บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อรวบรวมคำอธิบายกฎหมาย บทความทางกฎหมาย ข้อมูลข่าวสารต่างๆ และสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายไว้ใช้สำหรับการศึกษาวิชาทางกฎหมาย เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้ศึกษาวิชากฎหมาย และบุคคลทั่วไป

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ประมวลพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวกับกฎหมาย


ประมวลพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวกับกฎหมาย




         “...ถ้าเราจะปกครองหรือช่วยให้บ้านเมืองมีความสงบสุข เรียบร้อย เราจะต้องปฏิบัติตรงตามกฎหมายทั้งหมดไม่ได้ จะต้องคำนึงถึงหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ไปพร้อมๆ กันต้องอยู่ด้วยความอะลุ่มอล่วย ไม่กดขี่ซึ่งกันและกัน...”
        *พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะกรรมการ จัดงานวันนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ๑๓ มีนาคม ๒๕๑๒

         “...หลักที่ว่าทุกคนต้องทราบถึงกฎหมายและต้องทำตามกฎหมายนั้นรู้สึกว่าบางครั้งก็ใช้ไม่ได้ เพราะว่ากฎหมายไม่ถึงประชาชน ต้องนึกบ้างว่าเป็นความผิดทางราชการ ที่ไม่สามารถจะนำกฎหมายไปให้ถึงประชาชน...”
        *พระบรมราโชวาท ในโอกาสพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ข้าราชการ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๑๓

         “...กฎหมายทั้งปวง จะธำรงความยุติธรรมและความถูกต้องเที่ยงตรง มีความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ หากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และ เจตนารมณ์ หรือด้วยเจตนาไม่สุจริตต่างๆ กฎหมายก็เสื่อม ความศักดิ์สิทธิ์และกลายเป็นภัยต่อประชาชน...”
        *พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๒๐

         “...การรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ไม่ควรจะถือเพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย จำเป็นต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริงด้วย...”
        *พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรของ สำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๒

         “...กฎหมายมิใช่ตัวความยุติธรรม หากเป็นแต่เพียงบทบัญญัติหรือปัจจัยที่ตราไว้เพื่อรักษาความยุติธรรม ผู้ใดก็ตามแม้ไม่รู้กฎหมายแต่ถ้าประพฤติปฏิบัติด้วยความสุจริตแล้วควรจะ ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเต็มที่ ตรงกันข้ามคนที่รู้กฎหมายแต่ใช้กฎหมายไปในทางทุจริตควรต้องถือว่าทุจริต...”
        *พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๒

         “...กฎหมายนี้มีช่องโหว่เสมอ ถ้าเราถือโอกาสในการมีช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อการทุจริตนั้นเป็นสิ่งที่เลวทราม และทำให้นำไปสู่ความหายนะแต่ถ้าใช้ช่องโหว่ในกฎหมายเพื่อสร้างสรรค์ ก็เป็นการป้องกันมิให้ใช้ช่องโหว่ของกฎหมายในทางทุจริต ...”
        *พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาในการวางแผนการใช้ที่ดิน ณ โรงแรมรินคำ จังหวัดเชียงใหม่ ๗ มกราคม ๒๕๒๓

         “...กฎหมายนั้น โดยหลักการแล้วจะต้องบัญญัติขึ้น ใช้เป็นอย่างเดียวกันและเสมอกันหมดสำหรับคนทั้งประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้กฎหมายจะต้องตระหนักในความรับผิดชอบของตนเองอยู่ตลอดเวลา ในอันที่จะใช้กฎหมายเพื่อธำรงรักษาและผดุงความยุติธรรม...”
        *พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้ ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๓

         “...กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรมไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หากต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยาตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริงด้วย...”
        *พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ ๓๓ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔

         “...สิ่งที่มีกฎเกณฑ์ก็เรียกว่าเป็นกฎหมาย บุคคลนั้นก็ต้องอาศัยกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องจึงจะมีความสุขได้ ถ้าไม่มีกฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง ทำให้อยู่กันไม่ผาสุก เพราะว่ามีการเบียดเบียนกันบ้าง มีการเข้าใจผิดกันบ้าง ฉะนั้น จึงต้องมีกฎเกณฑ์ คือกฎหมายที่ตราขึ้นมาเพื่อความสงบเรียบร้อย...”
        *พระราชดำรัส พระราชทานแก่ท่านผู้แทนคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ๔ เมษายน ๒๕๓๒

         “...กฎหมายมีไว้สำหรับให้มีความสงบสุขในบ้านเมือง มิใช่ว่ากฎหมายมีไว้สำหรับบังคับประชาชน ถ้ามุ่งหมายที่จะบังคับประชาชนก็กลายเป็นเผด็จการ กลายเป็นสิ่งที่บุคคลหมู่น้อยจะต้องบังคับกับบุคคลหมู่มาก ในทางตรงกันข้าม กฎหมายมีไว้สำหรับให้บุคคลส่วนมากมีเสรีและอยู่ได้ด้วยความสงบ...”
        *พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๑

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

สรุปกฎหมายอาญา 1

สรุปหลักกฎหมายอาญาภาค 1


บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อ
การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
1.มีการกระทำ
2.ครบองค์ประกอบภายนอก
- ผู้กระทำ
- การกระทำ
- วัตถุแห่งการกระทำ
3 ครบองค์ประกอบภายใน
4 ผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำ

การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด การยกเว้นมีหลายกรณีคือยกเว้นความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 68,213,305,329,331
ยกเว้นความผิด ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 มีหลักว่า
“ไม่มีความผิดไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้” มาตรา 2 ห้ามนำมาใช้เพื่อเป็นผลร้ายเว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ถ้าใช้เพื่อเป็นคุณนำมาใช้ได้ถือเป็นหลักกฎหมายทั่วไป

ฎ : 1403/08 ความยินยอมถ้าไม่ขัดต่อสำนึกในศีลธรรมอันดีสามารถยกเว้นความผิดได้โดยถือว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไป

จารีตประเพณีก็ถือว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไปยกเว้นความผิดได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่าง จารีตให้อำนาจครูตีนักเรียนได้ เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
ฎ : 429-30/2505 ภิกษุมีอำนาจลงโทษเด็กวัดได้

ยกเว้นอยู่ในรัฐธรรมนูญ (ม. 157 ว.1)
ยกเว้นอยู่ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ม. 1347, 452, 1567(2),395,450)
อำนาจตามสัญญาบางครั้งก็ทำให้การกระทำไม่เป็นความผิดอาญาฐานบุกรุกถือว่ามีอำนาจที่จะทำได้ตามสัญญา
ฎ : 1/12 วินิจฉัยว่าเป็นบุกรุก การที่จำเลยใช้ไม้กระดานตีทางทับประตูห้องที่โจทก์ครอบครองอยู่ในขณะที่โจทก์ไม่อยู่ และปิดประตูห้องไว้ทำให้โจทก์เข้าห้องไม่ได้ เป็นการล่วงล้ำเข้าไปในอำนาจครอบครองของโจทก์ ถือเป็นการรบกวนการครอบครองตาม ปอ.ม.362

ถ้ามีข้อตกลงในปัญหาก็ไม่เป็นบุกรุก
ฎ : 4854/37 หนังสือเช่าระบุไว้ชัดเจนว่าให้อำนาจผู้ให้เช่ากระทำได้ก็ไม่ผิดบุกรุก

ยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ม.78(3),83)
ฎ : 699/02 เจ้าพนักงานผู้จับยิงยางล้อรถยนต์ของคนร้ายจนบางแตกเพื่อให้รถหยุดจะได้จับกุมคนบน

รถเป็นการกระทำที่พอเหมาะพอควรแก่การจับมีอำนาจทำได้ ตาม ปอ.มาตรา83 ไม่ผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358

สรุปหลัก คือ ถ้าผู้กระทำมีอำนาจทำได้ตาม 5 ข้อข้างต้น การกระทำนั้นจะไม่เป็นความผิดทางอาญา

การกระทำนั้นไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ
ยกเว้นโทษมีหลายกรณี คือ
- จำเป็น มาตรา 67
เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี ทำผิด มาตรา 73
เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ทำผิด มาตรา 74
คนวิกลจริตทำผิด มาตรา 65
คนเมาทำผิด มาตรา 66
ทำตามคำสั่งที่มิชอบของเจ้าพนักงาน มาตรา 70
ทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ระหว่างสามีภริยา มาตรา 71
3.2 เหตุลดโทษอยู่นอกโครงสร้างการรับผิดทางอาญา คือไม่ได้รับยกเว้นแต่ได้รับการลดโทษ ซึ่งเป็น

ดุลพินิจของศาล มีดังนี้

บันดาลโทสะ มาตรา 72
ความไม่รู้กฎหมาย มาตรา 64
คนวิกลจริตซึ่งรู้ผิดชอบอยู่บ้าง มาตรา 65 ว.2
คนมึนเมาซึ่งรู้ผิดชอบอยู่บ้าง มาตรา 66
ผิดเกี่ยวกับทรัพย์ระหว่างญาติสนิท มาตรา 71 ว.2
เหตุบรรเทาโทษ มาตรา 78
ผู้ทำผิดอายุกว่า 14 ปี ไม่เกิน 17 ปี มาตรา 75
ผู้ทำผิดอายุกว่า 17 ปี ไม่เกิน 20 ปี มาตรา 76
มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา…..
การกระทำคือ การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก
รู้สำนึก คือ อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ
การกระทำไม่ว่าจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่ต้องผ่าน 3 ขั้นตอนด้วยความรู้สำนึกในการที่กระทำ คือ
ต้องมีความคิดที่จะกระทำ
ตกลงใจที่จะกระทำตามที่คิด
ได้กระทำไปตามที่ตกลงใจอันสืบเนื่องมาจากความคิดการกระทำ
ฉะนั้น อาจแบ่งการกระทำได้ 2 ประเภทคือ
การกระทำโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย
การกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
*******การเคลื่อนไหวร่างกายมิใช่จะเป็นการกระทำเสมอไป การเคลื่อนไหวร่างกายต้องเป็นการเคลื่อนไหวโดยรู้สภาพและสาระสำคัญของการกระทำคนละเมอ คนเป็นลมบ้าหมู ถูกผลัก ถูกชน ถูกจับมือให้ทำ ถูกสะกดจิต กรณีเช่นนี้ไม่มีการกระทำ*******

“การกระทำ” ให้หมายความรวมถึงการงดเว้นที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย (ม.59 วรรคท้าย)
การกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวแยกได้ 2 ประเภท
โดยงดเว้น
โดยละเว้น
การกระทำโดย “งดเว้น” มีหลักเกณฑ์ คือ

เป็นการกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องกระทำ
หน้าที่ตามข้อ 2 เป็นหน้าที่ซึ่งต้องกระทำโดยเฉพาะเพื่อป้องกันผลที่เกิดขึ้นนั้น
การกระทำโดย “ละเว้น” มีหลักเกณฑ์ คือ

เป็นการกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องกระทำ
หน้าที่ตามข้อ 2 เป็นหน้าที่โดยทั่ว ๆ ไป

สรุป การกระทำโดยงดเว้น/ละเว้น ต่างกันตรงหน้าที่ ถ้าเป็น
- หน้าที่โดยเฉพาะเพื่อป้องกันผล (SPECIAL DUTY) การไม่ทำตามหน้าที่เป็นการกระทำโดยงดเว้น
- หน้าที่โดยทั่ว ๆ ไป (GENERAL DUTY) การไม่ทำตามหน้าที่ถือเป็นการกระทำโดยละเว้น
ตัวอย่าง แดงจ้างขาวไปฆ่าดำ ขาวตกลง ระหว่างขาวกำลังหาโอกาสที่จะฆ่าดำอยู่นั้น วันหนึ่ง ดำมาว่ายน้ำในสระน้ำ ดำเกิดเป็นตะคริวและกำลังจะจมน้ำ คำร้องขอให้ช่วย ขาวเป็นลูกจ้างประจำสระมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของสระว่ายน้ำนั้น ขาวเห็นสามารถช่วยได้แต่ไม่ช่วยเพราะต้องการให้ดำตาย ในที่สุดดำตาย ขาวและแดงผิดฐานใด
ตอบ วินิจฉัยความผิดของผู้ลงมือก่อนแล้วจึงวินิจฉัยความผิดตัวการ ผู้ใช้และผู้สนับสนุนเพราะต้องขึ้นอยู่กับความผิดของผู้ลงมือ ฉะนั้นดูให้ดีว่าใครลงมือ
ขาวต่อดำ การที่ขาวปล่อยให้ดำจมน้ำตายโดยไม่ช่วยเพราะประสงค์ให้ตายอยู่แล้วเข้า 59 ว. ท้ายงดเว้นที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันผล เพราะขาวมีหน้าที่โดยเฉพาะที่จะป้องกันไม่ให้ดำตายเนื่องจากขาวเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของผู้มาว่ายน้ำ ขาวจึงผิด 289 (4) + 59 ว.ท้าย
แดงต่อดำ แดงเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เมื่อขาวผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดตามที่ใช้ แดงจึงต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการตาม 84 ว.2 แดงจึงมีความผิดตาม 289(4) + 84

