พอจะชำระหนี้ได้)
- ผู้ได้ลาภงอกได้รู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
- ผู้มีสิทธิฟ้องเพิกถอนต้องอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ ของผู้ทำนิติกรรมขณะที่ทำนิติกรรมนั้น แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพียงแต่เป็นเจ้าหนี้ตามกฎหมาย ไม่ว่าตามมูลหนี้ละเมิดหรือสัญญา หรือมูลหนี้อื่น ๆ และจะมีการฟ้องร้องให้ชำระหนี้หรือไม่ไม่สำคัญ (เป็นหนี้กันจริงขณะลูกหนี้ทำนิติกรรม)
- บุคคลภายนอก(238) หมายถึง ผู้รับโอนทรัพย์สิน รวมทั้งผู้รับจำนองทรัพย์ของลูกหนี้ ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้
- ผู้ได้ลาภงอกกรณี 237 หมายถึง ผู้ที่ทำนิติกรรมกับลูกหนี้โดยตรง รวมทั้งผู้สืบสิทธิเป็นทายาทด้วย ดังนั้นทายาทรับมรดกของผู้ที่ได้ลาภงอกไม่ใช่บุคคลภายนอกตาม 238 นี้
- อายุความ : 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนได้ หรือ10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรม (ในกรณีเป็นนิติบุคคลถือว่า การรู้ของผู้แทนที่แสดงเจตนาแทนโจทก์ ) และต้องฟ้องบุคคลที่รับโอนเป็นคู่ความด้วย
- ทรัพย์สินกลับคืนสู่กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคน
3. กรณีโอนสิทธิเรียกร้อง(303-313)
- ต้องทำเป็นหนังสือและบอกกล่าวแก่ลูกหนี้โดยไม่จำต้องให้ลูกหนี้ได้ให้ความยินยอมในการโอนนั้นด้วย และเพียงแต่ลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวก็สมบูรณ์
- *** การไม่บอกกล่าวหรือลูกหนี้ไม่ได้ให้ความยินยอมด้วยไม่ทำให้การโอนไม่สมบูรณ์เพียงแต่ใช้ยันกับลูกหนี้กับบุคคลภายนอกไม่ได้เท่านั้น
- เจตนาของคู่สัญญาต้องเป็นการโอนสิทธิจริง ๆ ไม่ใช่เจตนาชำระหนี้ผ่านธนาคารหรือประการอื่นใด
- สิทธิเรียกร้องกรณีนี้โอนไม่ได้ 3 กรณี
1. สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ (303 ว. 1) (โดยมากเป็นสิทธิเฉพาะตัว)
2. คู่สัญญาแสดงเจตนาห้ามโอน (303 ว.2 )
3. สิทธิเรียกร้องที่ศาลจะสั่งยึดไม่ได้ (304)
- สิทธิยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ ที่จะยกต่อสู้ได้นั้นต้องเป็นข้อต่อสู้ของลูกหนี้ที่มีต่อผู้โอนและมีอยู่ก่อนเวลาได้รับคำบอกกล่าว
- +ผล+ การโอนสิทธิเรียกร้องย่อมทำให้เจ้าหนี้เดิมหมดสิทธิเรียกร้อง เพราะหนี้โอนไปแล้ว การที่ไปเกี่ยวข้องกับหนี้เดิมจึงไม่มีสิทธิ (เช่น การอายัด ระงับ เปลี่ยนแปลง ต่างๆ )
หนี้ระงับ (314-355)
1. สัญญารับสภาพหนี้ : ลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ มีผลให้หนี้เดิมระงับและรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้
2. หนี้ระงับ
- ชำระหนี้ / ปลดหนี้ (314-340
- หักกลบลบหนี้ (341-348) :สองคนต่างมีหนี้ต่อกัน โดยมีมูลวัตถุประสงค์เดียวกัน
- แปลงหนี้ใหม่ (349-352) : เปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้
- หนี้เกลื่อนกลืนกัน (353) : สิทธิและความรับผิดตกแก่บุคคลคนเดียวกัน
ประเด็นสำคัญ
1. สัญญารับสภาพหนี้
- ต้องมีหนี้เดิมกันมาก่อน และหนี้เดิมต้องสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายสามารถบังคับได้
- ต้องเป็นกรณีลูกหนี้ (ไม่ใช่บุคคลภายนอก) ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หากเป็นบุคคลอื่นประสงค์จะเข้าชำระหนี้แทนลูกหนี้ย่อมไม่ใช่สัญญารับสภาพหนี้
- +ผล+ หนี้เดิมระงับ
- รับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้
- ไม่ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่ เพราะมิได้เปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ เป็นแต่การรับว่าเป็นหนี้จริงเท่านั้น
2. กรณีหักกลบลบหนี้ (341-348)
- ต้องมีบุคคลสองคน และต่างเป็นหนี้ซึ่งกันและกัน หากมีฝ่ายเดียวเป็นหนี้ย่อมไม่ใช่หักกลบลบหนี้
- มูลหนี้มีวัตถุประสงค์แห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน และถึงกำหนดชำระแล้ว
- +ผล+ หลุดพ้นด้วยการหักกลบลบหนี้ เท่าจำนวนที่ตรงกัน
- ***กรณีหนี้ที่มีข้อต่อสู้ (344) คือ หนี้ที่ฝ่ายหนึ่งอ้าง แต่อีกฝ่ายหนึ่งมีข้อโต้แย้งไม่ย่อมรับที่จะนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้
3. กรณีแปลงหนี้ใหม่ (349)
- ต้องมีหนี้เดิมอยู่ก่อนแล้ว แม้หนี้นั้นขาด หลักฐานเป็นหนังสือ หรือขาดอายุความ แล้วก็ถือว่ามีมูลหนี้อยู่เดิม
- เปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ (การเปลี่ยนแปลงตัวเจ้าหนี้ หรือลูกหนี้ )
- +ผล+ หนี้เดิมระงับ รวมทั้งหนี้อุปกรณ์ (สัญญาจำนองหรือค้ำประกัน )เว้นแต่ มีการตกลงเป็นอย่างอื่น
- รับผิดตามหนี้ใหม่
- ***เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย ,ตกลงผ่อนผันออกตั๋วเงินชำระหนี้, ทำสัญญารับสภาพหนี้ มิใช่เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญแห่งหนี้ มิใช่การแปลงหนี้
- การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ : ต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ โดยมีข้อความว่า เจ้าหนี้ยอมรับลูกหนี้คนใหม่เป็นลูกหนี้แทนลูกหนี้เดิมต่อไป ถ้าเพียงแต่ลูกหนี้คนใหม่เพียงแต่มีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้แทนลูกหนี้และเจ้าหนี้ยินยอมมิใช่การแปลงหนี้ใหม่

ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=13efd6d9dfef5997

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น