บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อรวบรวมคำอธิบายกฎหมาย บทความทางกฎหมาย ข้อมูลข่าวสารต่างๆ และสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายไว้ใช้สำหรับการศึกษาวิชาทางกฎหมาย เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้ศึกษาวิชากฎหมาย และบุคคลทั่วไป

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุปกฎหมายสิ่งแวดล้อม

สรุปกฎหมายสิ่งแวดล้อม

 
        เพื่อให้การดำเนินงานควบคุมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีผลมากยิ่งขึ้น   ได้มีประกาศใช้กฎหมายหลายฉบับใน  พ.ศ.2536  ซึ่งเป็นการปรับปรุงกฎหมายฉบับเก่าที่มีมานานแล้วให้ทันสมัยและมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนเพิ่มมากยิ่งขึ้น   กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่สำคัญได้แก่   พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ   พระราชบัญญัติการสาธารณสุข    พระราชบัญญัติโรงงาน   และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย                                                                                                                                                                                    1.พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  พ.ศ. 2535      
        พระราชบัญญัติ  (พ . ร. บ.) ฉบับนี้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน  พ.ศ. 2535 โดยยกเลิกฉบับเก่าซึ่งมีใช้มาตั้งแต่ พ. ศ. 2522  และใช้หลักว่า  บุคคลที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพื่อการขจัดมลพิษนั้น  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่และสิ่งแวดล้อมเป็นผู้รักษาการตาม  พ .ร. บ. นี้
โครงสร้างของกฎหมายแบ่งเป็น 7 หมวด คือ
        1.คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  กำหนดให้มีการตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้นประกอบด้วยรัฐมนตรี  10  ท่าน  มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและมีเจ้าหน้าที่ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐและเอกชนส่วนหนึ่ง  เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและดำเนินการวางแผนสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้เป็นไปตามกฎหมาย
       2.กองทุนสิ่งแวดล้อม   จัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมขึ้นในกระทรวงการคลัง   โดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้รับผิดชอบบริหารกองทุนตามคำแนะนำของคณะกรรมการกองทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่   เพื่อกำหนดเงื่อนไขในการให้รัฐและเอกชนกู้ยืม  หรือเป็นเงินช่วยเหลือในกิจการที่เกี่ยวกับการส่งเสริม  และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย
       3.การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม  การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม   การวางแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม   การประกาศเขตอนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม   การทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอยู่ในการกำกับดูแลของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยมีรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่และสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ปฏิบัติการ
       4.การควบคุมมลพิษ  ให้จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมมลพิษ  โดยมีปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่และสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน  เพี่อเสนอแผนปฏิบัติการป้องกันหรือแก้ไขอันตรายจากมลพิษ  รวมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด   ประกาศเขตควบคุมมลพิษ  มลพิษทางอากาศและเสียง  มลพิษทางน้ำ  มลพิษอี่นๆ  และของเสียอันตราย  การตรวจสอบและควบคุม  ค่าบริการและค่าปรับ  ทั้งยังกำหนดให้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษมีหน้าที่ควบคุมตรวจสอบ  สั่งปรับปรุงและให้คำแนะนำต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการปฏิบัติการจดทะเบียนผู้รับจ้างเป็นผู้ควบคุมหรือรับจ้างให้บริการ  บำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย
        5.มาตรการส่งเสริม  ต่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทางด้านอากรขาเข้าของเครื่องจักรอุปกรณ์  การขอนำผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาปฏิบัติหน้าที่  โดยยื่นขอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
        6.ความรับผิดทางแพ่ง  กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ  มีหน้าที่รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่ตนเองก่อขึ้น
