บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อรวบรวมคำอธิบายกฎหมาย บทความทางกฎหมาย ข้อมูลข่าวสารต่างๆ และสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายไว้ใช้สำหรับการศึกษาวิชาทางกฎหมาย เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในผู้ศึกษาวิชากฎหมาย และบุคคลทั่วไป

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คำอธิบาย ถาม-ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
















กฎหมายรัฐธรรมนูญ

ความหมายของ “รัฐธรรมนูญ” (Constitution)

สังเกต คำว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” เป็นชื่อวิชาที่ศึกษารัฐธรรมนูญ (Constitution Law)

ส่วนคำว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นชื่อเฉพาะของกฎหมายประเภทหนึ่ง (Constitution)

เช่น ใช้คำว่า มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ อย่าใช้คำว่า มาตรา 6 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ความหมายอย่างกว้าง

หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชน (เน้นที่เนื้อหาสาระของกฎหมาย ครอบคลุมไปถึงรูปแบบของรัฐ,องค์กรที่ใช้อำนาจ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพ)

ความหมายอย่างแคบ

หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชนและกฎเกณฑ์อื่น ซึ่งบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มีการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา(เน้นที่รูปแบบที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร)

ถาม เวลาที่วินิจฉัย ว่าอะไรเป็นกฎหมายที่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ ใช้ความหมายอย่างกว้างหรือแคบ

ตอบ ใช้อย่างแคบ เป็นหลัก

เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

คำปรารภในรัฐธรรมนูญข้อความตอนท้ายของย่อหน้าที่ 2 มีความว่า “…สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีสาระสำคัญ เป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ใหประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมือง ให้มีเสรีภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยได้คำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ…”

คำปรารภเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็น เจตนารมณ์ของรัฐธรมนูญ ซึ่งจะช่วยในการตีความรัฐธรรมนูญในภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่มาตรา 1-336 อย่าตีความรัฐธรรมนูญสวนเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ

สรุป เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในภาพรวม

๑.ทำการเมืองให้เป็นการเมืองของพลเมือง โดยขยายสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และการมีส่วนร่วม

๒.ขจัดการทุจริตทุกประเภท

๓.ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

บทมาตราที่เกี่ยวข้องกับเจตนารมณ์ทั้ง 3 ประการ

1. - ขยายการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพ (หมวด 1 มาตรา 1-5 ,หมวด 3 และหมวด 4)

-ขยายการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการเมือง

-รับรู้ (มาตรา 58 พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540)

-แสดงความคิดเห็น (มาตรา 46,56,57,59)

-ตัดสินใจ (มาตรา 46,56,170)

-ตรวจสอบ (มาตรา 62,304)

2.ป้องกันการทุจริต ใช้ 2มาตรการเด็ด

-มาตราการที่ 1 ป้องกันก่อนเข้าสู่ตำเเหน่ง----à มาตราการการเลือกตั้ง ( มาตรา 68 )

-มาตราการที่ 2 ป้องกันเเละปราบปราม -----------à การเเสดงบัญชีทรัพย์สิน เเละหนี้สิน ตั้งเเต่มาตรา 291 ถึงมาตรา 296 , ดูมาตรา 39 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตพ.ศ 2542

3.ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ เเละประสิทธิภาพ มี 3 มาตรการ คือ

-การห้าม ส.ส เป็นรัฐมนตรี ( มาตรา 204, 118 ( 7) )

-มาตราการในรัฐธรรมนูญ มาตรา 173

-การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีทำยากกว่ารัฐมนตรี ( มาตรา 185)



ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

ขอบเขต

๑.เหตุที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

๒.ผลจากความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

๓.อำนาจสูงสุดในการก่อตั้งองค์กรทางการเมือง

๑.เหตุที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

เพราะรัฐธรรมนูญเป็นสัญญาประชาคม (เชิงอุดมการณ์ )
เพราะกระบวนการในการจัดทำรัฐธรรมนูญต่างจากกฎหมายธรรมดาที่รัฐสภาตราขึ้น ซึ่งการจัดรัฐธรรมนูญจะมีกระบวนการพิเศษ เช่น เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมไม่ทางตรงก็อ้อม (เชิงกระบวนการ)
เพราะอำนาจในการก่อตั้งองค์กรทางการเมืองเเละรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อำนาจออกกฎหมายธรรมดา เเต่เป็นอำนาจที่เป็นที่มาของรัฐธรรมนูญ , เป็นอำนาจที่สูงล้นพ้นไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือเเละผูกมัดได้ กล่าวง่ายๆ คือ เป็นผู้สร้างรัฐธรรมนูญ เเล้วรัฐธรรมนูญ ก็ไปจัดตั้งองค์กรทางการเมืองทุกองค์กรอีกลำดับหนึ่ง (เชิงที่มา)
เพราะรัฐธรรมนูญตัวก่อตั้งระบอบการเมืองเเละองค์กรทางการเมืองทุกองค์กรขึ้น ตลอดจน การรับรองเเละคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลเเละการจัดเเบ่งเเยกการใช้อำนาจอธิปไตย ( เชิงเนื้อหา)
๒.ผลจากความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

2.1 ผลตามมาตรา 6 ที่ว่า “ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ “

2.2 การเเก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญย่อมกระทำได้ยาก เเละต้องกระทำโดยวีธีการพิเศษยิ่งกว่ากฎหมายธรรมดา ( มาตรา 313)

รัฐธรรมนูญในฐานะที่มาสูงสุดของความชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 3 “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี เเละศาล ตามบทบัญญัติเเห่งรัฐธรรมนูญนี้ “

มาตรา 27 “ สิทธิเเละเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดเเจ้ง โดยปริยาย หรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครอง เเละผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล เเละองค์กรอื่นของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมายเเละตีความกฎหมายทั้งปวง”

หลัก - มาตรา 3 เเละ มาตรา 27 เเสดงให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญสร้างหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเเละความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำขององค์กรทุกองค์กรที่รัฐธรรมนูญตั้งขึ้นไม่ว่าจะเป็นประมุขของรัฐ องค์กรนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ หรือองค์กรอื่นๆ ทั้งปวงที่เป็นของรัฐ (รัฐธรรมนูญ ใช้บังคับระหว่างรัฐกับบุคคล หรือ ระหว่างรัฐกับรัฐ ไม่ใช้ ระหว่างบุคคลกับบุคคล )

ตัวอย่างหลักความชอบด้วยกฎหมายและกฎหมายขององค์กรนิติบัญญัติ

หลัก - องค์กรนิติบัญญัติต้องปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญเเละกฎหมายทั้งในเนื้อหาเเละรูปเเบบเเละกระบวนการ ของการใช้อำนาจ

เช่น มาตรา 6 คำว่า”บทบัญญัติ “ นั้นเเปลว่า เนื้อความ ดังนั้น เนื้อความของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติ คือ โดยพระมหากษัตริย์ โดยคำเเนะนำเเละยินยอมของรัฐสภา จะมีเนื้อความอันเป็นบทบัญญัติขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ เเละเรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลจะกระทำได้ก็เเต่โดยอาศัยบทบัญญัติเเห่งกฎหมาย (มาตรา 29 ) เเละจะนำเอาจารีตประเพณีไปจำกัดสิทธิของบุคคลไม่ได้

อะไร? เป็นบทบัญญัติเเห่งกฎหมาย

เนื่องจากหากไม่ใช่บทบัญญัติเเห่งกฎหมาย หลักคือ จะใช้มาตรา 262 หรือมาตรา 264 ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยไม่ได้

กฎหมายรัฐธรรมนูญตามความหมายของรัฐธรรมนูญ

เเยกพิจารณาได้ 2 กรณี คือ

กฎหมายตามนัยของมาตรา 6
ที่บัญญัติว่า “ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ “

หลัก - เเสดงให้เห็นว่า กฎหมายทุกชนิดทุกลำดับไม่ว่าจะเป็นกฎหมายใด หรือกฎ หรือระเบียบ ข้อบังคับใด ไม่ว่าจะมาจากองค์กรใดๆ ก็ตาม จะออกมาขัดหรือเเย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

กฎหมายตามนัยของมาตรา 262 เเละ 264
มาตรา 264 บัญญัติว่า “ ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายบังคับเเก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 เเละยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวเเละส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคำโต้เเย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่งไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง เเละไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดเเล้ว”

หลัก - “บทบัญญัติเเห่งกฎหมาย” ในมาตรา 264 หมายความเฉพาะบทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ออกหรือตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ เท่านั้น ได้เเก่

ตัวรัฐธรรมนูญเอง (มาตรา 6 )
พระราชบัญญัติเเละพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (มาตรา 92 , 93 )
พระราชกำหนด (มาตรา 218 วรรคเเรก , 220 )
กฎมนเฑียรว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ (มาตรา 22 )
ดังนั้น สิ่งอื่นนอกจากนี้ จึงมิใช่กฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญ เเต่เป็นกฎเกณฑ์เเห่งกฎหมายที่มีผลใช้บังคับได้เพราะออกโดยอำนาจเเห่งกฎหมาย เช่น มาตรา 221

จำเบื้องต้น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติองค์กรท้องถิ่น ซึ่งเป็นกฎหมายของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่กฎหมายในความหมายรัฐธรรมนูญ

สรุป -

หากมีกรณีพิพาทว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้พิจารณาว่า

๑.กฎหมายที่พิพาทนั้นมีศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติ หรือ ๒. ต่ำกว่าพระราชบัญญํติ
ถ้าเข้า ๑. ----------------------à เป็นอำนาจ ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยพิจารณา

ถ้าไม่เข้า๑. ------------------à ไม่เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยพิจารณา

ศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติ คือ

รัฐธรรมนูญ
กฎมณเฑียรบาล
พระราชบัญญัติเเละพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
พระราชกำหนด


ศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ คือ

พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง กฎทบวง ประกาศกระทรวง ประกาศทบวง
กฎเเละประกาศขององค์กรอื่นๆ
ระเบียบข้อบังคับ
กฎเกณฑ์เเห่งกฎหมายที่ออกโดยองค์กรกระจายอำนาจ
มติคณะรัฐมนตรี
หนังสือเวียนเเละเเนวทางที่ออกโดยผู้บังคับบัญชาในฝ่ายปกครอง
ตัวอย่างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

คำวินิจฉัยที่ 4/2542 ธนาคารฯ ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้พร้อมทั้งดอกเบี้ยของต้นเงิน จำเลยคดีนี้ต่อสู้ว่าประกาศธนาคารโจทก์ที่ออกตามความในประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารโจทก์ปฎิบัติเรื่องดอกเบี้ยเเละส่วนลดลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 มีข้อความขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ เเละขอให้ศาลจังหวัดสงขลาส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศธนาคารโจทก์ เป็นประกาศที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของธนาคารเเห่งประเทศไทย ดังนั้น ประกาศของธนาคารโจทก์ฉบับดังกล่าวจึงไม่ใช่ประกาศของทางราชการ เเละไม่ใช่บทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับวินิจฉัยให้ได้ ส่วนประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารโจทก์ปฎิบัติ เรื่องดอกเบี้ยเเละส่วนลด ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 เป็นการออกข้อกำหนดโดยผู้ว่าการธนาคารเเห่งประเทศไทย โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ 2505 มิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่ใช่บทบัญญัติเเห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 การที่ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทยดังกล่าว ซึ่งศาลยุติธรรมจะนำมาใช้บังคับเเก่คดี เป็นประกาศที่ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 หรือไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะรับวินิจฉัยให้ได้ ให้ยกคำร้อง