หน้าที่ของการกระทำโดยงดเว้นมี 4 ประเภทคือ
หน้าที่ ตามกฎหมายบัญญัติ
ปพพ. 1563 บุตรต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
ปพพ. 1564 บิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
ปพพ. 1461 สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
หน้าที่อันเกิดจากการยอมรับโดยเจาะจง ผู้กระทำยอมรับโดยตรงที่จะทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง การยอมรับก่อให้เกิดหน้าที่ที่จะต้องกระทำตามที่ตนยอมรับ
หน้าที่อันเกิดจากการกระทำก่อน ๆ ของตน ถ้าการกระทำของผู้กระทำน่าจะก่อให้เกิดภยันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ผู้กระทำย่อมมีหน้าที่ต้องป้องกันภยันตรายนั้น
ตัวอย่าง A เห็นคนตาบอดข้ามถนนเลยไปช่วย แต่พอพาไปกลางถนนรถเมล์มา A เลยวิ่งไปขึ้นรถทิ้งคนตาบอดไว้ ขาวขับรถมาชนถูกคนตาบอดตาย

ขาวผิด 291
แดงผิด 291 + 59 ว. ท้าย เป็นการฆ่า โดยงดเว้น
หน้าที่อันเกิดจากความสัมพันธ์เป็นพิเศษ
เช่น หลานไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะ ป้า แต่ถ้าป้าคนนั้นเป็นคนเลี้ยงดูหลานมาแต่เด็กให้อาหารกิน ให้การศึกษาอบรม ภายหลังป้าแก่ตัวลงหลานไม่เลี้ยงดูปล่อยให้ป้าอดตาย อาจถือว่าหลานฆ่าป้าก็ได้

ผู้กระทำความผิดในทางอาญา แยกได้ 3 ประเภท
ผู้กระทำความผิดเอง ผู้นั้นได้กระทำความผิดด้วยตนเองโดยตรง เช่น แดงใช้ปืนยิงดำด้วยมือของ
แดงเองเช่นนี้ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดเอง การใช้สัตว์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดการใช้บุคคลซึ่งไม่มีการกระทำ เช่น ถูกสะกดจิตเป็นเครื่องมือถือว่าเป็นการกระทำความผิดเอง

ผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม ผู้ที่หลอกให้ผู้อื่นกระทำความผิด ผู้ถูกหลอกมีการกระทำแต่ขาด
เจตนา ผู้ถูกหลอกมีการกระทำเพราะไม่ได้ถูกสะกดจิต ไม่ได้ละเมอแต่ผู้ถูกหลอดขาดเจตนา เพราะ 59 ว. 3 ผู้ถูกหลอกไม่รู้ ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด

หลักของการเป็นผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อมมีหลัก คือ
มีเจตนากระทำความผิดการกระทำโดยประมาทไม่มีการกระทำความผิด โดยทางอ้อม
มีเจตนาหลอกให้ผู้อื่นกระทำความผิด
ผู้ถูกหลอดไม่มีเจตนากระทำความผิด
ฎ : 1013/05 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จล.รู้ดีอยู่ก่อนแล้วว่าที่พิพาทเป็นของผู้เสียหาย จล.ยังร่วมกันจ้างให้

คนเข่าไปขุดดินในที่พิพาทและผู้รับจ้างจาก จล.ได้ขุดดินของผู้เสียหลายจนเกิดเป็นบ่อ ทำให้ที่พิพาทเสียหายเช่นนี้ การกระทำของ จล.ย่อมมีความผิดตาม ปอ.ม.358, 362 จล. จะเถียงว่ามูลกรณีเป็นคดีแพ่งมิใช่คดีอาญาย่อมฟังไม่ขึ้น

3. ผู้ร่วมในการกระทำความผิด ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน

จะเป็นผู้ใช้ตาม มาตรา 84 ได้ผู้ถูกใช้ต้องมีเจตนากระทำความผิด

ตัวอย่าง เปรียบเทียบผู้กระทำความผิดทั้ง 3 ประเภท

แดงต้องการฆ่าดำ แดงรู้ว่าดำตื่นตอน 8 โมง และต้องดื่มน้ำที่มีผู้นำมาวางไว้ข้างเตียงทุกเช้า แดงนำ
น้ำผสมยาพิษไปวางตอน 7 โมง ดำตื่นมา 8 โมง ดื่มน้ำนั้นตาย แดงวางเองเป็นผู้กระทำความผิดด้วยตนเอง

แดงต้องการฆ่าดำ 6 น. แดงหลอกขาวซึ่งเป็นพยาบาลว่าสิ่งที่อยู่ในถ้วยเป็นน้ำผลไม้ความจริงเป็นยา
พิษ ให้ช่วยนำไปให้ดำกิน ครั้นเวลา 7 โมง ขาวนำไปวาง 8 น. ดำตื่นกินน้ำผลไม้และตายแดงผิด 289(4) + 59 เป็นผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม

แดงต้องการฆ่าดำ 6 น. แดงจ้างขาวให้นำน้ำผลไม้ผสมยาพิษ ไปให้ดำกินให้ไปวางตอน 7 น. ถ้าดำตื่น 8 น. กินน้ำผลไม้และตายขาวรู้อยู่แล้วว่ามียาพิษแต่ทำตามเพราะอยากได้เงิน ขาวผิดผิด 289(4) + 59 เป็นผู้กระทำความผิด แดงผิด 289(4) + 59+84 เพราะแดงเป็นผู้ใช้
ทั้ง 3 กรณีจะถือว่าอย่างไร แดงผู้กระทำลงมือฆ่าดำ พยายามฆ่าเรื่องพยายามมีอยู่ตาม มาตรา 80 ถือ

การมือกระทำความผิด ศาลไทยผมรับตาม “หลักใกล้ชิดต่อผล” คือ ได้กระทำลงจนใกล้ชิดกับผลสำเร็จอันพึงเห็นได้ประจักษ์แล้ว

การครบองค์ประกอบภายนอกและการขาดองค์ประกอบภายนอก
ความจริงการกระทำของผู้กระทำครบองค์ประกอบภายนอกของความผิดในเรื่องนั้น ๆ
ตัวอย่าง แดงยิง ดำที่นอนคลุมโปงอยู่ดำตาย การกระทำครบองค์ประกอบภายนอกของ ม.288 เพราะ

ม.288 มีว่า “ผู้ใด ฆ่า ผู้อื่น” แดง = ผู้ใด ใช้ปืนยิง = การฆ่า ดำ = ผู้อื่น

แดง = ผู้ใด การใช้ปืนยิง = การฆ่า แต่ดำ ¹ ผู้อื่น เพราะเป็นศพไปแล้วถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอก

เมื่อการกระทำขาดองค์ประกอบภายนอกมีผลในทางกฎหมาย
ถือว่าผู้กระทำไม่มีความผิดเลย แม้พยายามตามมาตรา 81 ก็ได้ผิดจะถือว่าผิดพยายามซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ไม่ได้
ครบ , ขาดองค์ประกอบภายนอก อย่าปนกับเรื่องเจตนา
ตัวอย่าง แดงใช้ปืนยิงดำที่นอนคลุมโปงดำตาย “แดงใช้ปืนยิง โดยที่แดงรู้ ดำตาย” กรณีนี้ “ครบองค์

องค์ประกอบภายนอก”

แดงใช้ปืนยิงศพของดำ โดยคิดว่าดำยังไม่ตาย กรณีนี้ “ขาดองค์ประกอบภายนอก” เพราะความ

จริงเป็นศพ ผลในทาง กม.มี 2 ความเห็นคือ ไม่ผิดเลย, ผิดแต่ผิดตามมาตรา 81 อันหลังเป็นความเห็นฝ่ายข้างน้อย

ผู้กระทำรู้ข้อเท็จจริงอันเห็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด
ผู้กระทำต้องประสงค์ต่อผลของการกระทำของตนนั้น, จะต้องเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
องค์ประกอบภายใน โดยหลักคือ เรื่องเจตนา ,ประมาท
เจตนาตามกฎหมายอาญาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
เจตนาตามความเป็นจริง และ เจตนาประสงค์ต่อผล,เจตนาย่อมเล็งเห็นผล


เจตนาโดยผลของกฎหมาย ® ไม่เจตนาประสงค์ต่อผล,ไม่เจตนาย่อมเล็งเห็นผลแต่กฎหมายถือว่าเจตนา คือ การกระทำโดยพลาด
เจตนาตามความเป็นจริงตาม มาตรา 59 ต้องพิจารณาตามมาตรา 59 วรรค 3 ก่อนแล้วจึงพิจารณามาตรา 59 วรรค 2 ซึ่งจะได้หลักว่าผู้กระทำมีเจตนาต่อเมื่อ

1. ผู้กระทำรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด

2. ผู้กระทำต้องประสงค์ต่อผลของการที่กระทำของตนนั้น, จะต้องเล็งเห็นผลของการที่กระทำนั้น

*หลักเรื่องรู้ (ม. 59 ว.3 ม. 62, ว.2, ว.3)

รู้ คือ รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด
ไม่รู้ไม่มีเจตนา (หลัก ม.59 ว.3 ม.62 ว.2)

มาตรา 62 ว. 2 “ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรค 3 แห่ง 59 ได้เกิดขึ้นโดยความประมาท
ให้ผู้กระทำรับผิดฐานประมาทในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าการกระทำนั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาท”

ตัวอย่าง ใช้ปืนยิ่งไปหลังพุ่มไม้โดยคิดว่ายิงหมูป่า ความจริงยิงคน การที่รีบร้อนไม่ตรวจตราดูให้ดีก่อนว่าเป็นหมูป่า มีคนถูกยิง ไม่มีเจตนาฆ่าคนคนนั้น แต่การรีบร้อนไม่ดูให้ดีถือว่าประมาท ซึ่งต้องวิเคราะห์ตาม ว.59 ว.4 ถ้าประมาทก็ต้องรับผิดตาม ม.291 แต่บางกรณีแม้จะประมาทก็ไม่ต้องรับผิด เช่น หยิบร่มรีบร้อนไม่ดูให้ดีถ้าดูให้ดีจะรู้ว่าไม่ใช่ร่มตนเป็นประมาท แต่ไม่ต้องรับผิดเพราะการลักทรัพย์โดยประมาทกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าเป็นความผิด

รู้เท่าใดมีเจตนาเท่านั้น (มาตรา 62 ว.ท้าย)

มาตรา 62 ว. ท้าย “บุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใดบุคคลนั้นต้องรู้ข้อเท็จจริงนั้น”
ตัวอย่างแดงต้องการฆ่าดำที่เป็นศัตรูจึงไม่ดักยิงเมื่อขาวพ่อแดงเดินมาแดงคิดว่าดำจึงยิงขาวตายแดงต้องรับผิด?

- แดงต่อขาว แดงดักยิงผิด 2879 (4) แต่ไม่ต้องรับผิด 289(1) จะถือว่าผิดฐานฆ่าบุพการีไม่ได้เพราะ 62 ว.ท้าย บัญญัติว่าบุคคลนั้นต้องรู้ข้อเท็จจริงนั้น แดงไม่รู้ว่าเป็นการฆ่าพ่อ คิดว่าฆ่าศัตรูจะถือว่าแดงมีเจตนาฆ่าพ่อไปได้ ดังนั้น แดงต่อขาวคือ 289(4) + 59

แดงต่อดำ แดงไม่ต้องรับผิดใด ๆ ต่อดำ เพราะเจตนาที่แดงมีต่อดำในตอนแรกได้เปลี่ยนไปที่ขาวที่
ถูกยิงจนหมดสิ้นแล้ว เป็นเรื่องสำคัญผิดในตัวบุคคล ไม่ใช่การกระทำโดยพลาด

รู้เท่าใดมีเจตนาเท่านั้น แต่ไม่เกินความจริง

รู้ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดแต่ละฐาน
ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าขาวจึงเป็นพ่อในความมืดเห็นดำเดินมาคิดว่าเป็นขาว จึงยิง-ดำตาย แดงผิด?

- แดงต่อดำ 289(4) เพราะดักซุ่มยิงตั้งแต่แรก เจตนาตาม 59 จะยกความสำคัญผิดขึ้นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่มีเจตนาไม่ได้ ตาม ม.61 เพราะฉะนั้น แดงต่อดำ 289 (4) + 59 + 61 ไม่มี 289(1) เพราะว่าคนที่ถูกยิงไม่ใช่พ่อ คิดว่ายิงพ่อจะรับผิดฐานฆ่าพ่อไม่ได้

สรุป หลักเรื่องรู้

ไม่รู้ไม่มีเจตนา
รู้เท่าใดมีเจตนาเท่านั้น
รู้เท่าใดมีเจตนาเท่านั้น แต่ไม่เกินความจริง
* เจตนาประเภทประสงค์ต่อผล ทางตำราเรียกว่า “เจตนาโดยตรง” ประสงค์ต่อผลหมายความว่ามุ่งหมายจะให้เกิดผล ถ้าเกิดผลก็เป็นความผิดสำเร็จ ถ้าผลไม่เกิดก็เป็นผิดพยายาม ตาม ม.80, 81 ก็ได้ความผิดอาญาสามารถแยกออกได้หลายประเภท แต่ทางตำราได้แยกออกคือความผิดที่ต้องมีผลปรากฏและความผิดที่ไม่ต้องมีผลปรากฏ

*อย่างไรจึงจะถือเป็นเจตนาฆ่า/อย่างไรเป็นเจตนาทำร้าย หลักคือ “กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” คือการกระทำของผู้กระทำที่แสดงออกมาภายนอกเป็นเครื่องชี้ถึงสภาพจิตใจของผู้กระทำว่ามีเจตนาอย่างไร

หลักทั่ว ๆ ไปคือ

พิจารณาจากอาวุธที่ใช้กระทำ
พิจารณาจากอวัยวะที่ถูกกระทำ
พิจารณาจากลักษณะของบาดแผลที่ถูกกระทำ
พิจารณาจากพฤติกรรมอื่น ๆ
ในเรื่องอาวุธที่ใช้ในการกระทำ ถ้าอาวุธที่ใช้ในการกระทำ คือ ปืนถือว่ามีเจตนาฆ่าเสมอ