7.ทบกำหนดโทษ  ผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย  อาจถูกจำคุกตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 5 ปี  หรือปรับไม่เกิน 5,000 ถึง 500,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  แล้วแต่มาตรการที่ฝ่าฝืน

2.พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  พ.ศ. 2535
        พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ในเดือน กรกฎาคม  พ.ศ. 2535  แทนฉบับเก่าซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.  2522  โดยแบ่งโรงงานเป็น  3  ประเภทใหญ่  เพื่อสะดวกในการควบคุมและกำกับดูแล  ให้รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตาม  พ.ร.บ. นี้
      “โรงงาน” ตาม พ.ร.บ. นี้หมายความว่า “อาคาร  สถานที่  หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักร  มีกำลังรวมตั้งแต่ห้าแรงม้าหรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าแรงม้าขึ้นไป  หรือใช้คนตั้งแต่เจ็ดคนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม  สำหรับทำ  ผลิต  ประกอบ  บรรจุ  ซ่อมบำรุง  ทดสอบ  ปรับปรุง  แปรสภาพ  เก็บรักษา  หรือทำลายสิ่งใดๆ   ทั้งนี้ตามชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง”  โครงสร้างของกฎหมายแบ่งเป็น  3  หมวด  ได้แก่
1.การประกอบกิจการโรงงาน
              ก. ประเภทของโรงงาน   ได้แบ่งประเภทของโรงงานออกเป็น 3 ประเภท   ได้แก่
                      โรงงานประเภทที่ 1  ได้แก่ โรงงานประเภท  ชนิด  และขนาดที่สามารถประกอบกิจการโรงงานได้ทันที  ตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการโรงงาน  ส่วนใหญ่ได้แก่โรงงานขนาดเล็กใช้เครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า  หรือคนงานไม่เกิน  20  คน
                       โรงงานประเภทที่ 2  ได้แก่  โรงงานประเภท  ชนิด  และขนาดที่เมื่อจะประกอบกิจการโรงงาน  ต้องแจ้งให้ผู้อนุญาต  (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)  ทราบก่อน  ส่วนใหญ่ได้แก่โรงงานขนาดกลางมีเครื่องจักรไม่เกิน  50  แรงม้า  หรือคนงานไม่เกิน  50  คน
                       โรงงานประเภทที่ 3  ได้แก่  โรงงานประเภท  ชนิด  และขนาดที่การตั้งโรงงาน  จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อน   จึงจะดำเนินการได้  (ใบอนุญาตมีอายุ  5  ปี)  ส่วนใหญ่ได้แก่โรงงานขนาดใหญ่ที่มีเครื่องจักรเกิน  50  แรงม้า  หรือคนงานเกิน  50  คน  หรือโรงงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
              ข. กำหนดมาตรฐาน  และวิธีการควบคุมการปล่อยของเสี่ยมลพิษหรีอสิ่งใดๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ซึ่งเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการจากโรงงาน  การจัดเอกสารประจำโรงงาน และข้อมูลที่ต้องแจ้งโดยให้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงด้วย
              ค. การขยายโรงงาน  ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (โรงงานประเภทที่ 3) ขยายโรงงานเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต การขยายโรงงานได้แก่การเพิ่มเครื่องจักรตั้งแต่ร้อยละ  50  ขึ้นไป  หรือ  50  แรงม้าขึ้นไป  ในกรณีเดิมมีกำลังรวมเกินกว่า  100  แรงม้า  และการเพิ่มหรือแก้ไขส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารทำให้ฐานรากเดิมรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นตั้งแต่  500  ขึ้น
ไป
ง.      ประกาศให้ท้องที่ใดเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมหรือจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการกำหนดเขตประกอบอุตสาหกรรม  โดยรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจขึ้นและสามารถกำหนดให้บริเวณโดยรอบเขตนั้นภายในระยะที่กำหนด  เป็นเขตห้ามประกอบกิจการโรงงานโดยเด็ดขาดหรือจะอนุญาตให้ประกอบกิจการได้โดยเฉพาะโรงงานบางประเภท  ชนิด  หรือขนาดใดก็ได้
            การประกอบกิจการของโรงงานจำพวกที่  2 หรือ  3  ภายในเขตประกอบการอุตสาหกรรม
หรือเขตนิคมอุตสาหกรรมจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งหรือได้รับอนุญาตก่อน
2.การกำกับและดูแลโรงงาน
          กำหนดให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสภาพภายในโรงงาน  เก็บตัวอย่าง  ยึด  หรืออายัดผลิตภัณฑ์และเอกสารที่เกี่ยวข้อง  ในกรณีที่มีเหตุสงสัยว่าอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินรวมทั้งจับกุมเพี่อส่งพนักงานสอบสวนทางกฎหมายเจ้าพนักงานสามารถสั่งปรับปรุง ปิดโรงงาน  หรือเข้าไปดำเนินการแก้ไข  โดยผู้ประกอบกิจการต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าไปจัดการนั้น  รวมทั้งค่าปรับร้อยละ  30  ต่อปี