หมายเหตุ - คำวินิจฉัยนี้ เป็นคำวินิจฉัยที่สำคัญ เพราะเป็นบรรทัดฐานที่ศาลรัฐธรรมนูญนำมาอ้างในคำวินิจฉัยอื่นๆอีกมากต่อมา

คำวินิจฉัยที่ 5/2542 ศาลเเพ่งกรุงเทพใต้ส่งข้อโต้เเย้งของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซีย เรื่องการกำหนดดอกเบี้ย ประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ปฎิบัติในการกู้ยืมเงินเเละรับเงินจากประชาชน เเละพระราชบัญญํติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ 2523 ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้สถาบันการเงินเรียกอัตราดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ขัดต่อมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เป็นเรื่องความเสมอภาคของบุคคลเเละการไม่เลือกปฎิบัติ ศาลเเพ่งกรุงเทพใต้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ทั้งๆที่ ถ้าเป็นประกาศของสถาบันการเงินหรือประกาศเเห่งประเทศไทย ส่งไม่ได้ตามมาตรา 264 เเต่ปัญหาที่ว่า พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินขัด

รัฐธรรมนูญ ต้องส่ง

คำวินิจฉัยที่ 9/2542 ศาลจังหวัดหล่มสักส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า ประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฎิบัติในเรื่องดอกเบี้ยเเละส่วนลดลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 เป็นประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ 2505 ซึ่งเเก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ 2522 มาตรา 14 เเละพระราชบัญญัติดอกเบี้ยให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ 2523 ซึ่งเเก้ไขเพิ่งเติมโดยพระราชบัญญัติดอกเบี้ยให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ 2535 มาตรา 4 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 เเละมาตรา 30 หรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประเด็นเเรกในปัญหาที่ว่า ประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทยขัดต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ 2505 หรือไม่ ว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยว่า ประกาศที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจะขัดหรือฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นเอง ดังนั้นประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฎิบัติในเรื่องดอกเบี้ยเเละส่วนลดลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ขัดเเย้งต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ 2505 เเก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ 2522 หรือไม่นั้น เป็นปัญหาที่ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย

ส่วนประเด็นหนึ่งที่ว่า ประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทยที่ออกตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย ให้ยกคำร้องเพราะเคยวินิจฉัยเเล้วดังปรากฎตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2542

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องทำนองนี้ยังมีอีกมาก เช่น คำวินิจฉัยที่ 12 ถึง 35/2542 คำวินิจฉัยที่ 38 ถึง 40/2542 คำวินิจฉัยที่ 41/2542 คำวินิจฉัยที่ 42 ถึง 42/2542 ซึ่งอ้างคำวินิจฉัยที่ 4/2542 เเละ 5/2542

ลักษณะของศาลรัฐธรรมนูญ

มีลักษณะเป็นศาล ไม่เป็นองค์กรทางการเมือง ซึ่งมีลักษณะในการวินิจฉัยความเป็นศาลคือ
-เรื่องที่เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ ต้องมีข้อโต้เเย้ง

-เป็นเรื่องที่คู่กรณีหยิบยกขึ้น ศาลหยิบยกเองมิได้

-มีวิธีพิจารณาตามมาตราฐาน 5 ประการ ในมาตรา 269 วรรค 2

-คำวินิจฉัยมีผลผูกพัน

( ข้อสังเกต! คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ยกเว้นหลักผูกพันเฉพาะ คู่ความในคดีตามตามป.วิ.พ มาตรา 145 คือ ผูกพันทั้งหมด ยกเว้นเฉพาะคำพิพากษาอันถึงที่สุด )

ในเรื่องของการมีข้อโต้เเย้ง ส่วน ใหญ่เป็นเรื่องของกรณีตามรัฐธรรมนุญ มาตรา 266 *

มาตรา 266 “ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ให้องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภา เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย”

อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่โดยสรุป ดังนี้

วินิจฉัยในเรื่องปัญหาระหว่างองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญให้องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภา เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
"องค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ" หมายถึง องค์กรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 คือ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี เเละศาลต่างๆ กับองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ เเละกำหนดอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะในรัฐธรรมนูญ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการเเผ่นดินรัฐสภา คณะกรรมการป้องกันเเละปรามปราบการทุจริตเเห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ ซึ่งไม่รวมถึงองค์กรที่รัฐธรรมนูญให้จัดตั้งขึ้น

คำวินิจฉัยที่ 2/2541 รมต.มหาดไทยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอำนาจหน้าที่ของตำรวจชั้นผู้ใหญ่เกี่ยวกับการออกหมายค้น ตาม ป.วิ.อ มาตรา 92 วรรค 2 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 หมายถึง องค์กรที่มีบทบาทหนัาที่ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเเละรัฐธรรมนูญ มาตรา 201 วรรค 1 ได้กำหนดตัวบุคคลเเละอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศไว้ องค์กรฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า รมต. มหาดไทยหรือกระทรวงมหาดไทยเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานหนึ่งของฝ่ายบริหาร หาใช่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญเเต่อย่างใดไม่ กระทรวงมหาดไทยจึงไม่อาจร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาโดยอาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 266

คำวินิจฉัยที่ 4/2541 ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับวาระการดำรงตำเเหน่งของสมาชิกสภาเทศบาล ตามที่สมาคมสันติบาตเทศบาลเเห่งประเทศขอ โดยเนื่องมาจาก พ.ร.บ เทศบาล พ.ศ 2496 มาตรา 16 ให้สมาชิกสภาเทศบาลอยู่ในตำเเหน่งได้คราวละ 5 ปี เเต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 285 ให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี ซึ่งสมาคมสันนิบาตเทศบาลเเห่งประเทศไทย เห็นว่าต้องถือตาม พ.ร.บ เทศบาล พ.ศ 2496 มาตรา 16 แต่คณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่าต้องถือตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 285

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการเเผ่นดิน พ.ศ 2534 มาตรา 70 บัญญัติ ว่า “ ให้จัดระเบียบบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้ …….( 2) เทศบาล …” ดังนั้น เทศบาลจึงเป็นองค์กรส่วนท้องถิ่นตามหมวด 9 ของรัฐธรรมนูญ เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาเทศบาลว่า จะมีวาระตามที่กำหนดในมาตรา 16 วรรคหนึ่ง เเห่ง พ.ร.บ เทศบาล พ.ศ 2496 หรือวาระตามที่กำหนดในมาตรา 285 วรรค 5 เเห่งรัฐธรรมนูญ จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ เเละโดยที่ปัญหาดังกล่าวประธานรัฐสภาได้เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ จึงรับไว้พิจารณา พ.ร.บ เทศบาล พ.ศ 2496 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 285 วรรคห้า ไม่มีผลบังคับตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ

NOTE - 1) การส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 266 นั้น ต้องมีข้อโต้เเย้งเกิดขึ้น ไม่ใช่ กรณีที่เป็นเพียงข้อหารือหรือ ข้อสงสัยทางกฎหมาย ( คำวินิจฉัยที่ 8/2542 )

มาตรา 266 ไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการที่จะไม่รับเรื่องไว้พิจารณาเพราะไม่เป็นสาระเหมือนกับมาตรา 264

หลักเกณฑ์การควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญในส่วนของมาตรา 264

มาตรา 264 “ ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายบังคับเเก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้น ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 เเละยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับทบัญญัตินั้น ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว เเละส่งความเห็นเช่นว่านั้น ตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่าคำโต้เเย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง เเต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดเเล้ว “

หลักเกณฑ์โดยรวมของมาตรา 264

ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นบังคับเเก่คดี
ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้ง
มีข้อโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นขัดหรือเเย้งรัฐธรรมนูญ
ยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น
วิเคราะห์หลักเกณฑ์ได้ดังนี้

ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นบังคับเเก่คดี
เป็นบทกฎหมายที่ศาลจะใช้ในการวินิจฉัยคดี หรือ บทกฎหมายที่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทเเห่งคดี
คำวินิจฉัยที่ 3/2544 จำเลยที่ 3ในคดีอาญา ข้อหามีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรต่างประเทศปลอม อันตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมเเละข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า พ.ร.บ ราชทัณฑ์ พ.ศ 2479 มาตรา 4 (2) เเละมาตรา 14(1)-(5) ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ปฎิบัติต่อผู้ต้องขังที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดได้เช่นเดียวกับผู้ต้องขังที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดเเล้ว ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 4 มาตรา 30 เเละมาตรา 33 ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย จำเลยที่ 3 ถูกส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามเเดนกลับไปประเทศญี่ปุ่น

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเเล้วเห็นว่า เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้อยู่ประเทศไทย เนื่องจากส่งตัวไปยังประเทศญี่ปุ่นแล้ว การพิจารณาคำร้องจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อจำเลยที่ 3 ประกอบกับการที่ จำเลยที่ 3 อ้างว่า พ.ร.บ ราชทัณฑ์ พ.ศ 2479 มาตรา 4(2) เเละมาตรา 14( 1) –(5) ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 มาตรา 30 และมาตรา 33 นั้น ปรากฎว่าจำเลยที่ 3 ได้ถูกฟ้องในข้อหาร่วมกันมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรต่างประเทศปลอมเเละร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์ผู้อื่น ซึ่งเป็นความผิดตามมาตราประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น เมื่อศาลยุติธรรมมิได้ใช้ พ.ร. บ ราชทัณฑ์ พ.ศ 2479 บังคับเเก่คดีตามคำร้องนี้เเล้ว พ.ร.บ ราชทัณฑ์ พ.ศ 2479 มาตรา 4(2) เเละมาตรา 14(1) –(5) จึงมิใช่บทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับเเก่คดีตามคำร้องนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง

ต้องเป็นคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล กล่าวคือ ยังไม่ถึงที่สุด
คำพิพากษาฎีกาที่ 623/2543 คดีขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามเเดน เป็นเรื่องที่พนักงานอัยการขอให้ศาลมีคำสั่งให้ขังพันตำรวจตรีบัสลุล ฮูด้า ซึ่งต้องหาว่าฆ่าประธานาธิบดีบังคลาเทศ ไว้เพื่อดำเนินการส่งข้ามเเดนไปดำเนินคดีที่ประเทศบังคลาเทศ ตาม พ.ร.บ ส่งผู้ร้ายข้ามเเดน พ.ศ 2472 มาตรา 3,4,6,12,15 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามขอ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพาษายืน (คดีถึงที่สุดตามพ.ร.บ ส่งผู้ร้ายข้ามเเดน พ.ศ 2472 มาตรา 17 )

ในระหว่างรอการส่งตัวข้ามแดน จำเลยยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ พร้อมทั้งยื่นคำร้องว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ใช้บังคับเเก่จำเลยขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ศาลชั้นต้นยกคำร้องทั้งสองฉบับ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา เฉพาะในปัญหาว่า การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจรณาวินิจฉัยเป็นการมิชอบ