ฎ : 816/20 จล.วิ่งเข้าชกด้วยมีดโกนชนิดใช้ในร้านตัดผมในลักษณะเฉี่ยวบาดถูกบริเวณคอ แผลยาว

10 CM. เป็นอวัยวะสำคัญแต่ไม่ถูกเส้นเลือดแดง ผู้เสียหายจึงไม่ตายแสดงว่ามีเจตนาฆ่าตาม 288+80 แม้ การที่ จล.เพียงชกต่อยแต่ จล.ย่อมเล็งเห็นว่ามีดโกนที่อยู่ในมือ จล.จะบาดคอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญถือว่ามีเจตนาฆ่า

ฎ : 1006/01 ยิงในระยะ 1 วา ถูกขาเหนือตาตุ่มกระดูกแตก ถ้าตั้งใจฆ่าก็คงยิงถูกที่สำคัญได้ แสดงว่าไม่มีเจตนาฆ่า ผิด 295

ฎ : 234/25 จล.ยิงไปที่พื้นในขณะผู้เสียหายกำลังเดินไปหาจล. และห่างแค่ 2 วา จล.เล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนอาจถูกผู้เสียหายได้ หากกระสุนถูกขา ผู้เสียหายบาดเจ็บต้องถือว่ามีเจตนาทำร้ายมิใช่แค่ยิงขู่

ฎ : 223/37 จล. ใช้ปืนยิงในระยะห่าง 5-6 วา หาก จล.ประสงค์จะเอาชีวิตคงเลือกยิงในตำแหน่งที่อาจทำให้ถึงตายได้โดยไม่ยากการที่ จล.ยิงในระดับต่ำถูกต้นขา ย่อมแสดงให้เห็นว่า จล.เขตนาแค่ทำร้ายร่างกายเท่านั้นจึงผิด 295

* เจตนาเล็งเห็นผล “เจตนาโดยอ้อม” คือเล็งเห็นว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน เท่าที่จิตใจของบุคคลในฐานะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้ ตัวอย่าง

ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดำ แดงใช้ปืนยิงดำซึ่งยืนติดกับขาวปืนที่ใช้เป็นปืนลูกซอง กระสุนถูกดำและแผ่กระจายไปถูกขาว ทั้งดำ+ขาว ตาย

- ความรับผิดชอบของแดงต่อดำ 288+59 เจตนาประสงค์ต่อผล

- ความรับผิดชอบของแดงต่อขาว 288+59 เจตนาประเภทเล็งเห็นผล


เพราะขาวยืนติดกับดำ ปืนที่ใช้เป็นลูกซองเล็งเห็นได้ว่าถ้ายิงไปที่ดำแล้วผลจะเกิดแก่ขาวอย่างแน่นอน ไม่ใช่พลาดเพราะพลาดจะต้องไม่เล็งเห็นผล

* ตัวอย่างฎีกาเรื่องเล็งเห็นผล *

~ ฎีกาเจตนาฆ่า

ฎ : 1270/26 จล.ขับรถบรรทุกลูกรังสูงเกินกำหนด พอเจอด่านตรวจ ตร.เป่าให้หยุดจล.กลัวถูกจับ

จึงไม่หยุด แต่กลับเร่งเครื่องพุ่งใส่ ตร.ที่ยืนอยู่ทางซ้ายแต่ ตร.กระโดดหลบทัน ดังนั้น จล.ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่า รถที่พุ่งใส่จะต้องชน จพง.ตร. ตายได้ จล.จึงผิด 289(2) + 80

ฎ : 2255/22 จล.ขับรถสิบล้อปิดทางไม่ให้รถที่ตามมาแซง เมื่อเห็นรถโดยสารสวนมาใกล้ จล.กลับหยุดรถ + หักหัวรถไปทางซ้าย รถที่ตามมาจึงต้องหักหลบขวาและชนกับรถที่สวนมาเป็นเหตุให้คนตาย ดังนี้ จล.เล็งเห็นผลว่าจะเกิดคนตาย จึงผิด 288 เจตนา เล็งเห็นผลตาม ม. 59

ฎ : 2720/28 จล.ผลัก ผู้เสียหายตกลงมาจากช่องเพดานโบสถ์ สูงจากพื้น 10 เมตร พื้นเป็นซีเมนต์หากตกลงมาศีรษะกระทบพื้นอาจถึงตายได้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บกระดูกสันหลังหักถ้ารักษาไม่ดีอาจพิการ ดังนี้ จล.ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงตายได้ จล.ผิด 288+80

ฎ : 2991/36 จล. ขับรถตามรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับไป จล.ใช้ M –16 ยิงยางรถหลายนัดแม้เจตนายิงยางเพื่อให้รถล้ม จล.ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนอาจถูกผู้เสียหายได้จึงเป็นเจตนาฆ่า

ฎ : 1748/38 จล.ถีบผู้ตายตกลงแม่น้ำตรงที่ลึกประมาณครึ่งตัว ของผู้ตาย + ใช้แผ่นซีเมนต์กว้าง 10” ยาว 10 ฟุต หนา 2” ทุ่มใส่ศีรษะของผู้ตายในระยะใกล้ ขณะที่ผู้ตายปีนขึ้นบนฝั่ง เป็นเหตุให้ผู้ตายหมดสติจมน้ำตาย จล.ย่อมเล็งเห็นได้ว่าการทุ่มแผ่นซีเมนต์จะทำให้ผู้ตายได้รับอันตรายถือว่ามีเจตนาได้ผิดเจตนาฆ่า

ฎ : 573/39 จับเด็ก 3 ขวบ โยนใส่แม่เด็กหลายครั้งจนหัวเด็กกระแทกตะกร้า กระดูกต้นคอเคลื่อน ย่อมเล็งเห็นได้ว่าอาจเป็นเหตุให้เด็กตายได้

ฎ : 363/40 ใช้ไขควงที่ฝนจนแหลมเป็นอาวุธแทงไปที่ร่างกายคนอื่นเพื่อให้ผิวหนังทะลุเล็งเห็นผลว่าจะทำให้ถึงตายได้

~ เจตนาทำร้าย

ฎ : 1334/10 จล.จะทำร้ายบุตรผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงเข้าไปขัดขวาง จล.ผลักผู้เสียหายล้มลง จล.ย่อม

เล็งเห็นผลว่า เมื่อผู้เสียหายล้มลงแล้วผู้เสียหายจะได้รับผลอย่างไร เมื่อผู้เสียหายบาดเจ็บจึงเป็นผลจากการกระทำของ จล.

ฎ : 3322/31 ผู้เสียหายเป็น ตร.เข้าตรวจค้นรถบรรทุกที่ จล.จับโดยโหนตัวขึ้นไปยืนบนบันไดรถ จล.กลับขับรถกระชากออกไป โดยเร็วและไม่ยอมหยุดรถ เจตนาให้ผู้เสียหายตกจากรถ ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ถือว่ามีเจตนาทำร้าย

ฎ : 2829/32 จล.จุดไฟเผาที่นอนชั้นล่างของบ้าน แต่มีผู้ดับได้ทันมีของเสียหาย 10 รายการ ไม่ปรากฏว่าตัวบ้านถูกเพลิงไหม้ คงมีแต่เขม่าดำจับติดอยู่ที่ผนังห้อง และกระดาษภาพที่ติดผนังบ้านไหม้ไปเท่านั้น จล.ผิด 281+82


สำคัญผิดในตัวบุคคล มาตรา 61
“ผู้ใดเจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่งแต่ได้กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิดผู้นั้นจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนาหาได้ไม่”

® หลักสำคัญ คือ กรณีที่วัตถุแห่งการกระทำที่ผู้กระทำตั้งใจกระทำและวัตถุแห่งการกระทำที่เกิดขึ้นจริง ๆ เป็นอันเดียวกัน จึงจะเป็นสำคัญผิดในตัวบุคคล เมื่อใดก็ตามเป็นสำคัญผิดในตัวบุคคลแล้วไม่ต้องรับผิดฐานพยายามต่อสิ่งที่ตนมุ่งกระทำต่อในตอนแรกไม่ต้องรับผิด

ตัวอย่าง แดงใช้ปืนยิงตอไม้คิดว่าเป็นดำ แดงต้องรับผิด?

- แดงเจตนาฆ่าดำ เห็นตอไม้คิดว่าดำ แดงต้องรับผิดต่อดำคือ 288+59+81 แดงกระทำโดยเจตนาต่อดำ เจตนาที่แสดงมีต่อดำยังอยู่ ตอไม้ไม่ได้รับเจตนาที่แดงมีต่อดำ เพราะแดงไม่ได้กระทำโดยเจตนาต่อตอไม้ แดงเจตนากระทำต่อดำ

- แดงต้องการฆ่าดำ แดงยิงไปที่ตอไม้คิดว่าเป็นดำ กระสุนถูกตอไม้แฉลบไปถูกขาวซึ่งอยู่ห่างออกไปขาวตาย แดงต้องรับผิด?

แดงต่อดำ 288+59+81 กระสุนแฉลบถูกไปถูกขาวตายเป็นพลาดต่อขาว 288+60
- แดงต้องการฆ่าดำในความมืดเห็นขาวเดินมาคิดว่าเป็นดำจึงใช้ปืนยิงไปกระสุนถูกขาวบาดเจ็บพลาดไปถูกเหลืองบาดเจ็บ ความรับผิดของแดง

® แดงต่อขาว 289(4) + 59 + 89 + 60

แดงต่อเหลือง เป็น 289(4) + 60+ 80

แดงต่อดำ ไม่ต้องรับผิดใด ๆ ต่อดำ เพราะเจตนาที่มีต่อดำในตอนแรกแดงได้กระทำต่อขาวแล้ว ความรับผิดได้โอนไปสู่ขาวแล้ว

- แดงต้องการฆ่าดำ เห็นขาวบิดาของแดงเดินมาคิดว่าเป็นคำใช้ปืนยิงขาวตาย ความรับผิดของแดงต่อ

ขาว?

® แดงต่อขาว 289(4) + 59 + 61 ไม่ผิด 289(1) เพราะหลักมีว่ารู้เท่าใดเจตนาเท่านั้นรู้ว่ากำลังกระทำต่อ

บุคคลธรรมดาแต่สำคัญผิดไปทำต่อบุพการี จะถือว่าเจตนาฆ่าบุพการีไม่ได้ ต้องอ้าง 62 ว.ท้ายด้วย

- แดงต้องการฆ่าดำ (บิดา) เห็นขาว (มารดา) เดินมาเข้าใจว่าเป็นดำแดงยิงขาว ขาวตาย แดงรับผิด?

® แดงต่อขาว 289(1) เพราะบุคคลที่มุ่งกระทำต่อกับบุคคลที่ได้รับผลร้ายจริง ๆ เป็นบุพการีด้วยแดงจึง

ผิด 289(12) + (4), 69, 61

สำคัญผิดในข้อเท็จจริง มาตรา 62
** 59 ว. 3 62 ว.แรก ต่างเป็นเรื่องของความเข้าใจผิดด้วยกันทั้งนั้น แต่ความเข้าใจผิดตาม 59 ว.3 เป็นความเข้าใจผิดที่ทำให้ผู้กระทำขาดเจตนา แต่ความเข้าใจผิดตาม 62 ว.แรก เป็นความเข้าใจผิดที่ทำให้ผู้กระทำซึ่งมีเจตนาแล้ว แต่ไม่มีความผิด ไม่ต้องรับโทษหรือได้รับโทษน้อยลง **

ตามมาตรา 62 วรรคแรก มี 3 ส่วน คือ

สำคัญผิดว่าเป็นข้อเท็จจริงซึ่งทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด มี 2 กรณี คือ
สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งทำให้ผู้กระทำมีอำนาจทำได้ ตาม ป. อาญา (เป็นกรณีป้องกันโดย
สำคัญผิด) คือสำคัญผิดว่ามีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อ กม.แต่ความจริงไม่มีภยันตราย

ฎ : 51/12 สามีนอนชั้นบน ภริยานอนชั้นล่างต่างคนต่างหลับแล้วต่อมาสุนัขเห่า ภริยาจึงตื่นไปแอบฝาห้องดูคนร้านที่ห้องนอนสามี สามีตื่นมาภายหลังมองเห็นคนที่ฝาห้องตะคุ้ม ๆ เข้าใจว่าเป็นคนร้ายในความมืดจึงหยิบมีดฟันไป 1 ครั้ง ภริยาตาย กรณีเป็นการฟ้องกันโดยสำคัญผิดพอสมควรแก่เหตุ

ฎ : 155/12 ตร.มีหมายค้น + จับ มา จับกุม จล.ที่บ้านซึ่งอยู่ในที่เปลี่ยวในเวลาวิกาลโดยได้ปีนบ้านและรื้อฝาบ้าน จล.ส่องไฟฉายเข้าไปในบ้าน จล.สำคัญผิดว่าโจรมาปล้นจึงยิง ตร.บาดเจ็บแม้ ตร.จะได้ตะโกนบอกว่าเป็น ตร.ก็ตาม โจรมาปล้นจึงยิง ตร.บาดเจ็บแม้ ตร.จะได้ตะโกนบอกว่าเป็น ตร.ก็ตาม แต่ จล.เคยถูกปล้นโดยคนร้ายปลอมเป็น ตร.มาก่อนพฤติการณ์ของ จล.มีลักษณะเป็นการป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ

** ความสำคัญผิดถ้าเกิดเพราะประมาทผู้กระทำต้องรับผิดฐานประมาท ถ้าความประมาทนั้นมี กม.บัญญัติไว้เป็นความผิด **

ตัวอย่าง แดงนำปืนเด็กเล่นขู่ล้อดำเล่น ดำไม่ดูให้ดีใช้ปืนของดำยิงแดงตาย ขณะดำใช้ปืนยิงแดง ดำมีเจตนาฆ่า 288+59+68+62 ว.แรก ปืนต่อปืนเป็นเรื่องป้องกันพอสมควรแก่เหตุ โดยสำคัญผิด จึงไม่มีความผิดแต่ถ้าพิจารณาถึงตามลำดับของเวลาก่อนที่ดำจะยิงดำไม่ดูให้ดีการไม่ดูให้ดีถือว่าประมาท ฉะนั้นดำต้องรับผิดต่อแดง 291+59 ว.4 + 62 ว. 2

สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งทำให้ผู้กระทำมีอำนาจที่จะกระทำได้ตาม กม.อื่น ๆ
- กม.แพ่ง ® 1336, 1337 / ก.ม.อาญามาตรา 358. (ฎ: 89/19)

- กม. วิอาญา ® เรื่องจับโดยสำคัญผิด

สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งทำให้ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ
ตัวอย่าง นายแดงลักทรัพย์ นางดำคิดว่าเป็นของนางขาวภรรยาของตน แดงมีเจตนาลักทรัพย์?
(ทรัพย์ = สร้อย)

® แดงหยิบสร้อยรู้ว่าเป็นทรัพย์ผู้อื่น ภรรยาก็เป็นผู้อื่นถือว่าแดงมีเจตนาลักทรัพย์ของดำเพราะว่าเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นตามหลัก 59 ว.3 และประสงค์ต่อผล ตาม 59 ว.2 เป็นเจตนาตาม 59+334 แดงจะยกเอาความสำคัญผิดว่าเป็นทรัพย์ภรรยาเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่มีเจตนาลักทรัพย์ไม่ได้ แต่เมื่อเข้าใจว่าสร้อยเป็นของภริยา ถ้าความจริงเป็นของภรรยา 71 ว.แรก ยกเว้นโทษ ป.อ.ถือตาม ความเข้าใจของผู้กระทำเป็นสำคัญ สรุป แดงผิด 334+59+61+71 ว. แรก + 62 ว.แรก

สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งทำให้ผู้กระทำได้รับโทษน้อยลง
ตัวอย่าง เรื่องบันดาลโทสะตาม(แนวฎีกาที่ 863/02) นายแดงขึ้นไปบนเรือนนายดำพบขาวภริยา

แดงอยู่คนเดียวจึงข่มเหงภริยานายดำ ภริยาดำร้องขึ้น แดงจึงหนีไป พอดีดำกลับมาถึงได้ยินเสียงภริยาร้อง และทราบเรื่องจากภริยาก็ตาม แดงไปเมื่อทันกันก็ทำร้ายแดง แดงตายเป็นการทำร้ายโดยมีเจตนาฆ่า ดำผิด 288 แต่การข่มเหงภริยาเท่ากับเป็นการข่มเหงสามี อ้างบันดาลโทษได้แม้ไม่ได้เป็นการข่มเหงสามีโดยตรง สรุปแดงผิด 288+59+72

การกระทำโดยพลาด มาตรา 60
มีหลักเกณฑ์ คือ

การกระทำโดยพลาดต้องมีผู้ถูกกระทำ 2 ฝ่ายขึ้นไป
ฝ่ายแรก ® ผู้เสียหายคนแรกที่ผู้กระทำประสงค์ต่อผล, เล็งเห็นผล

ฝ่ายที่ 2 ® ผู้เสียหายอีกคนที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น

ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดำ แดงใช้ปืนยิงดำ ดำหลบทัน กระสุนถูกระจกรถยนต์ของดำเสียหายพลาด?

ไม่เป็นพลาด เพราะแดงต่อดำ 288+59 ประสงค์ต่อผล +80 แต่กระสุนไปถูกกระจกรถยนต์ของดำ แดงไม่ประสงค์ให้กระจกรถแตกไม่เล็งเห็นผลไม่ใช่พลาด ถึงจะประมาทก็ไม่ต้องรับผิด เพราะทำให้เสียทรัพย์โดยประมาทไม่มี ก.ม.กำหนดเป็นความผิด
พลาดต้องไม่ใช่เรื่องเจตนาประสงค์ต่อผล, เจตนาเล็งเห็นผล
ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดำ แดงใช้ปืนลูกซองยิงดำ ดำยืนติดกับขาว กระสุนถูกดำตาย และแผ่กระจายไปถูกขาวตายด้วย แดงผิด?

® กรณี แดงต่อดำ 288+59 เจตนาประสงค์ต่อผล

แดงต่อขาว 288+59 เจตนาเล็งเห็นผล

การที่ผลเกิดแก่ผู้ซึ่งได้รับผลร้ายไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้กระทำจะประมาทหรือไม่
เจตนาต่อสิ่งหนึ่งผลเกิดแก่อีกสิ่ง เช่น เจตนาต่อชีวิตผลเกิดแก่ทรัพย์ไม่ใช่พลาด ตามหลัก ก.ม.
อาญาทั่วไปว่า “ไม่รู้ก็ไม่พลาด รู้เท่าไรก็พลาดเท่านั้น” คือ มาตรา 60 นี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่ากระทำต้องรู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานนั้นมาก่อน

ถ้ากระทำโดยเจตนาต่อทรัพย์ของบุคคลหนึ่งผลเกิดแก่ทรัพย์ของอีกบุคคลหนึ่งก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยพลาดตาม ม.60 เช่นเดียวกัน
แม้ผลจะเกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายแรกสมเจตนาแล้ว หากผลเกิดแก่ผู้เสียหายอีกฝ่ายหนึ่งถือเป็นการกระทำโดยพลาด
การกระทำโดยพลาดจะต้องมีผลเกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายที่ 2 ถ้าไม่เกิดก็ไม่เป็นพลาด
พลาดเป็นเรื่องเจตนาโอน
ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดำ แดงใช้ปืนยิงดำไม่ถูกดำ กระสุนพลาดไปถูกขาว บาดเจ็บสาหัสต้องตัดขาทิ้ง

แดงต่อขาวการที่ขาวบาดเจ็บต้องตัดขาทิ้งขึ้นอยู่กับว่าแดงทำอะไรต่อดำ เมื่อแดงมีเจตนาฆ่าต่อดำ เจตนาที่โอนไปยังขาวก็คือเจตนาฆ่า แม้ขาวเพียงได้รับอันตรายสาหัสก็ตาม แต่เมื่อเจตนาโอนแดงต่อขาวก็เป็น 288+60+80 หาใช่ 297 ไม่
9. ถ้าเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาประเภทไตร่ตรองไว้ก่อนเจตนาที่โอนไปก็เป็นเจตนาไตร่ตรองไว้

ก่อนเช่นกัน (การกระทำโดยพลาดถือเจตนาแรกเป็นหลัก)

การกระทำโดยพลาดเกิดได้หลายวิธี คือ
พลาดเพราะบุคคลที่ 3 ทำให้พลาด

ฎ: 651/13 จล.ชักปืนสั้นออกมาง้างนอกขึ้นจ้องจะยิง ส. ซ. พวกของ จล. เข้าปัดปืนให้เฉไปเสีย กระสุนที่ลั่นออกไปจึงไม่ถูก จ. พวกของ จล.ตาย ต้องรับผิดต่อ จ. 288+60

พลาดเพราะผู้เสียหายฝ่ายแรกทำให้พลาด
ตัวอย่าง แดงใช้ไม้ตีหัวดำ ดำหลบ แดงตีไม่ถูก แต่การที่ดำหลบทำให้ดำเซไปกระแทกถูกขาว ขาวเสียหลักล้มลงหัวฟาดพื้นตายเป็นพลาดต่อขาวเพราะผู้เสียหายฝ่ายแรกทำให้พลาด

® แดงต่อดำ 295+59+80

แดงต่อขาว 295+60+ ความตาย + ผลโดยตรง = 290

พลาดเพราะผู้เสียหายฝ่ายที่สอบเป็นผู้กระทำให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง
11. ถ้ากระทำต่อตนเองแต่ผลเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งไม่ใช่การกระทำโดยพลาด

12. จะเป็นพลาดได้การกระทำโดยเจตนาต่อบุคคลฝ่ายแรกต้องถึงขั้นที่เป็นความผิดเสียก่อน

13. การกระทำโดยพลาดถ้าผลไม่เกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายแรกผู้กระทำต้องรับผิดฐานพยายามตามหลักทั่วไป

14. เจตนาเท่านั้นที่สามารถโอนได้ตามหลัก ม.60 ไม่มีประมาทโอน

ประมาท มาตรา 59 วรรค 4
หลักของประมาทโดยสรุปคือ การกระทำโดยมิได้เจตนาแต่ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีความระมัดระวังตามวิสัย และพฤติการณ์ระดับความระมัดระวังนั้นไม่อยู่นิ่งตายตัวขึ้นและลงตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์

สรุปคือขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ

1. ภาวะ ® ขณะกระทำการนั้น ๆ
2. วิสัย ® สภาพภายในตัวผู้กระทำ
พฤติการณ์ ® สภาพภายนอกผู้กระทำ
ฎ : 104/94 จล.ขับรถยนต์รับคนโดยสารไปตามถนน ขณะนั้นมีการยิงกันเนื่องจากเกิดจลาจล จล.ขับรถหนีแม้จะเร็วจนถึงขนาดผิดกฎจราจรก็ได้รับยกเว้นโทษ การที่ผู้ตายวิ่งตัดหน้ารถยนต์ภายในระยะ 1 วา จล.เบรกไม่ทันทั้งที่เบรกดี รถจึงทับผู้ตายเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ใช่ประมาท เพราะพฤติการณ์ขณะนั้นมีการยิงกันเนื่องจากเกิดจลาจล จล.จึงจำเป็นต้องขับรถเร็ว จล.ไม่อาจใช้ความระมัดระวังได้ ถือว่า จล.ไม่ประมาท จล.ไม่ต้องรับผิด เพราะในภาวะ วิสัย และพฤติการณ์เช่นนั้นจล.ไม่อาจใช้ความระมัดระวังได้ดีกว่านั้น

ในการวินิจฉัยว่าผู้กระทำประมาทหรือไม่นั้น ต้องสมมติบุคคลขึ้นมาเปรียบเทียบ บุคคลที่สมมติมาเปรียบเทียบต้องมีทุกอย่างเหมือนกับผู้กระทำจะต้องเป็นบุคคลในภาวะวิสัยและพฤติการณ์อย่างเดียวกับผู้กระทำ เว้นแต่ความระมัดระวังเท่านั้น ที่จะต้องใช้ระดับของวิญญูชน จะให้เหมือนกับผู้กระทำไม่ได้
ฎ : 1563/21 คนโดยสารบนเรือตกน้ำ นายท้ายเรือถอยหลังไปช่วยทำให้ใบจักรฟันคนที่ตกน้ำตาย แทนที่จะโยนชูชีพลงไปช่วยตาม ข้อบังคับของการเดินเรือ กรณีถือว่านายท้ายเรือประมาทผิด 291

ฎ : 2483/28 ใช้อาวุธปืนขู่ผู้ตายมิให้ผู้ตายนำถ่านมาป้ายหน้า โดยผู้ขู่ไม่รู้ว่าอาวุธปืนนั้นมีกระสุนอยู่และทำปืนลั่นถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดถึงแก่ความตาย ต้องถือว่าผู้ทำปืนลั่นผิด 291

ฎ : 461/36 ไม่ได้เป็นแพทย์ แต่ฉีดยาและให้ผู้ตายกินยาปฏิชีวนะประเภทเบนทิซิลลินถือว่าประมาทเป็นเหตุให้คนตาย

+ ข้อสังเกตโดยทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับการกระทำโดยประมาท

โดยมากมักมีคำว่า “ไม่ทันระวังให้ดี,ไม่ดูให้ดี,ไม่สังเกตให้ดี, ถ้าดูให้ดีจะรู้”
ถ้าผู้กระทำได้กระทำโดยประมาท แม้อีกฝ่ายหนึ่งจะประมาทด้วยผู้กระทำก็ไม่พ้นความรับผิด
การกระทำโดยประมาทไม่มีการพยายามกระทำความผิดตาม 80 เพราะพยายามทำความผิดนั้นผู้กระทำจะต้องมีเจตนาเท่านั้น
การกระทำโดยประมาทไม่มีตัวการร่วมตาม 83 ไม่ใช่การใช้ให้กระทำตาม 84 ไม่มีผู้สนับสนุนตาม 86 เพราะจะเป็นตัวการผู้ใช้ผู้สนับสนุนได้ต้องทำโดยเจตนาเท่านั้น
ฎ : 1337/34 ผู้สนับสนุนในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดมีได้เฉพาะการสนับสนุนผู้ลงมือ กระทำความผิดโดยประมาทไม่มีตาม กม.เพราะผู้สนับสนุนต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลย่อมเล็งเห็นผลในการสนับสนุน

การไม่ควบคุมดูแลสัตว์ดุให้ดี ปล่อยให้ทำร้ายทำอันตรายแก่ผู้อื่นเจ้าของสัตว์จะต้องรับผิดฐานประมาทด้วย
งดเว้นตามมาตรา 59 วรรคท้าย
เกี่ยวกับความรู้ความสามารถ
® ถ้ามี แต่ไม่ใช้ เป็นประมาท

® ถ้าไม่มี แต่ไปใช้ เป็นเจตนาย่อมเล็งเห็นผล

8. การหยอกล้อ, ล้อเล่น

ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
ความผิดอาญาที่สามารถแยกผลออกจากการกระทำได้ เช่น 288, 297, 339 ว.ท้าย, 224 ว.1, ว.2

ในกรณีที่เป็นความผิดซึ่งสามารถแยกผลออกจากการกระทำได้นี้ เมื่อมีผลของการกระทำเกิดขึ้น ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลหรือไม่ มีหลักคือ

ถ้าผลนั้นเป็นผลโดยตรงผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลนั้น ถ้าผลนั้นไม่ใช่ผลโดยตรงผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลนั้น
ถ้าผลนั้นโดยตรงทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผลโดยตรงนั้นจะต้องเป็นผลธรรมดาด้วยถ้าเป็นผลผิดธรรมดา ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลที่ทำให้ตนต้องรับโทษหนักขึ้นนั้น
ถ้าผลโดยตรงนั้นไม่ใช่ผลที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น แต่เป็นผลที่เกิดจากเหตุแทรกแซง ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลายที่เกิดจากเหตุแทรกแซงนั้นก็ต่อเมื่อผลในบั้นปลายเกิดจากเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้ ถ้าวิญญูชนคาดหมายไม่ได้ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลายนั้น
* ผลโดยตรง (ผลตามทฤษฎีเงื่อนไข) หลักคือ ถ้าไม่มีการกระทำของ จล.ผลไม่เกิดถือว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของ จล. แม้จะต้องมีเหตุอื่น ๆ ประกอบด้วยในการที่ก่อให้เกิดผลนั้นขึ้นก็ตาม แต่ถ้าไม่มีการกระทำของ จล.ผลก็ยังเกิดอยู่นั่นเอง ถือว่าผลที่เกิดขึ้นไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของ จล.