         ในกรณีที่ทางราชการเข้าไปจัดการแก้ปัญหามลพิษ  หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากโรงงาน  ให้ขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนสิ่งแวดล้อมและเมื่อได้เงินคืนจากผู้ประกอบการให้รับมาคืนกองทุน  อาจมีการกำหนดให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการและจัดทำรายงานผลการตรวจสอบแทนการปฏิบัติการของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้
3.บทกำหนดโทษ
ผู้ฝ่าฝืนอาจถูกปรับตั้งแต่ 5,000  ถึง  200,000  บาท  หรือจำคุกตั้งแต่  6  เดือน ถึง  2 ปี                                                                                
หรือทั้งจำทั้งปรับ   โทษหนักที่สุดได้แก่เมื่อผู้ประกอบกิจการโรงงานฝ่าฝืนคำสั่งให้หยุดประกอบกิจการโรงงาน ซึ่งต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน  2  ปี  หรือปรับไม่เกิน  200,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  และให้ปรับอีกวันละ 5,000  บาท  จนกว่าจะหยุดประกอบกิจการ  หากสถาปนิกหรือวิศวกรยังฝ่าฝืนทำงานในโรงงานที่มีคำสั่งปิดแล้วก็จะต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ประกอบกิจการ
           นอกจากนี้ยังมีกฎกระทรวงอุตสาหกรรมที่ออกตามความใน  พ. ร. บ. โรงงาน  พ. ศ. 2535  อีกหลายฉบับที่สำคัญคือ
           ฉบับที่  1  ซึ่งกำหนดว่าโรงงานชนิดใดเป็นโรงงานประเภท  1,2  หรือ  3  ซึ่งกล่าวถึงโรงงาน  104  ชนิด
           ฉบับที่  2  กำหนดที่ตั้งและลักษณะโรงงาน  ทำเลที่ตั้งห่างจากที่สาธารณะ  เช่น  ห้ามตั้งโรงงานทุกประเภทในบริเวณบ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัย  อาคารชุดพักอาศัยและบ้านแถวเพื่อการอาศัย  เป็นต้น
           ฉบับที่ 3 กำหนดประเภทของโรงงานที่ต้องทำรายงานต่อทางการตามที่กำหนด  ได้แก่โรงงานที่ใช้หม้อต้มน้ำ  โรงงานที่มีผลกระทบต่อส่งแวดล้อมอย่างรุนแรง
4.พระราชบัญญัติการสาธารณสุข  พ.ศ.  2535
           พระราชบัญญัติฉบับนี้ยกเลิก  พ.ร.บ.  การสาธารณสุขฉบับที่มีใช้มาแต่  พ.ศ.  2527และ        พระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระและปุ๋ยที่มีใช้มาแต่  พ.ศ.  2497  โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตาม  พ.ร.บ.  นี้และให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขในการกำกับดูแลการทำงานของเจ้าพนักงานของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการจัดการปฏิบัติตามกฎหมาย
     ในกฎหมายได้ให้คำจำกัดความของ ของเสียไว้  2   ชนิด  คือ                                 “สิ่งปฏิกูล” หมายความว่า “อุจจาระหรือปัสสาวะและหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น”
 “มูลฝอย”  หมายความว่า “ เศษกระดาษ  เศษผ้า  เศษอาหาร  เศษสินค้า  ถุงพลาสติก  ภาชนะใส่อาหาร  มูลสัตว์หรือซากสัตว์  รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บจากถนน  ตลาด  ที่สัตว์เลี้ยง  หรือที่อื่น
กฎหมายแบ่งออกเป็น  16  หมวดได้แก่
        1.บททั่วไป  ให้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจจากการออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนและมีวิธีดำเนินการเพื่อตรวจสอบควบคุมและแก้ไข
        2.คณะกรรมการสาธารณสุข ให้ตั้งคณะกรรมการสาธารณสุข โดยมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการและกรรมการอีก 17 คน ประกอบด้วยอธิบดีกรมอนามัยและกรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนเพื่อให้มีหน้าที่เสนอคำแนะนำต่อรัฐมนตรี
        3.กำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น ในการออกข้อกำหนดของท้องถิ่น เพื่อการเก็บขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
        4.สุขลักษณะของอาคาร เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไข อาคารที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมหรือมีสภาพรกรุงรังไม่ถูกสุขลักษณะ หรือมีคนอยู่มากเกินไปจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
        5.เหตุรำคาญ เหตุอันก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น เช่น การกระทำทำใดๆอันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่น แสง รังสี ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจออกคำสั่งเพื่อระงับ กำจัดและควบคุมเหตุรำคาญต่างๆได้
       6.การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ราชการท้องถิ่นอาจกำหนดให้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์  เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่ติดสัตว์
       7.กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รัฐมนตรีสาธารณสุขมีอำนาจกำหนดให้กิจการใดเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนดำเนินการในลักษณะที่เป็นการค้า
       8.ตลาด ร้านขายอาหาร และสถานที่สะสมอาหาร ต้องได้รับใบอนุญาตหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