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง เเละวรรคท้าย “ ….แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การที่ศาลจะส่งความเห็นเช่นว่านั้นเพื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ต้องเป็นคดีที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จึงให้รอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว หาใช่กรณีคดีถึงที่สุดเเล้ว เเต่อย่างใดไม่ เเละหากคดีถึงที่สุดเเล้วย่อมไม่มีประโยชน์ ที่จะส่งคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป เพราะเเม้ส่งไปเเละศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้ ก็มิอาจกระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว คดีนี้ปรากฎว่า คดีได้ถึงที่สุดเเล้วตาม พ.ร.บ ส่งผู้ร้ายข้ามเเดน พ.ศ 2472 โดยจำเลยมิได้ร้องขอให้ศาล ส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงถือได้ว่า กรณีล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอ้างว่าคดีถึงที่สุด เพราะยังมีการร้องขอให้พิจารณาใหม่ ตามมาตรา 247 เเห่งรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย มาเป็นเหตุที่ทำให้เห็นว่าคดีของจำเลยยังคงได้รับการพิจารณาอยู่ในศาล เพื่อเป็นข้ออ้างว่าคดียังไม่ถึงที่สุด เเต่เเท้จริงเเล้ว คดีของจำเลยถึงที่สุด เหลือเพียงการส่งจำเลยข้ามเเดนเท่านั้น การยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีของจำเลยดังกล่าว หามีผลให้คดีถึงที่สุดแล้วกลับกลายเป็นคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอีกครั้งหนึ่งไม่ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

NOTE - มีคำวินิจฉัยที่ 34-53 /2543 ที่ศาลรับพิจารณาให้ เเม้คดีถึงที่สุด เเล้ว เเต่ยังมีกรณีข้อพิพาทเกิดขึ้นในชั้นบังคับคดี

ใช้ได้กับทุกชั้นศาล
คำวินิจฉัยที่ 11/2544 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานมีเฮโรอีนในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ 2522 มาตรา 15 วรรค สอง มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จำคุกคนละ 15 ปี จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า พ.ร.บ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ 2522 มาตรา 15 วรรค สอง บัญญัติว่า “ การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งเเต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย “ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเฮโรอีนในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 36.9 กรัม ไว้ในครอบครองเช่นนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเฮโรอีนดังกล่าวในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว จำเลยทั้งสองจะอ้างหรือนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามฟ้อง จำเลยทั้งสองฎีกา โดยในฎีกาโต้แย้งว่าพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ 2522 มาตรา 15 วรรค สอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 หรือไม่

คู่ความไม่มีอำนาจส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญได้เองโดยตรง (ให้ศาลเท่านั้น)
คำวินิจฉัยที่ 5/2541 เป็นคดีที่นางอุบล บุญญชโลธร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้วินิจฉัยว่า การที่พนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีไม่ยอมส่งเอกสารสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนเเละพนักงานอัยการในการสั่งฟ้องคดีนางอุบลในข้อหาบงการฆ่านายเเสงชัย สุนทรวัฒน์ ทั้งในส่วนที่อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาดไปเเล้ว กับในส่วนที่รื้อฟื้นสั่งฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 241 วรรคสี่ หรือไม่ กับขอให้วินิจฉัยว่าการที่ศาลจังหวัดนนทบุรีไม่ส่งปัญหาเดียวกันนี้ไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามคำขอของนางอุบลเป็นการชอบหรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง หมายความว่า ศาลเท่านั้น เป็นผู้ส่งความเห็นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย มิได้ให้สิทธิผู้ร้องหรือคู่กรณีเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้ เมื่อผู้ร้องไม่มีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเเล้วจึงไม่มีเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาว่าขัดหรือเเย้งต่อบทบัญญัติเเห่งมาตรา 241 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทยได้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่รับคำร้องไว้พิจารณา

สรุป

หลักเกณฑ์ที่ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นบังคับเเก่คดี

ต้องเป็นบทกฎหมายที่ศาลจะใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยคดี
คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล
ใช้กับทุกศาลเเละทุกชั้นศาล
คู่ความไม่มีสิทธิส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญได้เองโดยตรง
2.ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6
ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นเองโดยที่ไม่จำเป็นต้องให้มีบุคคลใดร้องขอ
คู่ความมีสิทธิโต้เเย้งได้ว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่มีข้อพิพาทนั้นขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งสามารถหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในเวลาใดๆ ก็ได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ( เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเเละศีลธรรมอันดีของประชาชน
อย่าลืมว่า ถ้าเป็นคดีที่อยู่ในศาลเเล้ว การส่งความเห็นหรือข้อโต้เเย้ง ศาลเท่านั้นที่มีอำนาจส่ง คู่ความจะส่งเองไม่ได้ ( คำวินิจฉัยที่ 5/2541 ) เเต่ถ้ายังไม่เป็นคดีกันที่ศาล อาจยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการเเผ่นดินรัฐสภาได้อีกทางหนึ่ง

เป็นบทบังคับศาลว่า เมื่อคู่ความโต้เเย้ง ศาลต้องส่ง เเม้ว่าศาลจะเห็นว่าไม่ขัดก็ตามเเละไม่ว่าศาลนั้นจะเป็นศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหารก็ตาม
ถ้าเป็นกรณีคำร้องเคลือบคลุมหรือไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 264 ศาลไม่จำต้องส่งให้ก็ได้
เป็นบรรทัดฐานที่ศาลยุติธรรมสร้างขึ้นมาเอง เเต่จำกัดเฉพาะคำร้องที่เคลือบคลุมหรือไม่เข้าองค์ประกอบของมาตรา 264 เท่านั้น
ผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามลำดับชั้นศาล ในคำสั่งของศาลที่ไม่รับคำร้องของตน หรืออาจยื่นคำร้องเข้ามาใหม่ โดยบรรยายคำร้องให้เข้าองค์ประกอบของมาตรา 264 ไม่ถือเป็นการร้องซ้ำ เพราะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี
เเม้ตัวบทมาตรา 264 วรรคสอง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจไม่รับคำโต้เเย้งที่ไม่เป็นสาระไว้พิจารณา เเต่ไม่ตัดอำนาจศาลยุติธรรมที่จะพิจารณาความถูกต้องของคำร้องก่อน
คำวินิจฉัยที่ 623/2543 เเม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคสองระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่าคำโต้เเย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่ง ที่ไม่เป็นสาระเเก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ตาม เเต่ในกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจปรับบทกฎหมายเเละตีความบทกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับบทกฎหมายว่า กฎหมายใดขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นเเละศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่รับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณา เพราะคดีถึงที่สุดเเล้ว ล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 264 วรรคหนึ่ง จึงเป็นอำนาจที่จะกระทำโดยชอบ ( มี ฎ. 8569/2542 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน )

สรุป

ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้ง

เป็นบทบังคับศาลเมื่อคู่ความโต้เเย้งศาลต้องสั่ง ไม่ว่าศาลจะเห็นว่าขัดหรือไม่ขัดก็ตาม
กรณีคำร้องเคลือบคลุมหรือไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 264 ศาลไม่จำต้องส่ง
มีข้อโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ถ้ามีข้อโต้เเย้งว่า กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่เข้ากรณี ม. 264
บทบัญญัติเเห่งกฎหมายตามมาตรา 264 มี 2 ประเภท คือ
-บทบัญญัติเเห่งกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ

-บทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้

ข้อโต้เเย้งว่า บทกฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ไม่อยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
การกระทำของบุคคลขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ ไม่อยู่ในกรณีมาตรา 264
คำวินิจฉัยที่ 909/2541 เป็นกรณีจำเลยในคดีเเพ่งที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ชำระหนี้เเก่โจทก์ ระว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการทำร้ายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลยเเละละเมิดสิทธิเสรีภาพของจำเลย เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ศาลฎีกามีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องมิใช่เป็นการโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264

หมายเหตุ - รวมถึงการกระทำของนิติบุคคล , คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลเองด้วย ที่ไม่อยู่ในกรณีตามมาตรา 264

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 11/2541 เป็นคดีจำเลยในคดีเเพ่ง เรื่อง พ.ร.บ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 2 ประเด็น ประเด็นเเรกอ้างว่า มีคำพิพากษาฎีกา 2 ฉบับ ผู้พิพากษาลงชื่อไม่ครบองค์คณะ เเม้ประธานศาลฎีกาจะบันทึกรับรองว่าผู้พิพากษานั้นได้ร่วมประชุมปรึกษาเป็นองค์คณะ เเละเเจ้งเหตุที่ไม่ได้ลงนามว่าไปดำรงตำเเหน่งที่อื่นบ้าง เกษียณอายุราชการบ้าง ก่อนที่จะลงนามในคำพิพากษา เเต่ประธานศาลฎีกาไม่ได้จดเเจ้งระบุข้อความให้ชัดเจนว่า “ เเละมีความเห็นพ้องด้วยคำพิพากษานั้น “ ตาม ป.วิ.พ มาตรา 141 วรรคสอง บังคับให้ต้องระบุไว้ด้วย คำพิพากษาทั้งสองฉบับดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 233 เเละประเด็นที่สองอ้างว่า ศาลจังหวัดนนทบุรีนำพ.ร.บ ควบคุมการเช่านา พ.ศ 2517 ซึ่งถูกยกเลิกเเล้วก่อนวันที่โจทก์ฟ้อง มาใช้บังคับเเก่คดี เป็นการไม่ปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 233

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประเด็นเเรกเป็นการโต้เเย้งการดำเนินการของศาลฎีกาว่าปฎิบัติไม่ถูกต้องตามป.วิ.พ มาตรา 141 วรรคสอง มิได้โต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ศาลใช้บังคับเเก่คดีคือ ป.วิ.พ มาตรา 141 วรรคสอง ว่าขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนประเด็นที่สองเป็นการโต้เเย้งว่า ศาลใช้กฎหมายฉบับที่ไม่ถูกต้อง มิได้เป็นการโต้เเย้งว่ากฎหมายนั้นขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกัน ทั้งสองกรณีจึงไม่เป็นการโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับเเก่คดีต้องด้วยมาตรา 6 ตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ให้ยกคำร้อง

คำวินิจฉัยที่ 9/2543 เป็นเรื่องจำเลยในคดีเเพ่ง ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า การที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) คิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัดในอัตราร้อยละ 18 ร้อยละ 19 ร้อยละ 20.25 เเละร้อยละ 21.50 ต่อปี โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ร้องเเละตัวเเทนผู้บริโภคเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 50 เเละมาตรา 57 หรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการขอให้พิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำของบุคคลหรือนิติบุคคล มิใช่พิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติเเห่งกฎหมายใดขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้ยกคำร้อง

ต้องยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น
ดู มาตรา 264 ประกอบ 268 ที่ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร
คำวินิจฉัยที่ 10/2542 ปัญหาว่า พ.ร.บ ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเมือง (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ 2535 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกอัตราดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยเเล้วในคำวินิจฉัยเเล้วในคำวินิจฉัยที่ 5/2541 จึงไม่รับวินิจฉัย

สรุป

ต้องยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น

1. เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร (ม. 268)

2.ไม่รวมถึงคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ

5.ผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญมาตรา 264 วรรคท้ายบัญญัติว่า “ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง เเต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด “ เเสดงว่า