ฎ : 1973/97 รถจักรยานยนต์ของ จล.ที่ 2 แล่นในช่องทางที่ 1 ห่างขอบถนนทางซ้าย 1 m ส่วน จล.ที่ 1 ขับมาในช่องทางที่ 2 ซึ่งอยู่ถัดไป จล.ที่ 2 ต้องการเลี้ยวซ้ายเข้าซอยจึงขับเฉียงเข้ามาขวางในทางรถ จล.ที่ 2 โดยกระชั้นชิด ผลคือรถทั้ง 2 คันชนกันและมีคนตาย จล.ที่ 2 คนเดียวที่ถูกฟ้อง 291 ศาลฎีกายกฟ้อง จล.ที่ 2 ฐาน 291 เหตุผลคือ แม้ว่า จล.ที่ 2 จะขับรถเร็วน้อยกว่าที่ขับอยู่ก็ต้องชนกันอยู่นั่นเอง ประมาทเพียงอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอที่จะทำให้ผู้กระทำต้องรับผิดตาม 291

* ถ้าผลโดยตรงทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นโดยตรงจะต้องเป็นผลธรรมดา หลักข้อนี้มาจาก มาตรา 63
ม. 63 “ถ้าผลของการกระทำความผิดใดทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นผลของการกระทำความผิดนั้นต้องเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้”

ผลธรรมดาคือ ผลตามทฤษฏีเหตุที่เหมาะสม

ผลธรรมดาคือ ผลที่วิญญูชนคาดเห็นความเป็นไปของผลนั้นได้

ตัวอย่าง แดงโกรธดำ เมื่อรู้ว่าดำเดินทางไปต่างประเทศ และปิดบ้านทิ้งไว้จึงเห็นเป็นโอกาสเหมาะสม แดงจึงลอบวางเพลิงบ้านดำ บ้านของดำติดไฟลุกไหม้กรณีถือว่าความผิดสำเร็จแดงผิด 218(1) เพราะการที่บ้านของดำติดไฟลุกไหม้เป็นผลโดยตรงจากการที่แดงเผา ไม่เผาก็ไม่ไหม้ แต่ผลที่เกิดขึ้นไม่มีเฉพาะบ้านไหม้ เมื่อตรวจดูห้องใต้ดินพบศพขาว ข้อเท็จจริงปรากฏว่าขาวได้รับมอบหมายให้มาเฝ้าบ้านและนอนอยู่ห้องใต้ดินในขณะที่แดงเผาโดยที่แดงไม่รู้ว่าขณะที่เผาบ้านในห้องใต้ดินมีขาวนอนอยู่ ความตายของขาวเป็นผลโดยตรงจากการที่แดงเผาบ้านดำ ไม่เผาบ้าน ไม่ไหม้ ไม่ไหม้ ไม่คลอก ไม่คลอกขาวไม่ตาย เผาบ้านผิด 218 (1) แต่เมื่อมีคนตายมี 224ว.แรก ซึ่งโทษหนักกว่า แดงต้องรับผิดตาม 224 ว.แรกหรือไม่

ความตายของขาวเป็นทั้งผลโดยตรงจากการที่แดงวางเพลิงเผาบ้านของดำอันเป็นความผิด 218(1) และเป็นผลธรรมดาตาม 63 ด้วยเหตุนี้แดงต้องรับผิดตาม 224 ว.แรก เพราะความตายของขาวเป็นทั้งผลโดยตรงและผลธรรมดา
* ถ้าผลโดยตรงนั้นไม่ใช่ผลที่ทำให้ผู้กระทำรับโทษหนักขึ้น แต่เป็นผลที่เกิดจากเหตุแทรกแซง ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลายที่เกิดจากเหตุแทรกแซงนั้นก็ต่อเมื่อผลในบั้นปลายเกิดจากเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้ ถ้าวิญญูชนคาดหมายไม่ได้ผู้กระทำ ก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลายนั้น
เหตุแทรกแซง คือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากการกระทำของผู้กระทำในตอนแรก \ ถ้าเป็นเหตุที่มีอยู่แล้วในขณะกระทำไม่ถือเป็นเหตุแทรกแซง
เหตุแทรกแซงจะต้องเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดผลในบั้นปลายเหตุแทรกแซง มีหลายกรณีคือ
เหตุแทรกแซงซึ่งเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า ลาพายุ น้ำท่วม โดยหลักต้องถือว่าคาดหมายไม่ได้ ถ้าคาดหมายได้ก็ต้องรับผิด
ฎ : 1548-49/31 จล.ใช้เหล็กแหลมแทงหน้าท้องของ จ. มีบาดแผลหน้าท้องทะลุเข้าช่องท้อง บาดแผลภายในทะลุลำไส้เล็ก 8 รูป เส้นเลือดใหญ่ในท้องขาด 2 เส้น เป็นบาดแผลฉกรรจ์ ผู้เสียหายได้รับการผ่าตัดหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายผ่าลำไส้ออกจาก ร.พ.ประมาณ 1 เดือน เมื่อกลับมาใหม่ปรากฏว่าตับอักเสบรุนแรงเกิดจาก การถ่ายเลือดหลายครั้งทำให้ติดเชื้อไวรัส ในที่สุดก็ตาย ความตายของผู้เสียหายเป็นผลโดยตรงจากการที่ จล.ใช้เหล็กแหลมแทงที่หน้าท้อง เชื้อไวรัส


ที่เข้าไปในร่างกายที่ทำให้ตับอักเสบ ถือเป็นเหตุแทรกแซง ที่คาดหมายได้เพราะเกิดหลังจากที่ถูกทำร้าย เหตุที่ตายไม่ได้ตายเพราะบาดแผลแต่ตายเพราะตับอักเสบมาจากการติดเชื้อตอนรับเลือด ดังนั้น จล.จึงต้องรับผิด

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่อาจเป็นการกระทำของผู้กระทำในตอนแรกเองหรือตัวจล.
เหตุแทรกแซงซึ่งเป็นการกระทำของผู้เสียหาย มีหลายกรณีดังนี้
ผู้เสียหายก่อให้เกิดผลในบั้นปลายขึ้น เพราะสัญชาตญาณที่จะหลีกเลี่ยงภยันตรายร้ายแรงที่ผู้กระทำก่อให้เกิดขึ้นในตอนแรกโดยประมาท
ฎ : 500/98 จล.ขับรถโดยประมาท ผู้ที่นั่งไปด้วยในรถกระโดดลงไปก่อนที่รถจะคว่ำจึงตาย จล.ต้องรับผิดในความตายด้วย

ผู้เสียหายก่อให้เกิดผลในบั้นปลายขึ้น
ฎ : 437/00 ใช้ขวานพกเล็ก ๆ ฟันท้ายทอย 1 ครั้ง มีบาดแผลเล็กน้อย ถูกฟันแล้วยังไปไหนมาไหนได้ตามลำพัง ถ้ารักษาตามวิชาแพทย์แผนปัจจุบันไม่มีทางถึงตายได้ แต่ปล่อยแผลไว้สกปรกเกิดเป็นหนองและเป็นพิษขึ้นตายภายใน 3 วัน ผู้ทำร้ายผิด 290

เหตุการณ์ซึ่งเป็นการกระทำของบุคคลที่ 3
บุคคลที่ 3 เข้ากระทำโดยประมาท
ตัวอย่าง แดงยิงดำถูกขาดำ แพทย์ใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดผ่าตัดกระสุนเชื้อโรคเข้าในร่างกายดำ ดำตาย แพทย์ผิดม.291 แดงซึ่งมีเจตนาฆ่าต้องรับผิด? ดำตายสมเจตนาแดงแต่ไม่ได้ตายเพราะกระสุน ตายเพราะแพทย์ผ่าตัดใช้อุปกรณ์ไม่สะอาด การกระทำของแพทย์เรียกว่าเป็นเหตุแทรกแซงเพราะเกิดหลังจากแดงยิงดำและเป็นเหตุให้ดำตาย และเป็นเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้ ดังนั้นแดงต้องรับผิดตาม 288 แพทย์รับผิด 291 พฤติกรรมของแพทย์ไม่ตัดผลคือความตายของดำออกจากการกระทำในตอนแรกของแดง

ผลในบั้นปลายเกิดจากการกระทำโดยเจตนาของบุคคลที่ 3
ฎ : 659/32 จล.ทำร้าย ก. มีเจตนาฆ่าหลังจาก ก.ถูกทำร้ายแล้วมีการนำตัว ก.ไป รพ.แพทย์รักษาเบื้องต้นโดยให้น้ำเกลือใส่ท่อช่วยหายใจผ่าตัดใส่ท่อระบายลมในโพรงปอดเพราะมีลมรั่ว แล้วใส่เครื่องช่วยหายใจแพทย์มีความเห็นว่า หากรักษาต่อไปมีโอกาสมีชีวิตรอดมากกว่าตาย แต่ญาติสงสารจึงทำให้การพยาบาลสิ้นสุดด้วยการแอบดึงเครื่องช่วยหายใจดึงท่อช่วยหายใจ แล้วพาผู้ตายกลับบ้าน ก.ตายในคืนนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายหาใช่เป็นผลจากการกระทำของ จล.ไม่ จล.จึงผิด 288+80

สรุป จากแนวฎีกาได้แนวบรรทัดฐานว่า “ถ้าผลในบั้นปลายเกิดจากการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย

ของบุคคลที่ 3 ผู้ก่อเหตุในตอนแรกไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลายนั้น”

เหตุยกเว้นความผิด
เรื่องความยินยอมยกเว้นความผิดได้ดุจเดียวกับเรื่องป้องกันความยินยอม มี 2 ประเภทคือ
ความยินยอมที่ทำให้การกระทำไม่เป็นความผิดเพราะถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอก
ฎ : 1376/22 การเอาบานประตูของผู้อื่นไปโดยผู้ครอบครองทรัพย์อนุญาตไม่เป็นการเอาทรัพย์ไปจากการครอบครองของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์

ฎ : 6207/41 ผู้เสียหายอนุญาตให้ จล.พาเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไป จล.ไม่ผิด 317 ว.แรก ไม่ผิดเพราะไม่เป็นการพรากเนื่องจากอนุญาตให้พาไป

เป็นความยินยอมที่ทำให้การกระทำซึ่งครบองค์ประกอบภายนอกและครบองค์ประกอบภายในแล้วทุกประการ ผู้กระทำไม่ต้องรับผิด
ตัวอย่าง แดงยอมให้หมอตัดขาก่อนหมอตัดขาได้ให้แดงเซ็น Book ให้ความยินยอมการกระทำของหมอครบองค์ความผิดทั้งภายใน + ภายนอกผิด 297 แต่เหตุที่หมอไม่ต้องรับผิดเพราะแดงให้ความยินยอมและความยินยอมนี้ที่แดงไห้ไว้เพื่อรักษาโรคเป็นเหตุยกเว้นความผิดตาม 297

ป้องกัน มีหลักเกณฑ์ 4 ข้อ คือ
มีภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อ กม.
ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง, ของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้น
กระทำโดยป้องกันสิทธิไม่เกินขอบเขต
I มีภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กม.