       9.การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ
     10.อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข ให้สามารถเข้าตรวจสอบยึด หรืออายัดสิ่งของที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย ออกคำสั่งให้แก้ไข ปรับปรุง หรือหยุดการดำเนินการได้
     11.หนังสือรับรองการแจ้ง เพื่อให้เจ้าพนักท้องถิ่นทราบต้องแสดงหนังสือไวในที่เปิดเผย
     12.ใบอนุญาต เพื่อขออนุญาตก่อนประกอบกิจการตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งมีอายุ 1 ปี
     13.ค่าธรรมเนียมค่าปรับ ในกรณีขอต่อใบอนุยาติล่าช้าอาจถูกปรับ 20 %
     14.การอุทธรณ์ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขภายใน 3 วัน
     15.บทกำหนดโทษ ผู้ฝ่าฝืนอาจถูกปรับตั้งแต่ 500 ถึง 10000 บาท หรือถูกจำคุกตั้งแต่ 1 ถึง 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
     16.บทเฉพาะกาล
5.พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย
        พระราชบัญญัตินี้ให้ยกเลิก  พ.  ร.  บ.  เก่าที่ใช้มาตั้งแต่  พ.  ศ.  2510  และ  พ.  ศ.  2516  ทั้งยังให้ความหมายของคำว่า  “วัตถุอันตราย” หมายความว่าวัตถุดังต่อไปนี้
      1.วัตถุระเบิดได้
      2.วัตถุไวไฟ
      3.วัตถุออกซิไดซ์  และวัตถุเปอร์ออกไซด์
      4.วัตถุมีพิษ
      5.วัตถุที่ทำให้เกิดโรค
      6.วัตถุกัมมันตรังสี
      7.วัตถุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
      8.วัตถุกัดกร่อน
      9.วัตถุที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
    10.วัตถุอย่างอื่น  ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล  สัตว์  พืช  ทรัพย์  หรือสิ่งแวดล้อม
      กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมถึง  การผลิต  นำเข้า  ส่งออก  ขาย  มีไว้ในคุ้มครอง  วัตถุอันตราย โดยให้รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้รับผิดชอบ  กฎหมายแบ่งออกเป็น  4  หมวด  คือ
     1.คณะกรรมการวัตถุอันตราย  ให้ประกอบด้วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธานมีอำนาจในการพิจารณาร้องเรียนและให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
     2.การควบคุมวัตถุอันตราย  ให้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายขึ้นในกระทรวงอุตสาหกรรมและแบ่งวัตถุออกเป็น  4  ชนิดได้แก่
     1)วัตถุอันตรายที่การผลิต  การนำเข้า  การส่งออก  หรือการมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติตามเกณฑ์และวิธีที่กำหนด
     2)วัตถุอันตรายที่การผลิตการนำเข้า  การส่งออกหรือการมีไว้ในครอบครองต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
     3)วัคถุอันตรายที่การผลิต  การนำเข้า  การส่งออก  หรือการมีไว้ในครอบครองต้องได้รับอนุญาตก่อน
     4)วัตถุอันตรายที่การผลิต  การนำเข้า  การส่งออก  หรือการมีไว้ในครอบครอง
ให้อำนาจกระทรวงที่รับผิดชอบคุณสมบัติ  ภาชนะ  การตรวจสอบ  ฉลากการผลิต  นำเข้า  ส่งออก  เก็บ  ทำลาย  และให้มีผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบกำหนดขั้นตอนในการขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตราย
       นอกจากนี้ยังห้ามผู้ผลิต  นำเข้า  ส่งออก  มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายต่อไปนี้
     1.วัตถุอันตรายปลอม
     2.วัตถุอันตรายผิดมาตรฐาน
     3.วัตถุอันตรายเสื่อมคุณภาพ
     4.วัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้
     5.วัตถุอันตรายที่ถูกสั่งเพิกถอนทะเบียน
         ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่เพื่อตรวจสอบ  เก็บตัวอย่าง  ตรวจค้น  กัก  ยึด  หรือายัด  และมีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำได้  วัตถุอันตรายที่ถูกอายัด  อาจถูกทำลายหรือจัดการดำเนินการขายทอดตลาดภายใน  3  เดือน  โดยคืนเงินให้เจ้าของหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วตามควรแก่กรณี
    3.หน้าที่และความรับผิดทางแพ่ง  กำหนดให้ผู้ผลิต  นำเข้า  ผู้ขนส่ง  ผู้มีไว้ในครอบครองใช้ความระมัดระวังในการตรวจสอบรับผิดชอบต่อการเสียหายอันเกิดแก่วัตถุอันตรายโดยมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้ที่ส่งมอบวัตถุอันตรายให้ตนจนถึงผู้ผลิตภายใน  3  ปี  นับแต่วันที่ตนได้รับค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่วัตถุอันตรายก่อให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวมหรือทรัพยากรธรรมชาติพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายของรัฐได้
    4.บทกำหนดโทษ  ผู้ฝ่าฝืนอาจถูกปรับตั้งแต่  10,000 ถึง 1,000,000 บาท  หรือจำคุกตั้งแต่  1  เดือน  ถึง  10  ปี  หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่มา : http://www.engineerthailand.com/lawenvengineer.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น