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเสร็จเด็ดขาด
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีผลย้อนหลัง
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญใช้ได้ในคดีทั้งปวง
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่กระทบยกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดเเล้ว ( ดู มาตรา 147 ป.วิ.พ )
มีผลผูกพัน รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล เเละองค์กรอื่นของรัฐ ( ม. 268 )
คำพิพากษาฎีกา ที่ 623/2543 การที่ศาลจะส่งความเห็นว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือเเย้งกับรัฐธรรมนูญไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง นั้นต้องเป็นกรณีที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาล จึงให้รอการพิจารณาพิพากษาไว้ชั่วคราว หาใช่กรณีคดีถึงที่สุดเเล้วเเต่อย่างใดไม่ เพราะหากคดีถึงที่สุดเเล้วย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกต่อไป เเละเเม้ศาลจะรับวินิจฉัยให้ ก็มิอาจกระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาอันถึงที่สุดเเล้วตามมาตรา 264 วรรคท้าย

6.การดำเนินการของศาลที่จะส่งขอโต้เเย้งหรือความเห็น

รัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคท้าย บัญญัติให้ เมื่อศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับเเก่คดีขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว เเละส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย

สรุป - ศาลที่ส่งเรื่องจะต้องหยุดดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงไว้ ในระหว่างที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า บทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลก็จะใช้บทบัญญัตินั้นมิได้ เเต่ถ้าหากไม่ขัด จึงจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

ส่งเรื่อง---------------------------à stop ---ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย-------à 1. จบ

2. ดำเนินกระบวนการต่อไป



ตัวอย่างของบทบัญญัติที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าบทบัญญํติของกฎหมายตามความในมาตรา 264 และไม่รับวินิจฉัย

ประกาศธนาคารพานิชย์เเละบริษัทเงินทุนต่างๆ

ศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลที่ไม่รับวินิจฉัยทำนองเดียวกันว่า ประกาศดังกล่าวไม่ใช่ประกาศของทางราชการ เเละไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้ได้

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ธนาคารพานิชย์ปฎิบัติในเรื่องดอก
เบี้ยเเละส่วนลด , เรื่อง การกำหนดบริษัทเงินทุนปฎิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน เเละการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้

ศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลที่ไม่รับวินิจฉัยทำนองเดียวกันว่า ประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทยดังกล่าว เป็น

ประกาศที่ออกโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเเละมีผลใช้บังคับได้ เท่าที่อยู่ในขอบเขตอำนาจที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เเต่ประกาศดังกล่าวมิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติเเห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัย

ประกาศกระทรวงการคลัง

เช่น เรื่องอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากได้จากผู้กู้ยืม พ.ศ 2535

ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยโดยให้เหตุผลว่า ประกาศดังกล่าวออกโดยรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเเละโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย และมีผลบังคับได้เท่าที่อยู่ในขอบเขตอำนาจที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เเต่ประกาศดังกล่าวมิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติเเห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัย

ข้อบังคับหรือคำสั่งต่างๆ

เช่น ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ 2523 ข้อ 2.5 ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมตำรวจเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนเเละมีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับคดีได้ทุกคดี เเละคำสั่งเเต่งตั้งพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ซึ่งจำเลยโต้เเย้งว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 241 วรรคหนึ่ง

ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยโดยให้เหตุผลทำนองเดียวกันว่า เป็นคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเเละใช้บังคับได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายดังกล่าวให้อำนาจไว้ มิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามมาตรา 264

การตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ

รัฐธรรมนูญกำหนดการควบคุมอำนาจของรัฐ ดังนี้

การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินเเละหนี้สิน
คณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งกฎหมาย
การถอดถอนจากตำเเหน่ง
การดำเนินคดีอาญา กับผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง
คดีพิเศษในศาลรัฐธรรมนูญ

ศึกษาในส่วนของคดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ตามรัฐธรรมนูญเเยกออกเป็น 2 ประเภท คือ

คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาเเผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง
คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
( ในส่วนนี้จะกล่าวเฉพาะ ข้อ 1. )

คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาเเผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

1. คดีอาญา (มาตรา 308 , พ.ร.บ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางกรเมืองพ.ศ 2542 มาตรา 9 (1) ,(2) )

กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป. อาญา
กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ
2. คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของเเผ่นดิน

กรณีร่ำรวยผิดปกติ ( ม. 308 , พ.ร.บ ฯ มาตรา 9 (1) (2) )
กรณีมีทรัพย์สินขึ้นผิดปกติ ( ม. 291 , 294 วรรคสอง , พ.ร.บ ฯ มาตรา 9 (4)
ขยาย

ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หมายถึง ความผิดในประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 2 หมวด 2 ตั้งเเต่มาตรา 147- 166
ความผิดต่อตำเเหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น เช่น ความผิดตาม พ.ร.บ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
“ ร่ำรวยผิดปกติ “ หมายความว่า การมีทรัพย์สินมากผิดปกติหรือมีเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ หรือมีหนี้ลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฎิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ( พ.ร.บ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันเเละปรามปราบการทุจริต พ.ศ 2542 มาตรา 4 )
“ ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ “ หมยความว่า การที่มีทรัพย์สินในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินเเละหนี้สินที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่นเมื่อพ้นตำแหน่งมีการเปลี่ยนเเปลงไปจากบัญชีแสดงทรัพย์สินเเละหนี้สินที่ได้ยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่งในลักษณะที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือหนี้สินลดลงผิดปกติ ( พ.ร.บ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันเเละปรามปราบการทุจริตเเห่งชาติ มาตรา 4 )
NOTE - คดีที่กรรมการ ป.ป.ช ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อ หน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ก็อยู่ในอำนาจพิจารณาของศษลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นกัน

บุคคลที่อาจถูกดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

คดีอาญา

คดีร่ำรวยผิดปกติ

คดีทรัพย์สินเพิ่มผิดปกติ

นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี

รัฐมนตรี

รัฐมนตรี

รัฐมนตรี

ส.ส ,ส.ว

ส.ส,ส.ว

ส.ส,ส.ว

ข้าราชการการเมืองอื่น

ข้าราชการการเมืองอื่น

ข้าราชการการเมืองอื่น

ผู้ที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน( ม. 308,พ.ร.บฯม. 9(1)(2)

ผู้ที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน (ม. 308 , พ.ร.บ ฯม. 9(1)(2)

ผู้บริหารท้องถิ่นเเละสมาชิก สภาท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ( ม.291 , 294 )
http://thaibar53.tripod.com/const.htm

นิสิตนิติศาสตร์ มมส. รวมพลังขอแยกตัวเป็นคณะ

นิสิตนิติศาสตร์ มมส. รวมพลังขอแยกตัวเป็นคณะ
     
          เมื่อวันนที่ ( 5 มิ.ย.)  ที่บริเวณห้องโถงชั้น 2 อาคารวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ( มมส.)  มีนิสิตสาขาวิชานิติศาสตร์ กว่า 300 คน นำโดย นายวุฒิพงษ์ หอมหวน นิสิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สาขาวิชานิติศาสตร์ พากันรวมตัวแสดงพลังขอแยกสาขาวิชานิติศาสตร์ จัดตั้งเป็นคณะนิติศาสตร์  โดย  นายวุฒิพงษ์ ได้อ่านแถลงการณ์ ว่า คณะกรรมการนิสิตสาขานิติศาสตร์ทุกชั้นปี รวมทั้งนิสิตเก่าได้มีการหารือกันและมีความเห็นพร้องต้องการให้สาขาวิชานิติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันสังกัดวิทยาลัยการเมืองการปกครองแยกตัวออกเพื่อจัดตั้งเป็นคณะนิติศาสตร์เพราะจะเกิดผลดีในทุกๆด้านทั้งต่อตัวนิสิตและมหาวิทยาลัย เพื่อเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวนิติศาสตร์ ดังนั้นตัวแทนนิสิตทุกชั้นปีจึงมาร่วมชุมนุมกันในวันนี้เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้มีการแยกตัวสาขาวิชานิติศาสตร์ให้เดินหน้าจนประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหวัง ปัจจุบันนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครองทุกชั้นปี สาขาวิชานิติศาสตร์ มีมากกว่า 1 พันคน
          รศ.สีดา สอนศรี คณบดีวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มมส. ได้เดินทางมาพบนิสิตในบริเวณที่ชุมนุมพร้อมกับรับหนังสือข้อเรียกร้องจากนั้นได้กล่าวว่าไม่ได้ปิดกั้นการแยกตัวของคณะนิติศาสตร์พร้อมสนับสนุน แต่การจะแยกตัวออกไปได้มีหลายขั้นตอนจึงขอให้อาจารย์ทำโครงการเสนอมาที่ตนแล้วจะนำเสนอเรื่องต่อที่ประชุมผู้บริหารพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ส่วนระยะเวลาช้าหรือเร็วไม่สามารถบอกได้ และขออย่ามากดดันตนไม่ชอบ
http://www.dailynews.co.th/education/118153

คำอธิบายกฎหมายหลักทั่วไป

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
๑. กฎหมาย คืออะไร
ความหมายของกฎหมาย กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ
รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะ
ด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง)
โทษ สำหรับโทษจะมีโทษทางอาญา กับโทษทางแพ่ง โทษทางอาญามี ๕ ขั้น(สถาน) ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน สำหรับโทษทางแพ่ง ก็คือการชดใช้
ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเรียกว่า "ค่าสินไหมทดแทน" ซึ่งมีหลายลักษณะจะได้กล่าวในลำดับต่อไป

๒. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอย่างไรบ้าง
กฎหมาย มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
๒.๑ ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฐาธิปัตย์) สำหรับประเทศไทย องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ได้แก่
-รัฐสภา ถือเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง ในการบัญญัติกฎหมายออกมาบังคับใช้ กฎหมายที่รงัฐสภาบัญญัติได้แก่ พระราชบัญญัติ
-รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี บางครั้งในยามบ้านเมืองมีความจำเป็นรีบด่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศให้ฉับไว ถ้าหากรอให้รัฐสภาบัญญัติเป็นพระราชบัญญัติ
ก็จะไม่ทันการณ์ อาจนำความเสียหายมาสู่บ้านเมืองได้ กฎหมายสูงสุด(รัฐธรรมนูญ) จึงให้อำนาจฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐบาลสามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับ
ในยามฉุกเฉิน เราเรียกกฎหมายนี้ว่า "พระราชกำหนด" ในขณะใช้บังคับพระราชกำหนดนั้น ๆ ให้รีบนำพระราชกำหนดนั้นเสนอรัฐสภา หากรัฐสภาเห็นชอบด้วย
พระราชกำหนดนั้น ก็จะเป็นพระราชบัญญัติ ใช้บังคับได้ต่อไป แต่หากรัฐสภาไม่เห็นชอบด้วย พระราชกำหนดนั้น ๆ ก็เป็นอันตกไป คือให้เลิกใช้บังคับต่อไป
นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถออกกฎหมายในลำดับชั้นรอง ๆ ลงไป ได้โดยที่ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายชั้นรองดังกล่าวนั้นก็คือ
พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง กฎหมายทั้งสองชนิดนี้ พระราชกฤษฎีกาจะมีฐานะหรือศักดิ์สูงกว่ากฎกระทรวง ทั้งนี้เพราะมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
ในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา ส่วนกฎกระทรวง ผู้ลงนามประกาศใช้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
สรุปว่า กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล มี ๓ ชนิด คือพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง
-องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับภายในเขตพื้นที่ของตน ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทหรือ
กฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่า กฎหมายส่วนท้องถิ่น มี ๕ ชนิดด้วยกัน ได้แก่
เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ เทศบาลหนึ่ง ๆ ที่บัญญัติขึ้นมา เพื่อบังคับใช้กับประชาชนในพื้นที่เทศบาลของตนเอง
ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่ง ๆ บัญญัติขึ้นมาเพื่อบังคับใช้กับประชาชนในเขตพื้นที่ของตน
ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่ง ๆ บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานคร บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่เมืองพัทยา บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่่ของเมืองพัทยา อ. บาลละมุง จ. ชลบุรี
๒.๒ ต้องเป็นข้อบังคับ ใช้บังคับพลเมือง (บังคับสมาชิกของสังคมนั้น ๆ)
๒.๓ ต้องบังคับทั่วไป คือบังคับกับคนทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักร คำว่าราชอาณาจักร
๒.๔ ต้องมีโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม

๓. ความสำคัญของกฎหมาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
๓.๑ สร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม
๓.๒ แก้ไขข้อขัดแย้ัง ในสังคม
จากเหตุผลดังกล่าว กฎหมายจึงถือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสังคมให้อยู่รอด ดังคำกล่าวที่ว่า "มีสังคมที่ไหน มีกฎหมายที่นั่น"

๔. ที่มาของกฎหมาย หรือมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมาย
การที่มนุษย์มารวมกลุ่มกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ในสังคมกลุ่มนั้นๆ ย่อมจะต้องมีปัญหาขัดแย้งกันขึ้นในบางเรื่อง หรือหลายเรื่อง สังคมจึงต้องกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้กลุ่มคนในสังคมยึดถือปฏิบัติในแนวเดียวกัน ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลใดในสังคมไม่ประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมนั้นๆ บุคคลนั้นย่อมจะถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ของสังคม กฎเกณฑ์ของสังคมจึงเป็นกฎหมายที่สังคมตั้งขึ้นเพื่อใช้บังคับกับบุคคลในสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งไม่เหมือนกันถ้าเราได้ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของกฎหมายก็จะพบมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายหลายประการอาทิ เช่น
๔.๑. ผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมของรัฐหรือประเทศ
เป็นผู้ออกกฎ คำสั่งหรือข้อบังคับขึ้นมาใช้กับประชาชนในสังคม หรือในรัฐของตน จนกลายเป็นกฎหมายขึ้นมา แม้บางครั้งบางสังคมผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมนั้น จะมิได้ออกกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับขึ้นมาใช้โดยตรงก็ตาม แต่จากบทบาทอำนาจหน้าที่ของผู้นำทางสังคมที่มี่ส่วนผลักดันให้เกิดมีคำสั่งขึ้นมาใช้บังคับกับประชาชนในปกครอง อย่างนี้ก็ถือว่าผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมนั้นเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายได้เช่นกัน
๔.๒. ขนบธรรมเนียมประเพณี
ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาควบคุมคู่กับสังคม ก็เป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดชนิดของกฎหมายที่เรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณีขึ้น เพราะถ้าธรรมเนียมประเพณีใดที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับยึดถือปฏิบัติกันมา ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดขัดขืน ไม่ประพฤติปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีจะถูกสังคมนั้นลงโทษในรูปแบบต่างๆ เช่น การฆ่า หรือทรมาน หรือกำจัดไปจากสังคมโดยการขับไล่ไสส่ง เป็นต้น
๔.๓. ความเชื่อในเทพเจ้า วิญญาณบรรพบุรุษ หรือคำสั่งสอนของศาสดาของศาสนาต่างๆ
ก็เป็นมูลเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดมีกฎหมายขึ้นมา ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้นำสังคมในสมัยโบราณหรือในสมัยประวัติศาสตร์มีการออกคำสั่งหรือกฎเกณฑ์ โดยอ้างว่าเป็นคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า การอ้างเอาสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธามาใช้เป็นเครื่องมือ ก็ย่อมได้รับการเชื่อฟังและปฏิบัติตามจากประชาชนด้วยดี ดังจะเห็นได้ว่าในยุโรปสมัยกลาง สันตะปาปา หรือผู้นำของศาสนาจึงมักแอบอ้างว่าคำสั่งนั้นเป็นเทวบัญชา หรือคำบัญชาของพระเจ้าเสมอ
๔.๔. ความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมทางสังคม
เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดกฎหมายขึ้นมาเพราะทุกครั้งเมื่อสังคมวุ่นวาย คนในสังคมไม่รับความยุติธรรม ย่อมจะต้องมีการตัดสินคดีความต่างๆ และเพื่อให้เกิดความยุติธรรมยิ่งขึ้น ผู้มีอำนาจในการตัดสินที่มีใจเป็นธรรมย่อมจะต้องนึกถึงความยุติธรรมที่บุคคลในสังคมจะพึงได้รับก่อนเสมอ ซึ่งในเรื่องของความยุติธรรมนั้น ถ้าพบว่ากฎหมายในตอนใดเรื่องใดยังบกพร่อง ผู้มีอำนาจในการตัดสินความนั้นย่อมใช้ดุลยพินิจปรับให้ถูกต้องตามแบบแผนของกฎหมาย หรือกฎธรรมชาติให้มากที่สุด การปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรมดังกล่าวนี้ย่อมเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาใช้ในสังคมได้เสมอ
๔.๕. ความคิดเห็นของนักปราชญ์หรือนักวิชาการทางกฎหมาย
เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดกฎหมายขึ้นมาได้เช่นกัน เพราะกฎหมายที่ออกมาแม้จะละเอียดถี่ถ้วนสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจจะใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสถานที่ในทุกแห่งได้ ประกอบกับกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคแต่ละสมัย และผู้มีอำนาจก็ยึดนโยบายและแนวปฏิบัติแตกต่างกันไป ทำให้กฎหมายมีช่องว่างจนเป็นเหตุให้นักวิชาการทางกฎหมายได้เขียนบทความชี้แนะช่องโหว่ หรือข้อบกพร่องของกฎหมายนั้น จนมีผลทำให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์และกาลเวลาที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าแนวความคิดเห็นต่างๆ ของนักวิชาการทางกฎหมายก็มีส่วนทำให้เกิดกฎหมายใหม่ที่ดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น
๔.๖. คำพิพากษาของศาลในบางประเทศ
เช่น อังกฤษ ถือว่าคำพิจารณาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย เพราะศาลอังกฤษใช้กฎหมายจารีตประเพณีเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดี โดยถือเอาผลของการตัดสินใจที่แล้วมาในคดีชนิดเดียวกันเป็นหลักในการตัดสินใจ แม้จะต่างวาระต่างคู่กรณีกันก็ตาม โทษของคดีที่เกิดขึ้นภายหลังย่อมได้รับเท่ากันกับคดีที่เกิดขึ้นก่อน แม้ว่าต่อมาเมื่อตรากฎหมายขึ้นก็ได้ยึดเอาคำพิพากษาของศาลที่ได้พิจารณาไว้แล้วเป็นเป็นหลักกฎหมายสืบต่อมา

สำหรับประเทศไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร มิได้ยึดถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย แต่จะยึดเอาคำพิพากษาของศาลเป็นเพียงส่วนประกอบ หรือมูลเหตุที่ทำให้เกิดที่มาของกฎหมายเท่านั้น

ที่มาของกฎหมายพอสรุปได้ ดังนี้
๔.๑ มาจาก ผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมของรัฐหรือประเทศ
๔.๒ มาจากจารีตประเพณี
๔.๓ มาจากความเชื่อในเทพเจ้า วิญญาณบรรพบุรุษ หรือคำสั่งสอนของศาสดาของศาสนาต่างๆ
๔.๔ มาจากความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมทางสังคม
๔.๕ มาจากความคิดเห็นของนักปราชญ์หรือนักวิชาการทางกฎหมาย
๔.๖ มาจากคำพิำพากษาของศาล

๕. การจัดทำกฎหมาย
การจัดทำกฎหมาย หรือกระบวนการหรือขั้นตอนในการบัญญัติกฎหมาย โดยทั่วไปจะมี ๓ ขั้นตอน คือ
๕.๑ ขั้นตอนการเสนอร่างกฎหมาย นั่นคือก่อนที่จะมีกฎหมายตัวจริงออกมาบังคับใช้ จะต้องมีกฎหมายฉบับร่างหรือร่างกฎหมายเสียก่อน ซึ่งร่างกฎหมายก็มี
การเรียกกันไปตามชนิดของกฎหมาย เช่นร่างรัฐธรรมนูญ ก็คือรัฐธรรมนูญฉบับร่าง ร่างพระราชบัญญัติ ก็คือพระราชบัญญัติฉบับร่าง คราวนี้องค์กรหรือบุคคลหรือ
กลุ่มบุคคลใดบ้างเป็นผู้มีอำนาจในจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย ก็ขึ้นอยู่กับอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายแม่บทกำหนดเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่นรัฐธรรมนูญกำหนดให้
บุคคลผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และประชาชนจำนวนห้าหมื่นคน เป็นต้น
๕.๒ ขั้นพิจารณาร่างกฎหมาย การพิจารณาร่างกฎหมาย โดยทั่วไปมีตามวาระหรือ ๓ ขั้นตอน ได้แก่
- วาระรับหลักการ คือขั้นที่พิจารณาความเหมาะสมว่าเหมาะสมที่จะใช้บังคับกฎหมายนั้นหรือไม่ ถ้าองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายเห็นว่าเหมาะสม
ก็ถือว่าร่างกฎหมายได้ผ่านการพิจารณาในวาระหรือขั้นตอนที่ ๑
- วาระการยกร่างกฎหมายและการพิจารณารายละเอียดข้อกฎหมายเป็นรายมาตรา ขั้นตอนนี้ก็คือการนำร่างกฎหมายที่ผ่านวาระที่ ๑ แล้วมอบให้กับคณะบุคคล
ที่มีความรู้ด้านนั้น ๆ ไปตกแต่งข้อความถ้อยคำ เรียกว่า การนำร่างกฎหมายไปยกร่าง หลังจากตกแต่งหรือยกร่างเสร็จ ก็ให้เสนอเพื่อให้องค์กรที่ทำหน้าที่
พิจารณา ได้พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้พิจารณารายละเอียดไปทีละมาตราหรือทีละข้อ จนจบสิ้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำข้อความในที่ประชุมนี้
ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อบังคับของกฎหมายแม่บทที่กำหนดไว้ว่า ใครมีสิทธิจะขออภิปรายขอแก้ไข อย่างไร
- วาระสุดท้าย ก็คือการลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมายทั้งฉบับ ถ้าสมาชิกสภาหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาส่วนใหญ่เห็นชอบ ก็นำไป
ประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ถ้าหากส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบ ให้ถือว่าร่างกฎหมายนั้นตกไป จะนำไปใช้บังคับกับประชาชนไม่ได้
ข้อสังเกต...องค์กรหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย ก็คือสมาชิกสภานั้น ๆ เช่น องค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ก็คือสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรนั่นเอง
๕.๓ วาระการประกาศใช้กฎหมาย เมื่อกฎหมายผ่านการลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ แล้ว ก็ให้นำกฎหมายนั้นไปประกาศ กฎหมายโดยทั่วไปให้ประกาศลงในราชกิจจา
นุเบกษา จึงจะมีผลบังคับใช้ได้ สำหรับกฎหมายระดับท้องถิ่นให้ติดประกาศไว้ ณ ที่ทำการของส่วนการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ จนเวลาผ่านพ้นตามที่กฎหมาย
แม่บทกำหนด กฎหมายดังกล่าวก็จะมีผลบังคับใช้ ยกเว้นเฉพาะข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร จะต้องประกาศลงในกรุงเทพกิจจานุเบกษา และต้องประกาศลงใน
ราชกิจจานุเบกษาด้วย จึงจะมีผลบังคับใช้ได้
สำหรับความยากง่ายในการบัญญัติกฎหมายย่อมขึ้นอยู่กับชนิดและชั้นหรือศักดิ์แห่งกฎหมายที่จะบัญญัติ ถ้าเป็นการออกหรือบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญ ย่อมมีความ
ยุ่งยาก และใช้เวลาในการดำเนินการนานกว่ากฎหมายอื่น ๆ ที่ีมีศักดิ์ต่ำกว่า ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายในลำดับชั้นสูงสุด ถือเป็นกฎหมายแม่บท หรือกฎหมาย
หลักของกฎหมายอื่น ๆ สำหรับการออกกฎหมายในลำดับชั้นรอง ๆ ย่อมมีความยุ่งยากน้อยลงไปตามลำดับชั้นของกฎหมาย