ภยันตราย หมายความถึงภัยที่เป็นความเสียหายต่อสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลเช่นสิทธิในร่างกาย ชีวิต เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน
การประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กม. ผู้ก่อภัยไม่มีอำนาจตามกม.ที่จะกระทำได้
ฎ : 378/79 การทำชู้กับภริยาผู้อื่น การที่ภริยามีชู้ถือว่าเป็นการเสื่อมเสียเกียรติยศของสามี อย่างร้ายแรง เมื่อสามีฆ่าภริยาและชู้ขณะร่วมประเวณีถือว่าเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

ฎ : 29/87 ใช้ไม่ซางยิงไก่ ที่เข้ามากินผักในสวนไก่ตายป้องกันได้แต่เกินสมควรแก่เหตุ

ผู้ที่จะอ้างป้องกันได้ต้องไม่มีส่วนผิดในการก่อให้เกิดภยันตรายนั้น
ฎ : 2154/19 จล.กับพวกก่อเหตุขึ้นก่อนด้วยการชก ก. แล้ววิ่งหนี ก.ไล่ตามต่อเนื่องไปไม่ขาดตอน จล.หันกลับมายิง ก. จล.อ้างป้องกันไม่ได้

ผู้สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กันก็หมดสิทธิอ้างป้องกัน
ฎ : 2322/22 จล.โต้เถียงกัน ก. และสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กัน ก.มีมีดในมือจะแทง จล. จล. จึงยิง ก.ตาย จล.อ้างป้องกันไม่ได้

แต่ถ้าข้อเท็จจริงเพียงโต้เถียงกันมิได้สมัครใจทำร้ายร่างกายกันอ้างป้องกันได้
ฎ : 528/26 จล. และ ก โต้เถียงกัน การโต้เถียงกันหาใช่เป็นการสมัครใจทำร้ายซึ่งกันและกัน การที่ ก.ใช้ขวานฟัน จล. จึงเป็นภยันตรายอันละเมิดต่อ กม.เป็นภยันตรายที่ใกล้จะ ถึง จล.ใช้มีดแทง ก. ครั้ง จล.อ้างป้องกันได้กรณีสมัครใจวิวาทอ้างป้องกันไม่ได้ ถ้ามีการพลาดไปถูกบุคคลที่ 3 จะอ้างป้องกันไม่ได้เช่นเดียวกัน

ถ้าสมัครใจวิวาทกันนั้นขาดตอนลงแล้วสิทธิในการป้องกันก็กลับคืนมา
ฎ : 1271/13 จล.กับ ก. และคนอื่นอีก 2 คน ร่วมดื่มสุรา จนมึนเมาเกิดทะเลาะวิวาทกัน จล.ถูกตีหัวแตกและ จล.ก็ตี ก. แล้ววิ่งหนีไปได้ 6-7 m แล้วหันมาใช้ปืนยิง ก. ซึ่งถือขวดโซดาตามออกมา การที่ จล.ยิง ก.จะอ้างว่าป้องกันไม่ได้ เพราะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการสมัครใจทำร้ายกันในร้านยังไม่ขาดตอน

I I ภยันตรายนั้นต้องใกล้จะถึงถึงจะอ้างป้องกันได้ ภยันตรายที่ใกล้จะถึงนั้นไม่จำเป็นต้องถึงขั้นที่ เป็นความผิด

ฎ : 2285/28 ก. พูดขอแบ่งวัว กับ จล. จล.ไม่แบ่งให้ชวนให้ไปตกลงที่บ้าน ผญบ, บ้านกำนัน แต่ ก.ไม่ยอม ก.กลับชักปืนออกมา จล.ย่อมเข้าใจว่า ก.จะใช้ปืนยิง จล. จึงเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การที่ จล.ใช้ปืนยิง ก.ไป 1 นัดเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

ช่วงเวลาในการใช้สิทธิป้องกันเริ่มตั้งแต่เมื่อภยันตรายใกล้จะถึงรวดตลอดถึงระยะเวลาที่ภยันตรายนั้นได้มาถึงตัวผู้รับภัยแล้ก่อนที่ภยันตรายจะสิ้นสุดลง
ฎ : 943/08 คนร้ายจูงควายออกจากใต้ถุนเรือนไป คนร้ายมีปืน จล.ร้องถาม คนร้ายหันปืนมาทาง จล. ถ้า จล.ไม่ยิงคนร้ายก็พากระบือไปได้ จล.อ้างป้องกันได้ ความผิด 334 สำเร็จ แล้วเพราะจูงควายออกไปแล้ว

ฎ : 729/41 จล.ทำร้ายผู้เอาสร้อยคอของ จล.ไป เพื่อติดตามเอาคืนในทันทีทันใด จล.อ้างป้องกันได้ แม้ขณะนั้นความผิดลักทรัพย์จะสำเร็จได้แล้วแต่ถ้าคนร้ายทิ้งทรัพย์ อาจเข้าครอบครองทรัพย์ได้ตามเดิม ถ้าเจ้าทรัพย์ได้คอยซุ่มรอดักดูคนร้ายเพื่อจะทำร้ายคนร้าย อ้างป้องกันไม่ได้

ผู้รับภัยไม่จำเป็นต้องหลบหนีภยันตรายนั้น คือ “หนีได้ ไม่หนีไม่หมด สิทธิป้องกัน”
ฎ : 94/92 จล.ถูกนายเล้งเหยียดหยามและข่มเหง ถ้าจะเอาแต่หนีก็จะแสดงความขลาด\ การที่ จล.ใช้สิทธิป้องกัน จล.จึงไม่มีความผิดอ้างป้องกันได้

I I I ผู้กระทำจะต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย นั้น

“เพื่อป้องกันสิทธิ” เป็นมูลเหตุจูงใจหรือเจตนาพิเศษในการยกเว้นความผิด จะอ้างป้องกันได้ต้องมีหลักคือ

ผู้กระทำจะต้องทำโดยเจตนา
จะต้องทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อป้องกันสิทธิ
*****ขาดสิ่งใดก็อ้างป้องกันไม่ได้******

IVการกระทำโดยป้องกันต้องไม่เกินขอบเขต ถ้าเกินขอบเขตอาจเป็นการเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำ เพื่อป้องกันทั้ง 2 กรณี ต่างกันอย่างไร

ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ มีหลัก 2 ข้อคือ
ผู้ป้องกันได้กระทำการป้องกันสิทธิด้วยวิถีทางน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นต้องทำ ® คือไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว ถ้ายังมีทางเลือกอื่นอยู่ต้องเลือกในทางที่เสียหายแก่ผู้ก่อภัยน้อยที่สุด

ฎ : 55/30 ผู้ตายบุกรุกเข้าไปฉุดบุตรสาวของ จล.ถึงในบ้าน จล.ซึ่งเป็นแม่เข้าขัดขวาง กลับถูกผู้ตายทำร้ายจนล้มลงและผู้ตายพาบุตรสาว จล.ออกจากบ้านไป จล.จึงใช้ปืนยิงผู้ตาย 4 นัด จล.ทำไปเพื่อช่วยเหลือบุตรของตนให้พ้นภยันตรายที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า และภยันตรายนั่นยังเกิดขึ้นต่อเนื่องกันอยู่ กรณีไม่มีทางเลือกอื่น \ การยิงเป็นมาตรการที่เหลืออยู่เพียงอย่างเดียวในการที่จะช่วยลูกสาวได้

4.1.2 การป้องกันต้องได้สัดส่วนกับภยันตรายจึงจะถือว่าพอสมควรแก่เหตุ

ฎ : 606/10 ผู้เสียหายเข้ามาชก จล.เมื่อ จล.ล้มลงผู้เสียหายเงื้อมีดจะไปแทง จล. จล.จึงใช้ปืนยิงถือว่าเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

ฎ : 2717/28 ผู้ตายถือมีดอยู่ห่าง จล. 2 วา จล.ด่วนยิงผู้ตายทั้งที่ผู้ตายยังไม่อยู่ ในลักษณะจะฟันทำร้าย ถือว่าเกินสมควรแก่เหตุ

ข้อสังเกตที่เกี่ยวกับเรื่องสัดส่วนของการกระทำโดยป้องกัน
ฎ : 1646/14 ผู้ตายเมาเข้าไปพูดต่อว่าพวกของ จล.และเป็นปากเสียงกัน จล.จึงเข้าไปจะดึงพวก จล.ขึ้นรถ ผู้ตายยกมือทำท่าจะต่อย จล. จล.จึงชกไป 1 ที ถูกผู้ตายล้มลงสลบถึงแก่ความตาย กรณีเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ชกต่อชก ได้สัดส่วน แม้ผู้ก่อภัย จะถูกชกล้มลงหัวฟาดพื้นตายก็ตาม

ฎ : 617/63 ใช้มีดฟันคนร้ายมีแผล 2 แห่ง ถึงขนาดเป็นอันตรายสาหัส เป็นการป้องกันทรัพย์เกินกว่าเหตุ

ฎ : 729/41 ใช้มีดเป็นอาวุธแย่งสร้อยคอจากผู้เสียภายกลับคืนมาเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ถ้าเจ้าทรัพย์เอามีดทางคนร้ายตาย

ฎ : 1908/94 ถ้าเจ้าทรัพย์ใช้ปืนยิงคนร้ายโดยเจตนาฆ่าก็เกินสมควรแก่เหตุ

ป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน หมายความว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อป้องกันสิทธิต่อภยันตรายที่ยังอยู่ห่างไกลหรือภยันตรายที่ผ่านพ้นไปแล้ว
ฎ : 2066/33 จล.แทงผู้ตายในขณะที่หมดโอกาสทำร้าย จล.แล้วเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

เหตุยกเว้นโทษ
+ จำเป็น มาตรา 67

อนุมาตรา 1 ® จำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับ

อนุมาตรา 2 ® จำเป็นเพื่อให้พ้นภยันตราย

+ จำเป็น มาตรา 67(1) มีหลัก 4 ข้อคือ

อยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจ
ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้
ผู้กระทำจะต้องมิได้ก่อเหตุการณ์นั้นขึ้นด้วยความผิดของตน
กระทำไปไม่เกินขอบเขต

+ ข้อสังเกต คือ หลักที่ว่า หลักที่ว่าผู้กระทำจะต้องมิได้ก่อเหตุการณ์นั้นขึ้นด้วยความผิดของตนใน 67(2)ไม่มีหลักนี้ /67 (1) ก็ไม่มีหลักเหมือน 67(2) ที่ว่าตนจะต้องมีส่วนผิดในการก่อให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นแต่เป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวว่าถ้ากระทำก่อเหตุการณ์ขึ้นด้วยความผิดตนเองก็จะอ้างจำเป็นเพราะถูกบังคับไม่ได้ เพราะตนอาจหลีกเลี่ยงได้โดยไม่ก่อให้เกิดเหตุการณ์นั้นตั้งแต่แรก

ตัวอย่าง แดงยั่วยุให้ดำมาขู่ตนให้ไปทำร้ายขาว ดำทนยั่วยุไม่ไหวจึงขู่ทองให้ไปตีหัวขาว แดงอ้างจำเป็น 67(1) ไม่ได้ เพราะตนมีส่วนผิดในการยั่วยุดำ

การกระทำความผิดด้วยจำเป็นต้องทำไปโดยไม่เกินขอบเขตมีข้อสังเกตว่าสัดส่วนของการกระทำโดย
ป้องกัน/จำเป็นแตกต่างกันคือ ป้องกัน เป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัย

จำเป็น เป็นการกระทำต่อบุคคลที่ 3

+ จำเป็น ตาม ม. 67(2) มีหลัก 6 ข้อคือ

มีภยันตราย
ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
เป็นภยันตรายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้
ภยันตรายนั้นผู้กระทำความผิดด้วยความจำเป็นมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
ผู้กระทำได้กระทำไปเพื่อให้ตนเอง, ผู้อื่นพ้นภยันตราย
กระทำไปไม่เกินขอบเขต
ภยันตราย ถ้าเกิดจากการละเมิดของ กม.ทำต่อผู้ก่อภัยอ้างป้องกัน / ถ้าทำต่อบุคคลที่ 3 อ้างจำเป็น แต่ถ้าภยันตรายไม่ได้เกิดจากการละเมิด กม.ไม่ว่าทำต่อใคร อ้างได้เพียงแค่จำเป็นเท่านั้น
ประเด็นต่อไปคือภยันตรายที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ด้วยวิธีอื่นใดได้ ถ้ามีทางหลีกเลี่ยงได้แต่ไม่หลีกไปกระทำผิดจะอ้างจำเป็นไม่ได้
ฎ : 734/29 จล.ขุดหลุมบนไหล่ถนนสาธารณะเพื่อเป็นทางระบายน้ำจากที่นาของจล.เพื่อให้น้ำไหลลงคลองสาธารณะ จำเลยทำไปเพื่อไม่ให้น้ำท่วมต้นข้าวของ จล. เมื่อฝนจะตกมาก ผิด 360 จะอ้างจำเป็นตาม ม.67 (2) ไม่ได้ เพราะฝนยังไม่ได้ตกน้ำยังไม่ท้วม ภยันตรายยังอยู่ห่างไกลและแม้ว่าฝนจะตกน้ำจะท่วมต้นข้าว จล.ก็สามารถใช้เครื่องสูบน้ำออกจากนาได้ถือว่าเป็นภยันตรายที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่จำเป็นต้องขุดถนน

ภยันตรายนั้นผู้กระทำความผิดด้วยความจำเป็นจะต้องไม่ได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
จะอ้าง 67 ได้ต้องกระทำไปโดยไม่เกินขอบเขต ถ้าเกินเป็นเรื่อง 67+69 ขอบเขตของ 67(2) ต่างกับกรณีป้องกันเพราะสัดส่วนของเรื่อง 67(2) จะใช้หลักสัดส่วนเรื่องป้องกันไม่ได้
ฎ : 307/89 จล.ไปช่วยงานแต่งงาน มีคนไล่ทำร้าย จล. จล.วิ่งหนีไปทางห้องหอมีคนกั้นไม่ให้จล.เข้า จล.จึงใช้มีดแทงเขาตาย จล.อ้างจำเป็น ว่า จล.ถูกไล่ทำร้ายมีผู้กั้น จล.อาจใช้กำลังฝืนผ่านไปได้แต่ จล.แทงเขาตาย ถือว่าเป็นการกระทำโดยจำเป็นเกินสมควรกว่าเหตุ