การอุดช่องว่างของกฎหมาย
การอุดช่องว่างของกฎหมาย มี 2 วิธี

๑.ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ทั่วไป
๒.มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดหลักเกณฑ์ให้นำประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ ถ้ากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้
ตามพระราชบัญญัติการขัดกันแห่งกฎหมาย กำหนดให้ใช้กฎหมายทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลอุดช่องว่าง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดหลักเกณฑ์ว่าถ้าไม่มีบทกฎหมายที่จะแยกมาปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามครรลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีให้วินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายนั้นก็ไม้มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

การตีความ การตีความมี 2 กรณี
หลักการตีความในกฎหมายทั่วไป

ตีความตามตัวอักษร คือ การหยั่งทราบความหมายของตัวอักษรนั้น
ตีความตามเจตนารมณ์ คือ การหยั่งทราบความหมายของถ้อยคำ ในบทกฎหมายจากเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของกฎหมายนั้น

หลักการตีความ ในกฎหมายพิเศษ
ต้องตีความตัวอักษรโดยเคร่งครัด
ห้ามขยายความให้เป็นโทษ
ต้องตีความให้ผลดีแก่ผู้ต้องหา

การใช้กฎหมาย

กฎหมายใช้กับใคร
ใช้กับทุกคนที่อาศัยอยู่ในรัฐนั้น

กฎหมายใช้ที่ไหน
ใช้ในราชอาณาจักร
ราชอาณาจักร ได้แก่
๑. ส่วนของประเทศที่เป็นพื้นดิน แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง บาง
๒. ส่วนของทะเลอันเป็นอ่าวไทย และส่วนที่ห่างออกจากชายฝั่ง ๒๐๐ ไมล์ทะเล
๓. พื้นอากาศ เหนือ ข้อ ๑ และ ๒
สำหรับการกระทำความผิดบนอากาศยานไทย และเรือไทย ไม่่ว่าจะอยู่ที่ไหน ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักรไทย และจะถูกลงโทษโดย กฎหมายไทย

กฎหมายใช้เมื่อไร
ใช้ตั้งแต่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ การกำหนดให้กฎหมายมีผลบังคับใช้นั้น ก็จะมีหลายลักษณะ เช่น
๑. บังคับใช้ทันทีในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๒. มีผลบังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๓. มีผลบังคับเมื่อพ้นระยะเวลา ที่กำหนดเอาไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วันแล้ว จึงมีผลบังคับใช้ โดยทั่วไปจะเป็นกฎหมายที่ต้องการให้
เจ้าหน้าที่ และประชาชน ได้เตรียมตัวเพื่ออยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายให้ประชาชนสวมหมวกนิรภัย ต้องให้เวลา
เพื่อบริษัทสามารถผลิต และประชาชน จะได้ซื้อหาหมวกให้ได้ทั่วถึงเสียก่อน จึงจะบังคับใช้กฎหมาย

การยกเลิกกฎหมาย
โดยทั่วไปการยกเลิกกฎหมาย จะมี 2 ลักษณะ คือ
1. ยกเลิกโดยตรง
2. ยกเลิกโดยปริยาย
การยกเลิกโดยตรง คือ การระบุยกเลิกกฎหมายนั้น ๆ ไว้ในกฎหมายฉบับที่ออกมาใช้บังคับใหม่ เป็นลักษณะการออกกฎหมายใหม่มายกเลิกกฎหมายเก่านั่นเอง
ส่วนการยกเลิกโดยปริยาย คือ การที่กฎหมายฉบับนั้น ๆ เลิกบังคับใช้ไปเอง โดยที่ไม่ต้องมีกฎหมายฉบับใหม่ออกมา ระบุหรือบัญญัติให้ยกเลิกแต่ประการใด
นั่นคือ กฎหมายฉบับดังกล่าว อาจมีกำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้เอาไว้ในตัวมันเอง ดังนั้นเมื่อหมดระยะเวลาตามที่ระบุ ก็ถือว่ากฎหมายถูกยกเลิกไปเองโดยปริยาย
http://www.mh.ac.th/E_Dream_Web/Student_work/Thaitana61/wap002/page/other%20other%20law.htm

ละครเวทีเกี่ยวกับกฎหมาย เรื่อง " อำแดงอยู่ "



เรื่องจริงของนักโทษประหารในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่สะท้อนภาพวงจรของสังคม กับ การมีส่วนร่วมในการบรรเทาปัญหาอาชญากรรม มาถึงปัจจุบัน.. ยมทัณฑ์ เขียน


“ ฆ่าฉันเสียเร็วๆ ฆ่าฉันเสียเร็วๆ ” เสียงตะโกนจากนักโทษประหารซึ่งเป็นหญิง เพชฌฆาตหกคนยังคงร่ายรำดาบ ถอยหน้าถอยหลังอยู่เบื้องหลังนักโทษอีกครู่ ก่อนที่เพชฌฆาตมือหนึ่งจะวิ่งเข้าฟันคออย่างแรง จนศีรษะขาด เลือดพุ่งกระฉูด ผู้คนที่มุงดูการประหารจึงค่อยเริ่มแยกย้ายกันกลับไป เสียงพึมพำดังจับความได้ว่า ต่างก็พอใจที่ผู้ตายได้รับกรรมที่กระทำไว้แล้ว แม้แต่ในหมู่ญาติพี่น้องของหล่อนเอง!
เพชฌฆาตยังคงทำงานต่อไปด้วยการตัดข้อเท้าซึ่งมีโซ่ตรวนพันธนาการไว้ และตัดศพออกเป็นชิ้น แล่เนื้อออกจากกระดูก ทิ้งตับไตไส้พุงไว้เป็นทานแก่แร้งกา ส่วนศีรษะเอาไปเสียบไม้ไผ่ปักประจานไว้ให้มองเห็นได้แต่ไกล
เธอเป็นใครทำผิดอะไรไว้จึงต้องรับโทษถึงเพียงนี้..?
ย้อนหลังไปราวเดือนเศษ ที่บ้านของพระบรรฦาสิงหนาท ภรรยาคืออำแดงอยู่ ลักลอบเป็นชู้กับทาสในเรือนชื่อ ไฮ้ มั่วสุมกันอยู่ถึงสองปีเศษโดยตัวสามีไม่รู้เรื่อง ซึ่งก็คงยังไม่เป็นเรื่องเป็นราวอะไร ถ้าไม่เป็นเพราะอ้ายไฮ้เอง เกิดไปลักลอบได้เสียกับนางทาสอีกคนหนึ่งชื่อ เกลี้ยง หลังจากทั้งคู่สมสู่กันได้สามเดือน ความเรื่องของอำแดงอยู่เป็นชู้กับอ้ายไฮ้ก็เกิดแตกขึ้นมา..
วันนั้นพระบรรฦาฯบังเอิ๊น ดันกลับบ้านผิดเวลา จึงจับได้คาเตียง ก็เลยทำโทษอ้ายไฮ้ด้วยการโบย ๕๐ที แล้วล่ามโซ่ไว้ที่ครัวไฟ แต่พระบรรฦาจะทำอะไรอำแดงอยู่บ้าง อันนี้ไม่ได้มีการบันทึกไว้ ผ่านไปห้าวัน อำแดงอยู่ค่อยๆสืบเสาะหาว่าใครหนอ ปากแตรไปรายงานคุณพระผู้เป็นสามี ก็สงสัยว่า อีเกลี้ยงนี่แหละที่น่าจะเอาความไปบอกสามีตนแน่ ประจวบกับวันนั้นกินเหล้าเข้าไปเมาจัดด้วย จึงเรียกนางทาสคนนี้เข้ามาถาม แต่อีเกลี้ยงไม่ยอมรับ นางอยู่จึงเอาไม้แสมตีอีเกลี้ยงเข้าไปหลายที ฐานสงสัยแล้วไม่ยอมรับ
คืนนั้น อีเกลี้ยงไม่รู้ว่าคิดอะไรเหมือนกัน แต่คงไม่พ้นเรื่องชู้รักดันมีรักซ้อนกับเมียนาย แอบเข้าไปที่ระเบียงครัวซึ่งอ้ายไฮ้โดนล่ามโซ่นอนหลับอยู่ จัดการบีบหมับเข้าที่กล่องดวงใจของอ้ายไฮ้อย่างแรงจนตื่น เช้าขึ้นอ้ายไฮ้ก็เลยสำออยไปฟ้องอำแดงอยู่ อำแดงอยู่จึงเรียกอีเกลี้ยงมาถามอีก ว่าทำไมไปบีบของสำคัญของอ้ายไฮ้ (และคงจะสำคัญสำหรับตัวเองด้วย) คราวนี้เจ้าตัวปฏิเสธเรื่องไปบีบของลับอ้ายไฮ้ แต่ดั๊น กลับเล่าเรื่องที่ตัวเองได้เสียกับอ้ายไฮ้แทน ดูเอา พิษรักแรงหึง พูดไปไม่คิด
เพราะเมื่อกิ๊กผู้เป็นนายได้ฟังเท่านั้นแหละ เรื่องสงสัยว่าอีอยู่ฟ้องผัวคุณพระ ยังไม่กระตุ้นต่อมโทสะ เท่ากับกิ๊กโดนนางทาสหารสอง อำแดงอยู่ เต้นผางสั่งตีตรวนอีเกลี้ยงทันที แล้วเอาไม้ไผ่ขนาดสามนิ้วยาวศอกเศษ ตีอีเกลี้ยงอีกราวสี่ห้าที ทำแบบนี้ตลอดมาหลายวัน จนวันหนึ่ง อำแดงอยู่ซึ่งล่อเหล้ามาตั้งแต่เช้าแล้ว ก็ใช้ไม้แสมตีอีเกลี้ยงอีก พอตกบ่ายก็แก้ตรวน แล้วสั่งให้ไปหุงข้าว ขณะที่อีเกลี้ยงกำลังนั่งยองๆหุงข้าวอยู่ อำแดงอยู่เข้ามาข้างหลัง ถีบอีเกลี้ยงล้มลงแล้วกระชากผ้าถุงของนางทาสออก เอาไม้แสมที่กำลังติดไฟแดงๆ ทิ่มอวัยวะเพศของนางทาสสองสามที ยังไม่สะใจแม่เจ้าประคุณรุนช่อง ตกบ่ายราวสี่โมงเศษ ก็เรียกทาสชายหญิงคนอื่นขึ้นมาจับอีเกลี้ยงขึงพรืด จุดไม้ขีดไฟเผาขนที่ลับของอีเกลี้ยงซ้ำอีก เฮ้อ เวรจริงๆ
ตอนเช้าของวันจันทร์ที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๔ ขณะที่อีเกลี้ยงนางทาสวัย ๕๗ เดินจะลงบันไดไปอาบน้ำ นางอยู่ก็เอาเท้าถีบเธอตกบันได แขนซ้ายหัก แล้วสั่งทาสให้ฉุดกระชากอีเกลี้ยงขึ้นไปบนชานเรือนอีก จนราวสามโมงเช้าเศษของวันนั้น อีเกลี้ยงซึ่งสุดจะทนกับความเจ็บปวดจากการทรมาน จึงขาดใจตาย
เรื่องนี้ พระบรรฦาฯ ทราบเพียงว่าอีเกลี้ยงตายเพราะเป็นไข้ประจุบันเท่านั้น จึงให้อำแดงอยู่บัญชาการทาสอื่นห่อศพให้เรียบร้อย แล้วหามไปให้สัปเหร่อฝัง ตอนแรกทาสที่นำศพมาก็ไม่ยอมแก้ผ้าห่อศพ สัปเหร่อเลยไม่ยอมฝัง ในที่สุดพวกทาสก็ต้องยอมให้สัปเหร่อ CSI และนิติเวชเบื้องต้น ดูศพก่อน แต่พอได้ดูศพแล้ว จรรยาบรรณสัปเหร่อบอกว่า ไม่ยอมให้ฝัง !
ก็ปรากฏว่ามีชาวบ้านคนหนึ่งชื่อหนูไปแจ้งความ จึงเกิดการชันสูตรศพขึ้นก็พบว่า
“ ศพอีเกลี้ยงนั้นกระหม่อมยุบกว้าง ๒ นิ้ว หน้าบวมช้ำดำเขียว หูข้างซ้ายช้ำบวมมีเลือดไหลออกมาจากหู ยังเป็นคราบติดอยู่ ต้นแขนริมศอกขวา บวมช้ำ และกระดูกหัก ต้นแขนซ้ายบวมช้ำกระดูกหัก อกบวมช้ำ โตกลมหนึ่งนิ้ว สะโพกข้างขวาบวมช้ำดำเขียวเต็มทั้งสะโพก นอกจากนั้นมีแผลที่เกิดจากการตีด้วยไม้รวมเก้าแผล ”
หลังการสอบสวน อำแดงอยู่โดนมาตรการยึดทรัพย์ทั้งหมด และมีพระบรมราชโองการให้ประหาร แต่ก่อนประหารต้องลงโทษเตือนวิญญาณให้จดจำไปถึงชาติหน้า ด้วยการเฆี่ยน ๙๐ทีเสียก่อน จึงจะประหาร คำตัดสินเกี่ยวกับคดีนางอยู่และผู้เกี่ยวข้องนี้ เมื่อนำทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นด้วยแต่ได้ทรงทักท้วงบ้างบางกรณี คือ
ให้เฆี่ยนทาสที่เคยช่วยจับขึงพรืดอีเกลี้ยง ให้อีอยู่ ( เปลี่ยนคำนำหน้าจากอำแดงเพราะทำความผิด ) ทำทารุณ คนละ ๖๐ ที ส่วนทาสคนอื่นที่รู้เห็นเหตุการณ์แล้วไม่ยอมแจ้งทางการให้เฆี่ยนคนละ ๓๐ ที เรื่องนี้ทรงพิจารณาว่า คนเป็นทาสก็ต้องฟังนาย และเรื่องก็เกิดในทันที จึงให้ภาคทัณฑ์ไว้ เว้นคนที่เอาศพไปฝัง และพยายามปกปิดไม่ให้ตรวจศพ ให้ลงโทษตามที่ว่ามา
อ้ายไฮ้ โดนตัดสินให้เฆี่ยน ๕๐ ที แต่ทรงเห็นว่าความผิดของอ้ายไฮ้คือฐานชู้สาว และก็โดนนายเงินคือพระบรรฦาฯลงโทษไปแล้ว จึงโปรดให้ยกโทษเสีย
ส่วนพระบรรฦาปรับเป็นเงิน ๑๑ ตำลึง กึ่งสลึงเฟื้อง ๖๓๐ เบี้ยเป็นพิไนยหลวง แต่ในฐานที่รู้อยู่แต่ไม่สนใจ ปกปิดเรื่องศพ เรื่องความร้ายในแผ่นดิน
“ แต่นายหนูผู้มีกตัญญูต่อแผ่นดินมาว่ากล่าวขึ้น จึงได้ทราบเรื่องกัน ” จึงทรงให้เพิ่มโทษปรับพระบรรฦาฯ แล้วนำมาให้เสียแก่นายหนู เป็นเงิน ๑ ชั่ง ๑๐ ตำลึงด้วย ( พระราชดำรินี้ทรงรีชาสามารถมาก คือทรงเอาเงินจากคนที่เป็นต้นตอของเรื่อง ไม่ต้องควักกระเป๋าหลวงจ่ายซึ่งเป็นเงินส่วนรวม จึงไม่ควรจะต้องมาชดใช้แทนคนที่ทำให้เกิดเรื่อง น่าจะประยุกต์มาใช้ในปัจจุบันด้วย )
วันที่ประหารอีอยู่คือ วันเสาร์ เดือน๑๑ แรม ๗ ค่ำ ตรงกับ วันเสาร์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๒๔ เป็นเวลากว่าร้อยปีล่วงมาแล้ว ต้นเรื่องนั้นมาจากหนังสือราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ ออกเมื่อกรุงเทพมหานครมีอายุครบ๑๐๐ปี และบันทึกของนาย Carl Bock นักธรรมชาติวิทยาชาวนอร์เวย์ ที่เดินทางเข้ามาสำรวจดินแดนไทยและได้ไปดูการประหารอีอยู่ด้วย แต่ไปอ่านเจอจากหนังสือ หญิงชาวสยาม โดย เอนก นาวิกมูล
เรื่องนี้มีความน่าสนใจหลายแง่มุม จากผลการพิจารณาคดีอะไรต่างๆจะเห็นว่า แม้อีเกลี้ยงจะเป็นทาส แต่ก็ไม่ได้หมายความอีอยู่จะทำทารุณกรรมตามใจชอบได้ (อันนี้เป็นสิทธิมนุษยชนตามระบบสังคมศักดินาเดิม ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง) เสียดายที่ทาสอื่นไม่กล้าไปแจ้งความก่อนหน้านี้ ไม่งั้นอีเกลี้ยงคงไม่ต้องทนทรมานทรกรรมขนาดนี้
แต่ลักษณะของนายทาสอย่างนี้ หรือปัจจุบันกลายสภาพเป็นนายจ้าง บางคนก็ไม่ต่างจากอีอยู่ในเรื่องของความทารุณโหดร้าย ร้อยปีไม่มีอะไรเปลี่ยนสำหรับ dark side ของคน เฮ้อ เพียงแต่ยุคนี้ลูกจ้างจะมีโอกาส หรือมีปากเสียงมากขึ้นที่จะขอรับความยุติธรรมจากกฎหมายบ้านเมืองหรือไม่เท่านั้น
น่าสังเกตจากบันทึกของนายคาร์ล บอก ที่บอกว่า
“ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปกติไม่ค่อยเต็มพระทัยในการลงพระปรมาภิไธยในคำสั่งประหารชีวิตนัก มิได้ทรงรีรอเลยสำหรับคดีรายนี้ ”
เมื่อดูพฤติการณ์ของเจ้าหล่อนจะเห็นว่าเหี้ยมโหดผิดมนุษย์มนา การกระทำก็ไม่ใช่แค่อารมณ์ชั่ววูบ เพราะมีการทำซ้ำและต่อเนื่องหลายวัน หลายครั้ง เรียกว่าหาเมตตาจิตไม่เจอ ในสังคมที่คดีไม่ค่อยชุกอย่างสมัยนั้น จึงเป็นเรื่องที่รุนแรงมาก ไม่น่าจะปล่อยให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่นายทาสอื่นๆด้วย อันนี้ ถ้าเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ยุคที่ไม่มีทาส และยุคประชาธิปไตย แต่เปอร์เซ็นต์ทารุณกรรมทิ้งห่าง ขอบอก
โดยส่วนตัวเห็นเพิ่มเติมอีกอย่างคือ แสดงว่าในสมัยนั้นชีวิตทาสก็มีความหมาย อันนี้เป็นรูปธรรมจากบทลงโทษและพระราชวินิจฉัยของพระเจ้าอยู่หัวในคดีนี้
สุดท้าย อุทาหรณ์อีกเรื่องคือ ไม่ว่าเมื่อไหร่เบาะแสจากประชาชนนี่สำคัญ ไม่มีนายหนู อีเกลี้ยงก็คงไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะไม่มีใครไปแจ้งบ้านเมือง และก็ต้องขอบคุณสัปเหร่อที่ทำหน้าที่ได้อย่างไม่บกพร่อง นี่ถ้าเป็นสมัยนี้ยัดเงินสักหน่อย ไม่แน่ศพอีเกลี้ยงคงลงดินไปตั้งแต่หนแรกแล้วมั้ง
ตรงนี้เห็นชัดอีกเช่นกันว่า หน้าที่พลเมือง นั้นมีความสำคัญขนาดไหน.
http://www.moomkafae.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=353342&Ntype=2