เหตุลดโทษ
+ บันดาลโทสะ มาตรา 72 มีหลัก 3 ข้อ

ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
การที่ถูกข่มเหงเป็นเหตุให้ผู้กระทำบันดาลโทสะ
ผู้กระทำกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะบันดาลโทสะ
ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมดาจะไม่ถึงขึ้นผิด กม.ก็ได้
ฎ : 249/15 จล.เห็น ก.กำลังร่วมประเวณีกับภรรยาของ จล.ในห้องนอน แม้ภรรยา จล.จะไม่ใช่ภรรยาที่ถูกต้องตาม กม.แต่ก็อยู่กินกันมาถึง 13 ปี มีลูกหลายคน จล.ใช้มีดฟัน ก.2 ครั้ง แทงภรรยา 1 ครั้ง จล.ต้องอ้างบันดาลโทสะได้แต่จะอ้างป้องกันไม่ได้ เพราะจะอ้างป้องกัน ภยันตรายต้องเกิดจากการละเมิด กม.แต่ภรรยาเป็นภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน การที่หญิงไปร่วมประเวณีกับชายอื่น ก็ไม่มีการกระทำอันละเมิดต่อกม. จึงอ้างป้องกันไม่ได้

ผู้ที่ก่อเหตุขึ้นก่อน ถ้าอีกฝ่ายทำการโต้ตอบกลับมาจะถือว่าถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมไม่ได้
ฎ : 1776/18 จล.ก่อเหตุขึ้นก่อนด้วยการเปิดน้ำในนาของผู้ตายจนนาแห้งเพื่อนำน้ำเข้าไปใช้ในนาของ จล. ผู้ตายมาด่าและท้า จล. จล.ทำร้ายผู้ตายศาลฎีกาว่า จล.จะอ้างบันดาลโทสะไม่ได้เพราะ จล.เป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน

ผู้ที่สมัครใจวิวาทต่อสู้ทำร้ายซึ่งกันและกันจะกระทำการโต้ตอบอีกฝ่ายโดยอ้างว่าถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมไม่ได้
ฎ : 2322/22 คู่ความที่สมัครใจวิวาทกันอีกฝ่ายจะอ้างบันดาลโทสะไม่ได้อ้างป้องกันก็ไม่ได้

ฎ : 2457/15 อ้างจำเป็นก็ไม่ได้ เพราะ 67(2) ห้ามไม่ใช้อ้างเนื่องจากภยันตราย เกิดขึ้นด้วยความผิดของตน อ้างบันดาลโทสะก็ไม่ได้

ฎีกาเกี่ยวกับ การถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
ฎ : 3315/22 ผู้ตายเมาสุราใช้เท้าพาดหัว จล.ลูบเล่น จล.จึงทำร้าย จล.อ้างบันดาลโทสะได้

ฎ : 5736/39 ผู้ตายหาเรื่อง จล.ชี้หน้าด่า แม่ จล. จล.จึงทำร้าย อ้าง 72 ได้

ฎ : 518/00 ยิงบิดา ถือว่าข่มเหงบุตรด้วย

ฎ : 241/78 บุตรถูกทำร้ายถือว่าข่มเหงบิดาด้วย

ฎ : 1577/97 ที่ถูกทำร้ายถือว่าข่มเหงน้องด้วย

ฎ : 739/82 น้าถูกทำร้ายถือว่าข่มเหงหลานด้วย

ฎ : 1446/98 พ่อตาถูกถีบถือว่าข่มเหงบุตรเขยด้วย

ฎ : 863/02 ทำอนาจารภรรยาถือว่าข่มเหงสามีเท่านั้นไม่เป็นการข่มเหงเพื่อนของสามี แม้จะเป็นเพื่อนสนิทของสามีก็ตาม

การข่มเหงเมื่อทราบเหตุข่มเหงแล้วต้องบันดาลโทสะทันที
ฎ : 147/83 แดงแทงดำบาดเจ็บดำรู้ตัวทันทีว่าถูกแทงมีแผลที่ปากแต่ดำยังไม่เกิดโทสะ ต่อมาเมื่อกลับถึงบ้านดำมาส่องกระจกดูเห็นปากแหว่งจึงเกิดโทสะและใช้มีดไล่ฟันแดง กรณีอ้างบันดาลโทสะไม่ได้เพราะจะอ้างได้ต้องอ้างขณะที่รู้ตัวว่าถูกแทงมีแผลที่ปากต้องอ้างตอนนั้นไม่ใช่มาอ้างตอนหลัง


ผู้กระทำ ได้กระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะบันดาลโทสะ คำว่าขณะบันดาลโทสะคือในระหว่างที่ยังบันดาลโทสะอยู่นั่นเอง
ฎ : 1260/23 ในขณะนั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นขณะเดียวกับการข่มเหงแต่ขอให้เป็นระยะเวลาที่ต่อเนื่องกระชั้นชิดในขณะที่มีโทสะรุนแรงอยู่ก็นับว่าเพียงพอแล้ว

การกระทำโดยบันดาลโทสะนั้นจะต้องเป็นการกระทำต่อผู้ข่มเหง ถ้ากระทำต่อผู้อื่น จะอ้างบันดาลโทสะไม่ได้ แต่ถ้ากรณีไม่พลาดอ้างบันดาล โทสะได้ถ้าพลาด อ้างบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน
ฎ : 1704/18 ถ้าขาวบุตรของแดงพัวพันอยู่ในที่เกิดเหตุในขณะแดงยิงดำ ขาวเป็นผู้ข่มเหงด้วย ฉะนั้นถ้ายิงขาวก็อ้างบันดาลโทสะได้

ถ้ากระทำต่อภัยที่ผ่านพ้นไปแล้วให้อ้างบันดาลโทสะจะอ้างป้องกันไม่ได้
ฎ : 1092/31 ผู้เสียหายไม่พอใจและโต้เถียงกับ จล.ในเรื่องที่ จล.ชักชวนผู้อื่นไปเล่นไพ่ที่บ้าน จล.และใช้สันมีดตีหัว จล.ก่อน จล.แย่งมีดจากผู้เสียหายได้ ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายมีท่าที่จะทำร้าย จล.อีกแสดงว่าภยันตรายที่ จล.ได้รับนั้นผ่านพ้นไปแล้วและไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึงเกิดขึ้นอีก การที่ จล.ใช้มีดฟันผู้เสียหาย 4 แห่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการป้องกัน แต่การที่ผู้เสียหายไม่พอใจ จล.ใช้มัดตีหัว จล.ก่อน ถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เมื่อ จล.แย่งมีดมาฟันผู้เสียหาย จล.จึงอ้างบันดาลโทสะได้

# # ข้อแตกต่างระหว่างป้องกัน/จำเป็น

ป้องกัน – กม.ถือว่าผู้กระทำไม่มีความผิด
จำเป็น - ผู้กระทำมีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ

หากภยันตรายเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อ กม.แล้ว
ป้องกัน – กระทำต่อผู้ก่อภัย

จำเป็น – กระทำต่อบุคคลที่ 3

หากภยันตรายไม่ได้เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กม.แล้ว ไม่ว่าจะกระทำต่อผู้ก่อภัย , บุคคลที่ 3 ก็เป็นการกระทำโดยจำเป็น
หากภยันตรายไม่ได้เกิดจากกาประทุษร้ายอันละมิดต่อ กม.แต่สำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าภยันตรายเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กม. และกระทำต่อผู้ก่อภยันตรายนั้น อ้างป้องกันโดยสำคัญผิด
ตัวอย่าง แดงละเมอจะยิงดำ ดำไม่รู้ว่าแดงละเมอ ดำยิงแดงดำอ้างป้องกันโดยสำคัญผิด

การกระทำโดยป้องกันนั้น- หากเป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัยซึ่งก่อภัยโดยการละเมิด กม.แล้ว แม้ผลจะเกิดแก่บุคคลที่ 3 ก็อ้างป้องกันต่อบุคคลที่ 3 ได้
ตัวอย่าง แดงจะยิงดำ ดำป้องกันโดยยิงแดง ถือว่าดำป้องกันแล้ว หากว่าแดงหลบทันกระสุนพลาดไปถูก ขาวตาย คำผิด 288+60 แต่อ้างป้องกันได้

กรณีจำเป็น -

ตัวอย่าง แดงจะยิงดำ แดงล็อคคอเหลืองไว้ ดำยิงแดง ดำอ้างป้องกันได้ แต่ดำต่อเหลือง ดำอ้างป้องกันไม่ได้

เพราะเหลืองไม่ใช่ผู้ก่อภัย แต่แดงต้องยิงมาเพื่อให้ตนพ้นภยันตรายจากการที่จะถูกแดงยิง ดำจึงอ้างจำเป็นต่อเหลืองได้

การกระทำโดยป้องกัน ผู้กระทำต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อ “ป้องกันสิทธิ”
การกระทำโดยจำเป็น 67(1) เจตนาพิเศษคือเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ส่วน 67(2) เจตนาพิเศษคือ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นภยันตราย

การกระทำโดยป้องกันหากป้องกันสิทธิผู้อื่นจะต้องเป็น กรณีที่ผู้อื่นมีสิทธิป้องกันตนเองได้อยู่แล้ว จึงจะมีการป้องกันแทนได้
การกระทำโดยป้องกัน เนื่องจากเป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัยอันละเมิด กม.ผู้กระทำจึงไม่จำต้องหลีกหนีภยันตรายนั้น
การกระทำโดยจำเป็น โดยหลักเป็นการกระทำต่อบุคคลที่ 3 ซึ่งไม่มีส่วนผิดในการก่อภัย ผู้กระทำต้องพยายามหลีกเลี่ยงให้พันภยันตรายโดยวิธีอื่นก่อน

สัดส่วนของการกระทำ
ป้องกัน – ภยันตรายและการกระทำตอบโต้ของผู้ป้องกันมีความร้ายแรงพอกัน ถือว่า พอสมควรแก่เหตุ

จำเป็น - โดยหลักเป็นการกระทำต่อบุคคลที่ 3 ซึ่งไม่มีส่วนผิดหากภยันตรายร้ายแรงพอกัน ต้องถือว่าเกินสัดส่วนและเกินสมควรแก่เหตุอย่างไรก็ตาม หากเป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัยซึ่งไม่ได้ละเมิดต่อ กม. อาจถือว่าได้สัดส่วนได้

# # ข้อแตกต่างและข้อเหมือนระหว่างป้องกัน/บันดาลโทสะ

ข้อแตกต่าง

ป้องกัน – ภยันตรายต้องเกิดจากการละเมิด กม.เท่านั้น
บันดาลโทสะ – “เหตุอันไม่เป็นธรรม” อาจเกิดจากการละเมิด กม.หรือไม่ก็ได้ แม้ไม่ถึงขั้นละเมิด กม. ก็อ้าง 72 ได้

ถ้าภยันตรายเกิดจากการละเมิด กม. หากมีการกระทำต่อภยันตรายที่ใกล้จะถึงหรือกำลังเกิดขึ้นอยู่ เป็นป้องกัน
ถ้ากระทำต่อภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกม.ที่ผ่านพ้นไปแล้ว เป็นบันดาลโทสะ

ป้องกันมีทั้งพอสมควรแก่เหตุตาม 68 และเกินสมควรแก่เหตุ 69 บันดาลโทสะไม่มี เนื่องจากเป็นเพียงเหตุลดโทษ
ป้องกันสิทธิผู้อื่น ตาม 68 จะเป็นใครก็ได้ แต่บันดาลโทสะจะถือเป็นการข่มเหงได้ ผู้ถูกข่มเหงโดยตรงจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดจึงจะอ้าง 72 ได้
ป้องกันเป็นเหตุยกเว้นโทษ / บันดาลโทสะเหตุลดโทษ
ข้อเหมือน

ป้องกันเป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัย
บันดาลโทสะเป็นการกระทำต่อผู้ข่มเหง


ผู้ที่ก่อภัยขึ้น, ผู้ที่วิวาทต่อสู้กัน จะกระทำต่ออีกฝ่ายโดยอ้างป้องกันไม่ได้ และก็อ้างบันดาลโทสะไม่ได้
ถ้าไม่พลาดอ้างป้องกันต่อผู้ก่อภัยได้ ถ้าพลาดก็อ้างต่อบุคคลที่ 3 ได้ บันดาลโทสะก็เช่นเดียวกัน
พยายาม
+ พยายามกระทำความผิด ม. 80 มีหลักเกณฑ์ 3 ข้อคือ

ผู้กระทำต้องมีเจตนากระทำความผิด
ฎ : 5/29 จล.ใช้ปืนจ้องไปทาง ก.เป็นเวลานาน 15 วินาที แต่ไม่ยิง ถ้า จล.มีเจตนาจะยิง ก.ก็ยิงได้ทันที การกระทำของ จล.จึงเป็นเพียงการจ้องปืนขู่เท่านั้น

- แต่ถ้าจ้องปืนขู่แล้วผู้เสียหายกลัว จล.ผิด 392 (ฎ: 1389/29, 6496/41)

ผู้กระทำต้องกระทำการเพื่อให้บรรลุตามเจตนาอันเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียม กล่าวคือ ถึงขั้นลงมือกระทำความผิดแล้ว
ฎ : 1203/91 คำว่าลงมือจะต้องเป็นการกระทำที่ได้กระทำจนใกล้ชิดกับผลสำเร็จอันพึงเห็นได้ประจักษ์แล้ว

* หลักความใกล้ชิดต่อผล และ ถ้าผู้กระทำได้กระทำขั้นสุดท้ายซึ่งจำต้องกระทำเพื่อให้ความผิดสำคัญถือว่าใกล้ชิดต่อผล

* ขั้นสุดท้ายของผู้กระทำ และ การกระทำสุดท้ายของ จล.