สัญญาตัวแทนนายหน้า


สัญญาตัวแทนและนายหน้า
         การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ของบุคคล รวมทั้งการทำนิติกรรมต่าง ๆ ส่วนมากกระทำด้วยตนเอง แต่ในบางครั้งผู้เป็นเจ้าของเรื่องไม่อาจปฏิบัติภารกิจได้ด้วยตนเอง จึงจำเป็นต้องตั้งตัวแทนขึ้นมาให้ปฏิบัติภารกิจหรือทำนิติกรรมต่าง ๆ แทน ดังนั้นกฎหมายจึงได้บัญญัติเรื่อง สัญญาตัวแทนและสัญญานายหน้าขึ้น เพื่อเป็นการรับรองการปฏิบัติภารกิจของผู้ทำการแทน
         สัญญาตัวแทน
“ สัญญาตัวแทน (agency) ” คือสัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่งเรียกว่า “ ตัวแทน” มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ ตัวการ” และตกลงจะทำการดังนั้น
ลักษณะของสัญญาตัวแทน
1.เป็นสัญญาสองฝ่าย ประกอบด้วยตัวการฝ่ายหนึ่ง และตัวแทนอีกฝ่ายหนึ่ง
2.เป็นสัญญาที่ต้องมีการตกลงยินยอมเป็นตัวการและตัวแทน
3.อาจเป็นสัญญาที่มีค่าตอบแทนก็ได้
4.กิจการที่ตัวแทนกระทำต้องเป็นกิจการทั่วไป มิใช่กิจการเฉพาะตัว
5.การเป็นตัวแทนอาจเกิดขึ้นได้ 2 ทาง คือ
5.1 การเป็นตัวแทนโดยชัดแจ้ง เช่น นายเอกมอบอำนาจให้นายโท ไปซื้อรถยนต์ นายโทก็ตกลงไปหาซื้อรถยนต์ให้ ดังนี้เป็นสัญญาตัวแทนเกิดขึ้นแล้ว โดยนายเอกเป็นตัวการและนายโทเป็นตัวแทน นายเอกต้องผูกพันในสัญญาซื้อขายรถยนต์ที่นายโท กระทำไปทุกประการ
5.2 การเป็นตัวแทนโดยปริยาย คือไม่ได้ตกลงกันอย่างชัดแจ้ง แต่จากพฤติการณ์ทำให้เข้าใจได้ว่ามีการเป็นตัวการตัวแทนกันแล้ว เช่น เวลามีคนมาติดต่อเอก เมื่อเอกไม่อยู่ โท ก็เจรจาแทนเอกเสมอ เอกก็ไม่ได้ว่าอะไร และก็รับเอาสิ่งที่โท เจรจาไว้มาปฏิบัติ ดังนี้ถือโดยปริยายว่า โท เป็นตัวแทนของเอก
อนึ่ง ผู้จะเป็นตัวแทนนั้นต้องอาศัยอำนาจของตัวการ ดังนั้น ถ้าตัวการไม่สามารถทำกิจการนั้นได้ด้วยตัวเอง ตัวแทนก็ไม่มีอำนาจจัดการ เช่น ผู้เยาว์ต้องการซื้อโทรศัพท์มือถือราคาแพง จึงตั้งตัวแทนอายุกว่า 20 ปี ไปซื้อให้ดังนี้ ถ้าไม่ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม ตัวแทนดังกล่าวก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมที่เกินไปกว่าความสามารถของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นตัวการ
         แบบของการตั้งตัวแทน
         ดังที่กล่าวแล้วว่า ตัวแทนอาจมีการแต่งตั้งโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้ สัญญาตัวแทนตามปกติ จึงไม่มีแบบ อยู่ที่ตัวการกับตัวแทนจะตกลงกันอย่างไร
         อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้วางหลักเอาไว้ว่า ถ้ากิจการใดกฎหมายบังคับว่า ต้องทำเป็นหนังสือ เช่น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์(ม.456) สัญญาจำนอง(ม.714) การตั้งตัวแทนเพื่อทำกิจการนั้น ต้องทำเป็นหนังสือด้วย ส่วนถ้ากิจการใดกฎหมายบังคับว่าต้องมี หลักฐานเป็นหนังสือ ดังเช่น การกู้ยืมเงิน(ม.653) การเช่าอสังหาริมทรัพย์ (ม.538) หรือ การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ (ม.851) เป็นต้น การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการนั้น ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย ดังนั้น การที่ตัวแทนไปตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งเป็นสัญญาที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ (ม.851) โดยไม่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากตัวการ การกระทำนั้นย่อมไม่ผูกพันตัวการ
         ประเภทของตัวแทน
ตัวแทนแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.ตัวแทนเฉพาะการ
2.ตัวแทนทั่วไป
         ตัวแทนเฉาะการ หมายถึง ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งและมอบอำนาจจากตัวการให้กระทำการเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง ตัวแทนเฉพาะการจะทำนอกขอบเขตอำนาจที่ได้ให้ไว้ไม่ได้ มีอำนาจทำเฉพาะ สิ่งที่จำเป็นเพื่อให้กิจการที่ได้รับมอบหมายนั้นสำเร็จลุล่วงไป ถ้ากระทำนอกขอบอำนาจตัวการย่อมไม่ต้องผูกพันหรือรับผิดชอบในการกระทำนั้น
ตัวอย่าง ใบมอบอำนาจมีข้อความว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจแต่งตั้งทนายความดำเนินคดีขับไล่ทางศาลต่อผู้
อยู่อาศัย ผู้เช่าเดิมและผู้ครอบครองที่ดินให้ออกไปจากที่ดิน ดังนี้ เป็นเรื่องที่ผู้มอบอำนาจได้
ระบุมอบอำนาจเฉพาะการ มิใช่มอบอำนาจทั่วไป
“สิ่งจำเป็น ” นั้นต้องพิจารณาจากกพฤติการณ์ตามข้อเท็จจริงว่าการกระทำนั้นเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การกระทำที่จะถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นนั้นต้องเกี่ยวข้องกับกิจการที่ตัวแทนได้รับมอบหมายจากตัวการด้วย ซึ่งถ้าไม่กระทำเช่นนั้นแล้ว กิจการที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวอาจจะไม่สำเร็จ
ตัวอย่าง เอกมอบหมายให้โท ขายรถยนต์หมายเลขทะเบียน กท.3133 นครราชสีมา ในราคา 400,000 บาทถ้าโทจ้างช่างมาติดเครื่องเสียงภายในรถยนต์คันดังกล่าว ราคา 50,000 บาท เช่นนี้การกระทำดังกล่าว ไม่อยู่ในขอบอำนาจของโท ตัวแทน เพราะไม่ถือว่า เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้การขายรถยนต์คันดังกล่าวของเอกสำเร็จลุล่วง
แต่ถ้า โท จ้างช่างมาซ่อมบัดกรีหม้อน้ำรถยนต์คันดังกล่าวเนื่องจากหม้อน้ำรั่วโดยเสียค่าจ้าง 1,000 บาทเช่นนี้ การกระทำนั้นอยู่ภายในขอบเขตอำนาจของโท ตัวแทน เพราะถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้การขายรถยนต์คันดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไป ซึ่งถ้าหากรถยนต์คันนั้นหม้อน้ำรั่วก็คงขายไม่ได้ราคา
ตัวแทนทั่วไป หมายถึง ตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้ง และมอบหมายอำนาจจากตัวการให้กระทำกิจการใด ๆ ในการจัดทำการงานแทนตัวการได้ทุกอย่าง กล่าวคือมีอำนาจที่จะกระทำการทั้งปวง ที่เป็นปกติหรือมีประเพณีทางการค้าหรือการประกอบอาชีพ ถือเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่กระทำได้ เช่น การแต่งตั้งทนายความ การแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลร้านค้า เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มีกิจการบางอย่างที่ตัวแทนทั่วไป ไม่มีอำนาจกระทำการแทนตัวการได้ อันได้แก่
ก.การขายหรือจำนองอสังหาริมทรัพย์ 
ถ้าเป็นการขายสังหาริมทรัพย์หรือจำนองสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ เช่น เรือมีระวางตั้งแต่ ห้าตันขึ้นไป แพและสัตว์พาหนะ เป็นต้น ตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วๆไปย่อมมีอำนาจกกระทำได้
ข.ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์กว่า 3 ปีขึ้นไป
ถ้าเป็นการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ หรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี ตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปย่อมมีอำนาจกระทำได้
ค.ให้ เป็นการให้โดยเสน่หา ไม่ได้อะไรตอบแทน ซึ่งรวมถึงการบริจาคด้วย
ง. ประนีประนอมยอมความ เป็นการผ่อนปรนผ่อนผันข้อพิพาทให้แก่กัน ไม่ว่าจะกระทำในศาลหรือนอกศาลก็ได้
จ. ยื่นฟ้องคดีต่อศาล
ฉ. มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา ไม่ว่าจะในศาลหรือนอกศาลก็ได้
แต่อย่างไรก็ตาม ตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไป อาจมีอำนาจกระทำการในเรื่องสำคัญ 6 ประการดังกล่าวนั้นได้ เมื่อ
1) ตัวการอนุญาตหรือมอบหมายให้กระทำได้ หรือ
2) กรณีที่มี เหตุฉุกเฉิน เพื่อป้องกันมิให้ตัวการเสียหาย
“ เหตุฉุกเฉิน” หมายความว่าเป็นกรณีรีบด่วนที่ตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไป ไม่สามารถขออนุญาตจากตัวการได้ทัน เช่น ตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปไม่ทราบว่า ตัวการไปอยู่ ณ ที่ใดเป็นต้น ถ้าหากตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปได้กระทำไปอย่าง วิญญูชนคนทั่วไปพึงกระทำ เพื่อป้องกันมิให้ตัวการเสียหายแล้ว ตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปย่อมมีอำนาจกระทำได้ และการกระทำนั้นถือว่า อยู่ภายในขอบอำนาจของตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไป
เหตุที่กฎหมายจำกัดอำนาจตัวแทนทั่วไปใน 6 ประการที่กล่าวมาเป็นเพราะว่าเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ถ้ามีการจัดการผิดพลาดไปอาจทำให้ตัวการเสียหายได้ กฎหมายจึงกำหนดให้ตัวแทนต้องได้รับมอบอำนาจหรือได้รับอนุญาตไว้โดยชัดแจ้ง จึงจะกระทำกิจการดังกล่าวได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีฉุกเฉินเพื่อป้องกันมิให้ตัวการเสียหาย ตัวแทนก็อาจกระทำการดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องรับมอบอำนาจจากตัวการ เช่นคดีจะขาดอายุความ เป็นต้น
         ตัวแทนเชิด
ตัวแทนที่เกิดขึ้นโดยกฎหมายปิดปาก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตัวแทนเชิด” เป็นกรณีที่บุคคลหนึ่งเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตัว หรือยอมให้บุคคลอีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนตน บุคคลนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริต เสมือนหนึ่งว่า บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน
ตัวอย่าง สหกรณ์แท็กซี่ยอมให้นายเก่ง นำรถแท๊กซี่ของสหกรณ์เดินรับบรรทุกคนโดยสารในกิจการของสหกรณ์เป็นการเชิดให้เข้าใจว่า นายเก่งเป็นตัวแทน นายเก่งทำละเมิดขับรถชนรถ ของแก้ว สหกรณ์ต้องรับผิดร่วมด้วย
ตัวอย่าง โท อ้างว่าเป็นตัวแทนของเอก โทสั่งซื้อกระดาษ A 4 จำนวน 20 รีม ในพ.ศ. 2548 ส่งของและเก็บเงินจากเอกโดยผ่านธนาคารไปแล้ว ต่อมาโท อ้างเป็นตัวแทนของเอก สั่งซื้อกระดาษ A4 อีก 20 รีม คราวนี้เอกปฏิเสธ ดังนี้เป็นกรณีที่เอกเชิดโท ออกเป็นตัวแทน เอกต้องรับผิดชอบต่อ ตรีผู้ขาย
http://www.siamjurist.com/forums/2615.html