ฎ : 2143/36 เอายาเบื่อใส่โอ่งน้ำดื่มของผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายแต่ผู้เสียหายทรายก่อนจึงไม่ยอมดื่ม ผิด 289+80, 236

ตัวอย่าง การฆ่าขั้นสุดท้ายจริง ๆ คือ ลั่นไกปืน แต่เขยิบมาอีกนิด ก่อนลั่นไก คือการจ้องเล็งปืนก็ถือว่าเป็นการลงมือแล้ว

ศาลไทยถือว่า เล็งปืนเป็นพยายามฆ่า แต่ถ้าชักปืนออกมายังไม่ทันเล็งยังไม่เป็นพยายามฆ่า
ฎ : 7562/40 ศาลฎีกากล่าวว่าการกระทำของ จล.ทั้ง 2 ถือว่าได้เป็นการกระทำที่ล่วงไปถึงขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการทำธนบัตรของกลางไปแจกจ่ายให้แก่ผู้เลือกตั้งเป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จที่เกิดขี้นแล้ว

ฎ : 147/07, 1746/18, 1765/21, 556/02 แม้ไม่ได้ความว่าปืนขึ้นนกนิ้วอยู่ที่ปืนก็ตาม ถือว่าเป็นลงมือฆ่าแล้ว ถ้ามีเจตนาฆ่าเมื่อมีการจ้องหรือเล็งปืนไปยังผู้เสียหาย

ฎ : 1120/17 ชัดอาวุธปืนออกมาจากเอวและกระชากลูกเลื่อนเพื่อให้กระสุนเข้าลำกล้อง แต่ตร.วิ่งเข้ามาขวางมิให้จล.กระชากลูกเลื่อนได้และแย่งปืนจาก จล.ไป จึงยังไม่ผิด พยายามฆ่า

กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่ไม่บรรลุผล
ฎ : 1746/17 ยกปืนจ้องไปทางผู้เสียหายจะยิงแต่มีผู้มาห้ามไว้ทันเป็นพยายามฆ่าแล้ว

ฎ : 864/02 จล.ใช้ปืนยิงไปยังผู้เสียหายแล้วแต่กระสุนไปถูกผู้เสียหายถือว่ากระทำไปตลอดแล้วแต่ไม่บรรลุผล

+ พยายามซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ ม.81

ผู้กระทำต้องมีเจตนากระทำความผิด
ผู้กระทำจะต้องกระทำการเพื่อให้บรรลุผลตามเจตนาอันเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียม
ผู้กระทำ กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล
การกระทำนั้นไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ หรือเพราะเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ
+ ความแตกต่างของ 80/81 อยู่ตรงที่ว่า

การไม่บรรลุตาม 80
เกิดโดยบังเอิญ และอาจเกิดจากปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ อาจเกิดจากวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ หรืออาจจะเกิดจากเหตุอื่น ๆ เหตุใดก็ได้
การไม่บรรลุผลตาม 81จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่แท้เด็ดขาด และต้องเกิดจากปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำหรือวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อเท่านั้น
ฎ : 980/62 จล.ใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ 7 นัด ยิงผู้เสียหาย นัดแรกด้านอาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อม, บังเอิญมิฉะนั้น กระสุนต้องระเบิดออกอาจเกิดอันตรายแก่ผู้เสียหายได้ กรณี เข้า 80 ไม่ใช่ 81 เพราะหาเป็นการแน่แท้ว่าจะไม่สามารถกระทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลย

ฎ : 711/13, 783/13, 2036/19, 1623/27 ถ้าเป็นเรื่องกระสุนด้านเข้า มาตรา 80

ฎ : 4402/30 ขว้างระเบิดใส่ผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่า ลูกระเบิดไม่ระเบิดเพราะยังไม่ได้ถอดสลัก เข้า 80

ฎ : 1446/13 ใช้ปืนยิงไปที่ห้องที่ผู้เสียหายเคยนอน ผู้เสียหายรู้ตัวล่วงหน้าเลยหลบไปนอนอีกห้อง กรณีเข้า 80

ฎ : 980/02 ฆ่าคนโดยเจตนาฆ่า แต่ใช้ปืนซึ่งไม่รู้ว่าไม่มีลูกเล็งไปยังผู้เสียหายเข้า 81* ต้องไม่รู้ว่าไม่มีลูก ถ้ารู้อยู่แล้วว่าไม่มีลูกก็ไม่เป็นทั้ง 80, 81 เพราะไม่มีเจตนาฆ่า

ฎ : 589/29 เอาปืนแก๊ปที่ไม่มีแก๊ปยิงผู้เสียหายไม่รู้ว่าไม่มีแก๊ปเข้า 81

ฎ : 107/10} 1361/14} 281/17 ถ้าเป็นวัตถุระเบิดกำลังอ่อน/ลูกระเบิดกำลังอ่อนเป็นกรณี 81 + รวมถึงปืนกำลังอ่อนด้วย + เรื่องยับยั้งหรือกลับใจ ตาม ม.82 มีหลัก 4 ข้อ

ผู้กระทำจะต้องลงมือกระทำความผิดแล้ว
ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดำ แดงชักปืนมาจะยิงดำแต่แดงเกิดสงสารโยนปืนทิ้งไม่เข้า 82 เพราะเข้า 82 ต้องเล็งแล้วสงสาร

ความผิดที่กระทำยังไม่สำเร็จผล
ผู้กระทำยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอด, กระทำไปตลอดแล้วแต่กลับใจไม่ให้การกระทำบรรลุผล
กรณียับยั้งใช้กับการที่กระทำการไปไม่ตลอด
กรณีกลับใจแก้ไขใช้กับการที่กระทำไปตลอดแล้ว

ฎ : 508/29 จล. ท้าทายนายแดงให้มาสู้กันและวิ่งไล่แทงจนถึงหน้าบ้านแดงจึงหยุดไล่ ต่อมาจล.ถือปืนเมื่อใกล้ถึงตัวแดงก็จ้องปืนมายังแดงโดยนิ้วสอดเข้าในโกร่งไกปืน แดงวิ่งหนี แต่ จล.ไม่ได้วิ่งตาม กลับเอาปืนมาจ้องดำแทน ทั้งที่มีโอกาสยิงแดงได้จึงเป็นการยับยั้งเสียเองไปกระทำการให้ตลอดเมื่อ จล.จ้องปืนไปที่ดำ ดำบอกว่าไม่เกี่ยวเดินหลบไป จล.ก็เดินไปอีกทางโดยไม่ตามไปยิงดำทั้งที่มีโอกาสยิงจึงเป็นการยับยั้งเสียเอง

ฎ : 3688/41 จล.ใช้มีดแทง ก.หลายครั้งถือว่าเจตนาฆ่า จล.ได้กระทำผิดไปโดยตลอดแล้วการที่ จล.ไม่แทงซ้ำอีกและพาไปหาหมอ หาใช่เป็นการยับยั้งหรือการกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำบรรลุผล

4. การยับยั้ง, กลับใจ, แก้ไข ต้องเกิดขึ้นโดยความสมัครใจ เป็นเหตุให้การกระทำไม่บรรลุผล

ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ม.83, 84, 86
มีหลักเกณฑ์ข้อสังเกต คือ

กระทำโดยประมาท ไม่มีตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน
ถ้าใช้ให้กระทำผิดตาม 84 แต่ผู้ลงมือไม่กระทำผิดโดยประมาทถือว่าผู้ใช้ยังไม่ได้กระทำลง ผู้ใช้ระวางโทษ 1 ใน3
ตัวการ คือสมคบกันกระทำความผิดโดยมีการกระทำร่วมกัน มีเจตนาร่วมกัน
ผู้ใช้ คือ ผู้ที่ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดโดยผู้กระทำความผิดไม่มีเจตนาจะกระทำความผิดนั้น ๆ มาก่อน

ผู้สนับสนุน คือ ผู้ที่ช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งได้ตกลงใจกระทำความผิดนั้นอยู่แล้ว

ฎ : 3105/41 จล.ที่ 3 เป็นผู้วางแผนให้ จล.ที่ 2 กับพวกอีก 2 คนไปปล้นโดยไม่ปรากฏว่า จล.ที่ 2 กับพวกคิดจะปล้นอยู่ก่อนแล้วถือว่า จล.3 เป็นผู้ใช้

4. การใช้ตาม 84, ตัวการตาม 83 ในตัวของมันคือการช่วยเหลือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดอย่างหนึ่ง \ ผู้ใช้และตัวการในตัวมันคือผู้สนับสนุนแต่เมื่อเป็นผู้ใช้การเป็นผู้ใช้จะกลืนการเป็นตัวการ เมื่อเป็นผู้ใช้จะกลืนการเป็นผู้สนับสนุน

5. ผู้ใช้ผู้สนับสนุนที่กลายเป็นตัวการจะผิดตัวการเพียงอย่างเดียว การเป็นผู้ใช้, ผู้สนับสนุนเกลื่อนกลืนมารวมเป็นกรรมเดียวกับการเป็นตัวการ ฎ: 185/20

จะเป็นตัวการได้ต้องมี การกระทำร่วมกัน มีเจตนาร่วมกัน
การกระทำร่วมกันมีหลายรูปแบบคือ

การร่วมกระทำส่วนหนึ่งของการกระทำทั้งหมดที่รวมกันเป็นความผิดขึ้น
ฎ : 559/41 จล.ร่วมกับพี่ชายของจำเลยทำร้ายผู้ตาย จล.เป็นคนแทง พี่ชายเป็นคนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ทั้ง 2 เป็นตัวการร่วมกัน

การแบ่งหน้าที่กันทำ
การอยู่ร่วมหรือใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุในลักษณะที่พร้อมจะช่วยเหลือกันได้ทันทีก็ถือว่าเป็นตัวการร่วมกันการอยู่ร่วมในที่เกิดเหตุและก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด เช่น ร้องบอกว่าเอาให้ตาย ฎ : 1649/31 ตัดสินว่าเป็นตัวการ แต่ ฎ : 2457/36 ตัดสินว่าการร้องบอกเช่นตะโกนว่ายิงเลยเป็นผู้ใช้
ฎ : 4947/31 ถือว่าการร้องบอก “เอามันให้ตาย” เป็นเพียงผู้ใช้เพราะเพียงแต่ร้องบอกแต่ไม่ได้ร่วมในการทำร้ายด้วย



การกระทำร่วมกันสิ้นสุดลงเมื่อใด การเป็นตัวการก็ยุติลงเมื่อนั้น
ฎ : 1478/27 แดงทะเละวิวาทและชกต่อยกับดำ แต่สู้ไม่ได้จึงไปเรียกขาวกับเหลืองมาช่วย ขาวกับเหลืองรุมชกดำจนดำยอมแพ้แต่ขาวกับเหลืองยังคงใช้ไม้ตีดำต่อไป แดงเห็นว่าแรงไปจึงห้าม หลังจากนั้นดิ่งหนีเหลืองกับขาววิ่งไล่ตีดำจนตาย ขาวกับเหลืองผิด 290 แต่แดงผิด 295 เพราะการที่แดงเห็นว่าแรงไปจึงห้ามถือว่าเป็นการที่แดงยุติการเป็นตัวการร่วมกับขาวและเหลืองแล้ว

ถ้าผู้ร่วมกระทำบางคนกระทำเกินขอบเขตผู้ร่วมกระทำคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้รู้เห็นด้วยจะรับผิดอย่างตัวการ
หลักของมาตรา 84 ผู้ใช้
1. ผู้ใช้ต้องมีเจตนากระทำความผิด
2. ผู้ใช้ต้องมีเจตนาก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด
3. ผู้ถูกใช้ต้องมีเจตนากระทำความผิด

การใช้ตามมาตรา 84 คือการก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด การก่อคือการกระทำเป็นต้นเหตุให้ผู้อื่นตกลงใจกระทำผิด
จะเป็นผู้ใช้ในความผิดฐานใด จะต้องมีผู้ถูกใช้ในความผิดฐานนั้นเสียก่อน(การใช้ต้องถึงตัวผู้ลงมือ)
ถ้าผู้ลงมือกระทำความผิดตามมาตรา 81 ถือเสมือนว่าความผิดที่ใช้ยังไม่ได้กระทำลง
ถ้ามีการใช้ให้ทำร้ายร่างกายให้เกิดอันตรายสาหัส แต่ความผิดที่ใช้ยังไม่ได้กระทำลง ผู้ใช้ผิด 1/3 ของ 296
ถ้ามีการใช้หรือร่วมกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย แต่ผู้ลงมือต้องรับผิด 297 ผู้ใช้และตัวการรับผิด ฐานทำร้ายรับอันตราย สาหัสในฐานะเป็นผู้ใช้และตัวการด้วย ฎ : 313/29, 1014/35
ผู้สนับสนุน ตาม 86 จะมิได้ต้องมีการกระทำความผิดของผู้ลงมือเสียก่อน
จะเป็นผู้สนับสนุนได้ผู้ลงมือต้องได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือผู้ลงมือเสียก่อน
การสนับสนุนต้องกระทำ ก่อนหรือขณะกระทำความผิด
การสนับสนุนอาจจะกระทำโดยผู้ที่เร้าใจก็ได้
ฎ : 382/12 การพูดให้ผู้ลงมือเร้าใจมีกำลังใจกระทำ

ฎ : 757/28 การพาผู้หญิงมาให้เพื่อนข่มขืน แต่ขณะข่มขืนตนไม่อยู่ด้วย

ฎ : 5731/41 การช่วยเหลืออาจทำโดยการนัดหมายก็ได้

ผู้สนับสนุนต่างกับตัวการ ตรงที่ว่า ตัวการต้องมีการกระทำร่วมกันต้องมีเจตนาร่วมกัน

ที่มา : http://thaibar53.tripod.com/arya1.htm